เพศสัมพันธ์ ประจำเดือนและการคุมกำเนิดหลังคลอด ปัญหาคาใจที่คุณต้องรู้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพศสัมพันธ์ ประจำเดือนและการคุมกำเนิดหลังคลอด วิธีคุมกำเนิดหลังคลอด เป็นคำถามที่คุณแม่หลังคลอดทุกคนกังวลและสงสัย แต่บางครั้งอาจจะไม่กล้าสอบถามจากใคร จนอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้ วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนและการคุมกำเนิดหลังคลอด ที่ช่วยให้คุณแม่เข้าใจเรื่องนี้กันมากขึ้นมาฝากกันค่ะ

 

ทำความเข้าใจกับร่างกายแม่หลังคลอด

สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่เพิ่งผ่านมาใช้พลังงานอย่างหนักหน่วงมาหมาด ๆ  คุณแม่ควรพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว แต่สำหรับคุณแม่ที่หลังคลอดแล้วไม่มีพี่เลี้ยงหรือผู้ช่วยเลี้ยงลูกอาจจะเหนื่อยและรู้สึกว่านอนพักผ่อนไม่เพียงพออยู่บ้าง เพราะทารกแรกเกิดมักจะร้องกวนอยู่บ่อย ๆ เพราะลูกเองก็ต้องปรับสภาพตนเองกับการใช้ชีวิตอยู่ภายนอกครรภ์ หากเป็นเช่นนี้เวลาลูกนอนแม่นอนด้วย งีบหลับในช่วงเวลาที่ลูกหลับ ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แม้จะไม่ได้หลับรวดเดียวนาน 8 ชั่วโมงก็ตาม แต่ในขณะที่ให้นมแม่อยู่นั้นไม่ควรหลับนะคะเพราะอาจเกิดอันตราย เต้านมของคุณแม่อาจไปปิดกั้นการหายใจทำให้ลูกหายใจไม่ออกจนเกิดอันตรายได้

นอกจากสภาวะหลังคลอดที่คุณแม่ต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ยังมีเรื่องที่กังวลใจและค้างคาใจอยู่ เช่น เพศสัมพันธ์หลังคลอดสามารถมีได้เมื่อไร ประจำเดือนหลังคลอดจะมาเมื่อไร รวมถึงการคุมกำเนิดหลังคลอดยังต้องคุมกำเนิดหรือไม่ เพราะเพิ่งคลอดลูก เราไปดูกันค่ะ

 

เพศสัมพันธ์หลังคลอด

สำหรับคุณแม่ที่คลอดแบบธรรมชาติ แผลฝีเย็บและความสะอาดของช่องคลอดเป็นสิ่งที่ต้องดูแลและให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะให้งดการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งมาตรวจสุขภาพในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด หลังคลอดสำหรับคุณแม่ที่ยังมีน้ำคาวปลาไหลอยู่ การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้เสี่ยงติดเชื้อในช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่าย

แต่ไม่เสมอไปนะคะเพราะหากน้ำคาวปลาแห้งและแผลฝีเย็บหายดีแล้ว และไม่รู้สึกเจ็บปวดแล้ว การร่วมเพศก็ไม่ทำให้เจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หลังจากคลอดประมาณ 1 เดือน ซึ่งไม่มีอันตรายใด ๆ

ส่วนใหญ่แล้วสำหรับคุณแม่หลังคลอด มักจะพะวงกับลูกน้อย ต้องปรับตัวเข้าหากัน ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่ายเพราะนอนไม่ค่อยเพียงพอ คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยเปิดใจกันเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจและผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ หรือหาวิธีป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เซ็กส์หลังคลอด มีเพศสัมพันธ์หลังคลอดแล้วรู้สึกเจ็บ ผิดปกติหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ประจำเดือนและการคุมกำเนิดหลังคลอด

หลังคลอดแล้วคุณแม่คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่า แล้วประจำเดือนจะมาตามปกติเมื่อไรกันแน่ ในช่วงหลังคลอดระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะลดต่ำลงอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สภาพปกติซึ่งจะทำให้คุณแม่มีการตกไข่และมีประจำเดือนอีกครั้ง คุณแม่จะเริ่มมีการตกไข่อีกครั้งเร็วสุดประมาณ 3 สัปดาห์หลังคลอด และหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ประจำเดือนจะเริ่มมาตามปกติ

สำหรับคุณแม่ที่ให้นมแม่อาจมีผลทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ เพราะระดับฮอร์โมนโพรแลกตินที่กระตุ้นในการสร้างน้ำนมแม่มีผลต่อการกดการทำงานของรังไข่ทำให้ไข่ไม่สามารถตกได้ คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ทุกวันสม่ำเสมอจึงมักจะไม่มีประจำเดือนนานถึง 6 เดือนแต่คุณแม่ที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ประจำอาจจะมาภายใน 4-8 สัปดาห์ แม้ว่าประจำเดือนจะมาแล้วแต่คุณแม่ยังสามารถให้นมแม่ได้ตามปกตินะคะ รวมถึงคุณค่าของนมแม่ไม่ได้ลดคุณค่าแต่อย่างใด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคุมกำเนิดหลังคลอด

สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าจะคุมกำเนิดเมื่อไรถึงจะไม่มีผลกับการตั้งครรภ์หลังคลอด แม้ว่าประจำเดือนของคุณแม่ยังไม่มาก็ตาม แต่ขอแนะนำว่าควรคุมกำเนิดก่อนจะมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดค่ะ  หรือเริ่มคุมกำเนิดหลังจากที่ไปตรวจร่างกายสัปดาห์ที่ 6 หลังคลอด เพราะในระหว่างนั้นคุณแม่จะเริ่มมีไข่ตก ซึ่งหากไม่ได้คุมกำเนิดหลังคลอดคุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ทันที

