X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 5 นาที
เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้ลูกป่วยหรือติดไปอีกคน เราไปดูกันค่ะว่า เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ลูกติดไปด้วย

 

เมื่อรู้ว่าป่วยควรทำอย่างไร 

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร

  • ทานอาหารต้านโรค

นอกเหนือจากการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรเสริมด้วยอาหารที่ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในผักผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี อาทิ ผักใบเขียวจัดหรือสีเหลืองส้ม เห็ดต่าง ๆ และแร่ธาตุซิลีเนียม หรือสังกะสีที่พบในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม หรือถั่ว เป็นต้น

 

  • ออกกำลังกาย

ช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น แล้วทำให้เม็ดเลือดขาวในเนื้อเยื่อต่าง ๆ แข็งแรงเพื่อจัดการกับเชื้อโรคได้ง่าย อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาหลังการออกกำลังกาย เพื่อช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยได้ โดยเราควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์

 

Advertisement
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

ควรนอนหลับให้สนิทและให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง เพราะการเข้านอนเร็วจะช่วยให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน DHEA (สารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและชายที่ทำหน้าที่ช่วยต้านความเครียดและกระตุ้นภูมิต้านทาน) ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

  • ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง 

เราสามารถฝึกผ่อนคลายจิตใจตนเองได้ด้วยการกำหนดลมหายใจ หรือนั่งสมาธิ เป็นต้น เพราะมีงานวิจัยออกมาว่า การนั่งสมาธิสามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน DHEA ซึ่งนอกเหนือจากมีหน้าที่สำคัญช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้ว ยังมีบทบาทในการต้านโรคมะเร็งอีกด้วย

 

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร ป้องกันไม่ให้ลูกติด

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร

  • อาการไข้

คือ อาการตัวร้อน อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส สาเหตุที่พบบ่อย เกิดจากไข้หวัด ไข้ออกผื่น ไทฟอยด์ ไข้มาลาเรีย ถ้าหากอาการไม่ชัดเจน และมีไข้ไม่เกิน 7 วัน ให้ดูแลตนเอง คือ รักษาตามอาการ เพราะอาจจะเกิดจากไวรัส เป็นหวัด หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่แสดงอาการในระยะแรกเริ่ม

  • นอนพักผ่อนมาก ๆ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ
  • ห้ามอาบน้ำเย็น
  • ถ้าเบื่ออาหาร ให้กินน้ำหวาน ข้าวต้ม
  • ถ้าเจ็บคอให้ใช้น้ำเกลือกลั้วคอ
  • กินยาลดไข้

 

  • อาการไอ

มีอาการไอและอาการอื่น ๆ ไม่ชัดเจน ให้ดูแลตนเอง คือ รักษาตามอาการ เพราะอาจเกิดจากไวรัส เป็นหวัด หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่แสดงอาการในระยะแรกเริ่ม

  • พักผ่อน
  • ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ
  • กินยาแก้ไอหรือจิบน้ำผึ้งผสมมะนาว
  • กินยาแก้แพ้ ถ้าคัดจมูกและงดน้ำแข็ง บุหรี่ เหล้า อาหารทอด อาหารมันๆ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ให้รีบพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือปรึกษาแพทย์

 

  • ไข้หวัดใหญ่ 

ไข้หวัดใหญ่ อาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยสามารถพบได้ในทุกฤดูกาล แต่ในฤดูหนาวจะมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าปกติถึง 2 เท่า ซึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างมาก คือ การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจส่งผลให้เกิดอันตรายรุนแรง อย่าง การติดเชื้อทางเดินระบบหายใจได้

  • ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง หมั่นเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดาเพื่อลดไข้ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • สวมเสื้อผ้าหนา ๆ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ สวมผ้าปิดปากและจมูกเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  • ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นเป็นอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย และหากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นควรใช้ช้อนกลาง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีภูมิต้านทานต่ำ
  • หากมีอาการหนัก อาจจะฝากคนที่บ้านช่วยเลี้ยงดูลูกแทน
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์

  • อาการไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว และไอ ไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน (หลังจากกินยาแล้ว)
  • เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอหรือหายใจทุกครั้ง
  • คลื่นไส้ อาเจียนมาก ไม่สามารถทานอาหารได้

 

โรคที่เด็กเสี่ยงเป็นมากที่สุด

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร

  • โรคมือเท้าปาก

เกิดจากเชื้อไวรัส (Enterovirus 71, Coxsackie) พบได้ประปรายตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน สำหรับกลุ่มอาการของโรค เด็กจะมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก บางรายอาจมีผื่นที่ขาและก้นร่วมด้วย พบมากในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี (อนุบาลถึงประถม) อาการมักหายได้เองภายใน 3 – 10 วัน สามารถติดต่อทางการไอ จาม น้ำลาย หรืออุจจาระ มีระยะฟักตัว 3 – 6 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2 – 3 วัน ก่อนมีอาการ จนถึง 1 – 2 สัปดาห์หลังมีอาการ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

 

  • โรคไข้เลือดออก

เป็นโรคที่มี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ถ้าได้รับเชื้อแล้วจะมีไข้สูงเกิน 3 วันขึ้นไป ตาและหน้าจะเริ่มแดง มีความรู้สึกอ่อนเพลียและปวดท้อง

 

  • โรคอีสุกอีใส

หลายครอบครัวคงคุ้นเคยกับโรคนี้กันดี เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นกันบ่อย แต่มักจะเป็นในบางช่วง เมื่อเป็นแล้วมักจะเป็นโรคติดต่อกันเป็นทอด ๆ โดยเฉพาะการติดต่อจากเพื่อนที่โรงเรียน กลุ่มอาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้ เป็นผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นตามตัว โดยเริ่มจากบริเวณท้อง ลามไปตามต้นแขน ขา และใบหน้า หลังจากนั้นจะเกิดเป็นสะเก็ด และแผลเป็นขึ้นได้ มักหายได้เองประมาณ 2 – 3 สัปดาห์

 

  • โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วง

โรคท้องเสีย เกิดขึ้นเพราะลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรต้าไวรัส ซึ่งมาจากของเล่น อาหาร หรือของใช้ใกล้ตัวเด็กที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะเด็กเล็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่เข้าใจเรื่องของสุขอนามัย จึงมักนำของเล่นหรือของใช้ที่มีเชื้อนี้เข้าปากโดยไม่รู้ตัว จากนั้นจะถูกขับออกทางอุจจาระของผู้ป่วย เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย

 

  • โรคไอพีดีและปอดบวม

โรคไอพีดี หรือที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Diseaseคือโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งมีความรุนแรงและอาจทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

 

ที่มา : (bangkokhospital),(phyathai),(bangkokhospital)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ คนท้อง ทารก เด็กเล็ก วัยเรียน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ โรคร้ายเสียชีวิตได้

โรคชิคุนกุนยาระบาด โรคติดต่อที่มากับยุง เตือนพ่อแม่ให้ระวังลูกน้อยในช่วงนี้!!

4 ขั้นตอนล้างมือให้สะอาด บ๊ายบายเชื้อโรค

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว