X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่แชร์ สูญเสียลูกเพราะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและน้ำคร่ำแห้ง

บทความ 3 นาที
แม่แชร์ สูญเสียลูกเพราะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและน้ำคร่ำแห้ง

เมื่อลูกดิ้นน้อยลง แม่จึงเกิดข้อสงสัยถึงความผิดปกติ แต่ผลที่สุดทุกอย่างกลับสายเกินไป แม่ท่านนี้ต้องสูญเสียลูกในท้องขณะตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์

คุณแม่ท่านนี้ได้แชร์ประสบการณ์นี้ผ่านเพจดังอย่าง คนท้องคุยกัน โดยคุณแม่เล่าว่า ได้สูญเสียลูกชายตอนท้องได้ 32 สัปดาห์ คุณแม่เลือกที่จะฝากท้องกับคลีนิคที่ดีที่สุดในจังหวัด และพาทารกในครรภ์ไปตรวจท้องตามที่หมอนัดทุกเดือนโดยไม่เคยขาด กินยาบำคุงครบตามที่คุณหมอสั่ง และทุก ๆ ครั้งก็จะได้คำตอบจากหมอว่า ทารกในครรภ์มีสุขภาพดีแข็งแรง หัวใจเต้นปกติ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

สูญเสียลูก ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะตอนท้อง น้ำคร่ำแห้ง

วันที่ 24 มีนาคม 2560 คุณแม่ไปหาคุณหมอตามเดิม ตอนนั้นทารกในครรภ์มีอายุได้ 31 สัปดาห์แล้ว แต่ครั้งนี้หลังจากที่ทำการอัลตร้าซาวด์คุณหมอบอกว่า น้องมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้ำหนัก ณ ตอนนั้นประมาณ 1,258 กรัม คุณแม่ก็เริ่มหน้าเสียและเกิดกังวลทั้ง ๆ ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น น้องน้ำหนักตรงตามเกณฑ์ตลอด คุณหมอจึงทำการตรวจน้ำคร่ำให้และบอกว่า น้ำคร่ำลดน้อยลงกว่าปกติ คุณแม่จึงถามคุณหมอว่า จะเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ไหม คุณหมอบอกว่า ให้เฝ้าระวังและไม่อันตรายอะไรมาก แต่คุณหมอจะนัดให้มาพบถี่ขึ้น 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากที่คุณแม่กลับบ้านไป ก็เอาแต่วิตกกังวลและค้นหาข้อมูลสารพัดเกี่ยวกับเรื่องของน้ำคร่ำน้อย

วันที่ 28 มีนาคม 2560 คุณแม่มีความรู้สึกว่าน้องดิ้นน้อยลง แต่ก็ยังรู้สึกว่าน้องดิ้นอยู่เบา ๆ คุณแม่ไม่เคยลืมที่จะนับลูกดิ้นเลยแม้เพียงสักวัน

วันที่ 29 มีนาคม 2560 คุณแม่ไปทำงานตามปกติ และตั้งหน้าตั้งตานับลูกดิ้น แต่ก็เหมือนเดิมรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยและเบาลง และทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทารกในครรภ์ดิ้น แต่ก็เหมือนไม่ได้ผล จึงรีบปรึกษาสามีและโทรไปปรึกษาคุณหมอ เจอเจ้าหน้าที่ ๆ ก็ถามรายละเอียดเกี่ยวกับอายุครรภ์และจำนวนการดิ้นที่นับได้ เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่เป็นไร และให้เริ่มนับให้ตอนสัปดาห์ที่ 32