หากในช่วงเวลาดังกล่าวคุณแม่มีเพศสัมพันธ์ควรมีการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีด้วยนะคะ  สำหรับการมีบุตรคนถัดไปแนะนำว่า ควรเว้นระยะลูกคนแรกและลูกคนที่สองอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้คุณแม่มีเวลาเลี้ยงลูกได้เต็มที่และเพื่อให้ร่างกายและอวัยวะภายในฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการคุมกำเนิดมีทั้งชั่วคราวและถาวร ดังต่อไปนี้

  • ถุงยางอนามัย

การใช้ถุงยางอนามัย เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมน มีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อย และต้องการคุมกำเนิดในระยะสั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีใส่ถุงยางอนามัย ข้อควรระวังในการใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ยากินชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

ยาคุมประเภทนี้ คุณแม่สามารถรับประทานได้ในช่วงให้นมบุตร เพราะไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม แถมยังสามารถเพิ่มน้ำนมได้ด้วย ซึ่งวิธีการรับประทานก็เหมือนกับยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม แต่อาจมีผลข้างเคียงเรื่องเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ลืมหรือเปลี่ยนช่วงเวลาในการรับประทานบ่อย ๆ

ยาคุมประเภทนี้ 1 แผง จะประกอบไปด้วยยา 28 เม็ด แนะนำให้คุณแม่เริ่มกินช่วงวันที่ 21-28 หลังจากคลอดบุตร หากกินหลังจากนั้น ควรกินตั้งแต่ช่วง 7 วันแรกของการกินยาคุมประเภทนี้ หากคุณแม่จะมีเพศสัมพันธ์แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย ทั้งนี้ ยาคุมประเภทนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคตับ โรคลิ่มเลือดอุดตันแบบเฉียบพลัน และโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

 

  • ยาฉีดคุมกำเนิด

ยาฉีดคุมกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบที่ 1 เข็มคุมกำเนิดได้ 3 เดือน และแบบที่ 2 เข็มคุมกำเนิดได้ 1 เดือน โดยยาคุมชนิดนี้ คุณแม่สามารถรับได้ตั้งแต่ช่วงให้นมลูกซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม และสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ หลังจากคลอดบุตรหรือภายใน 7 วันหลังมีรอบเดือน

ซึ่งข้อดีของการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด คุณแม่จะไม่มีปัญหาเรื่องการลืมกินยา และสามารถคุมกำเนิดได้นานกว่ายาคุมชนิดกิน แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงคือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย และหายใช้ไปนาน ๆ ก็อาจทำให้ประจำเดือนไม่มา นอกจากนี้ ยังอาจทำให้น้ำหนักขึ้น มีผ้า หากใช้ในระยะยาว ก็อาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นและมวลกระดูกบางลง อย่างไรก็ตาม หากหยุดใช้ มวลกระดูกที่บางลงก็จะดีขึ้น

 

  • ยาฝังคุมกำเนิด

ยาคุมประเภทนี้จะมีฮอร์โมน Progestin ชนิดเดียว จึงไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม โดยยาฝังคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชนิด 1 หลอด คุมกำเนิดได้ 3 ปี และชนิด 2 หลอด คุมกำเนิดได้ 5 ปี การใช้ยาฝังคุมกำเนิดจะฝังบริเวณท้องแขนด้านในเหนือข้อศอก คุณแม่ควรฝังภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน หรือภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าเลย 6 สัปดาห์หลังคลอดแล้วประจำเดือนยังไม่มา ก็สามารถฝังยาคุมได้ แต่ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้ง แต่ภายหลังจากฝัง 7 วันแล้ว ก็ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นด้วย เช่น ถุงยางอนามัย ทั้งนี้ การฝังคุมกำเนิดจะยังมีรอบเดือนที่ปกติ แต่ก็อาจมาน้อยลง เมื่อครบกำหนด คุณแม่ก็ต้องมานำหลอดฝังยาออก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝังยาคุม กับ กินยาคุม ต่างกันอย่างไร ? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ห่วงคุมกำเนิด

ปัจจุบันห่วงคุมกำเนิดมี 2 ประเภท คือ ชนิดมีฮอร์โมน สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี และห่วงคุมกำเนิดชนิด Copper สามารถคุมกำเนิดได้ 10 ปี ซึ่งช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการใส่ห่วงคุมกำเนิด คือ อย่างน้อย 5 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อให้มดลูกเข้าอู่เรียบร้อยและลดโอกาสทะลุจากห่วงคุมกำเนิด ส่วนผลข้างเคียงจากการใช้ห่วงคุมกำเนิด คือ ตกขาวมากขึ้น มีเลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงรอบเดือน ประจำเดือนมาน้อย แต่ก็ไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมให้นมบุตร

 

เรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่ที่ต้องการคุมกำเนิด

สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคความดันโลหิตสูง โรคตับอักเสบ มักมีข้อห้ามใช้ยาคุมกำเนิดประเภทฮอร์โมนทั้งยาเม็ด ยาฉีด และยาฝังคุมกำเนิด แต่ควรใช้ห่วงอนามัยหรือถุงยางอนามัยแทน

 

ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนและการคุมกำเนิดหลังคลอด  เพื่อให้คุณแม่หลังคลอดได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ทันทีหลังคลอดค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คุมกำเนิด แบบไหนดี และวิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง ?

ห่วงอนามัย คุมกำเนิด อีกหนึ่งทางเลือก ของคนไม่ชอบกินยา

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!

ที่มา : 1