Advertisement

วันที่ 30 มีนาคม 2560 คุณแม่รีบตื่นแต่เช้าเพื่อไปโรงพยาบาลเพื่อทำการเจาะเลือดครั้งที่ 2 ครั้งนี้ คุณแม่พยายามขอเจอคุณหมอ เนื่องจากลูกดิ้นน้อยลง และคุณหมอก็บอกว่าน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ พยาบาลก็เรียคุณแม่เข้าไปในห้องเพื่อวัดการเต้นของหัวใจ ครั้งแรกคุณแม่ยังได้ยินเสียงหัวใจลูกอยู่แต่ก็ไม่สม่ำเสมอ หัวใจของลูกเต้นขึ้น ๆ ลง ๆ พยาบาลบอกว่า ไม่ค่อยดีเลย เพราะปกติหัวใจต้องเต้นอยู่ที่ 120 ครั้ง แต่นี่บางครั้งก็ไม่ถึง แต่ก็ไม่กล้าคอนเฟิร์ม จึงส่งตัวขึ้นไปข้างบนเพื่อไปพบคุณหมอ พยาบาลก็ให้นอนบนเตียงเพื่อฟังเสียงหัวใจลูกอีกครั้ง ฟังเกือบชั่วโมงก็ไม่ดีขึ้น คุณหมอที่ฝากครรภ์ก็เดินมาดูบ้างเป็นระยะ ๆ เพราะท่านติดทำคลอดคุณแม่ท่านอื่นด้วย สุดท้ายแผ่นกราฟออกมาว่า หัวใจของลูกไม่ปกติ คุณหมอเลยจะให้อัลตราซาวด์อีกครั้ง ผลคือ น้ำหนักลูกขึ้นมาแต่ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ เพราะคุณแม่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย ลูกของคุณแม่กดทับสายสะดือบางช่วง ถ้าจะคลอดที่นี่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอุปกรณ์ไม่พร้อม และที่นี่ก็ไม่มีคุณหมอเด็กจึงจะส่งไปโรงพยาบาลประจำจังหวัด โดยไม่มีการช่วยประสานงานหรือแนะนำอะไร มีเพียงแต่ให้เซ็นเอกสารและให้คุณแม่และสามีไปติดต่อและรักษาเอง

เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ด้วยความรักและเป็นห่วงลูก คุณพ่อจึงไม่สามารถรอให้พยาบาลเรียกได้ จึงรีบยื่นกราฟและบุกขึ้นไปหาคุณหมอทันที คุณหมอรีบทำการตรวจสอบ คำถามของคุณหมอทำให้คุณแม่และคุณพ่อน้ำตาไหล “รู้ไหมว่าลูกกำลังแย่” คุณหมอรีบส่งตัวไปยังห้องคลอดทันที พยาบาลรีบจัดการตรวจวัดคลื่นตัวหัวใจอีกครั้ง พวกเราทุกคนยังคงได้ยินเสียงหัวใจของลูกอยู่ แต่เป็นการเต้นที่ไม่ต่อเนื่อง

จากนั้น คุณหมอก็เข้ามาดูอาการและพาเข้าห้องอัลตร้าซาวด์อีกครั้ง เพื่อหาจุดฟังเสียงหัวใจแต่ก็หาไม่เจอ พยาบาลจับชีพจรหัวใจบอกว่า “ลูกคุณแม่หัวใจเต้นไม่ถึง 60 ครั้ง” คุณหมอบอกว่า ให้ทำใจ เพราะทารกเสียชีวิตในครรภ์เพราะน้ำคร่ำแห้ง แต่คาดว่าอาจจะมีสาเหตุอื่นอีก นั่นก็คือคุณแม่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แต่จะมีสาเหตุอื่นอีกหรือไม่ ต้องรอให้น้องออกมาก่อนและนำร่างไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงเพิ่มเติม

คุณหมอเหน็บยาให้ เพื่อให้คุณแม่คลอดด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ในระหว่างที่รอนั้น คุณแม่และครอบครัวไม่มีใครเลยที่จะสามารถหยุดร้องไห้เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะต่อให้น้องมีชีวิตรอด คุณหมอก็บอกว่า น้องจะต้องกลายเป็นเด็กพิการ เช้าวันรุ่งขึ้น คุณแม่เริ่มปวดท้องอย่างรุนแรง พยาบาลจึงรีบนำตัวไปยังห้องคลอด แทบจะไม่ต้องหยิบเครื่องมืออะไรมากมายเลย น้องคลอดออกมาง่ายมาก หน้าตาน่ารักน่าชัง ร่างกายอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์เหมือนกับเด็กแรกเกิดทั่วไป ต่างกันแค่เพียงน้องไม่มีเสียงร้องและลมหายใจให้คุณแม่ได้ชื่นใจเหมือนกับคนอื่น ๆ เท่านั้นเอง

คุณแม่นำเรื่องราววนี้มาแชร์เพื่อต้องการให้คุณแม่ทุก ๆ คนเชื่อในความรู้สึกและสัญชาตญาณของตัวเอง หากรู้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดไปเองหรือไม่ก็ตาม ให้ไปพบคุณหมอที่มั่นใจและเชื่อใจได้ เพื่อทำการปรึกษาให้เร็วที่สุด

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของน้อง และขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่และครอบครัวด้วยค่ะ

ที่มา: เพจคนท้องคุยกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ภาวะน้ำคร่ำแห้ง คืออะไร ป้องกันได้หรือไม่?

คุณแม่แชร์ประสบการณ์จริง เมื่อถุงน้ำคร่ำฉันแตก

parenttown

 

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่แชร์ สูญเสียลูกเพราะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและน้ำคร่ำแห้ง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว