การเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ปกติหรือไม่ เรารู้ได้อย่างไร?
การรู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวของลูกในท้องถือเป็น ความสุขที่คุณแม่หลายท่านกำลังรอคอยอยู่ใช่ไหมคะ ทุก การเคลื่อนไหวของลูกในท้อง จะเป็นสัญญาณที่บอกคุณแม่ว่าตอนนี้พวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง แน่นอนว่า การตั้งครรภ์ของคุณแม่แต่ละคนย่อมต่างกัน พวกเรา TheAsianparent จึงขอนำเสนอวิธีการเช็คการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ว่าแบบไหนปกติ หรือ แบบไหนที่คุณแม่ควรกังวลมาฝากกันค่ะ
วันนี้ลูกดิ้นหรือยังนะ ?
คุณแม่จะรู้สึกได้อย่างไร?
การเคลื่อนไหว หรือ การเตะ ที่คุณแม่รู้สึกนั้น เรียกว่า การดิ้น (quickening) ความรู้สึกของคุณแม่จะคล้ายกับว่า เหมือนมีเจ้าผีเสื้อกำลังบินอยู่ในท้อง บางครั้ง การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยของลูก คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกมากนัก อาจจะเข้าใจผิดได้ว่า กำลังมีแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือ กำลังหิวข้าว
นอกจากนี้ คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจ หากลูกน้อยเตะแรง ที่เขาเตะแรงนั้นเป็นเพราะ เขากำลังเติบโต หรือ กำลังขยายตัวอยู่ในครรภ์นั่นเองค่ะ อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว และปวดหลังเล็กน้อยนะคะ
คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นเมื่อไหร่ ?
จริงๆแล้ว การเคลื่อนไหวของลูกในท้องจะรู้สึกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ แต่ครั้งแรกที่คุณแม่จะรู้สึกได้ชัดเจน คือ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 เป็นต้นไป
ดังนั้น จึงมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อรู้สึกถึงการดิ้นครั้งแรกของลูก
- ประสบการณ์ : หากคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกคนที่สองจะรู้สึกได้เร็วกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนแรก เพราะว่าคุณแม่ลูกสองทราบดีอยู่แล้วว่า การเคลื่อนไหวในท้องเช่นนี้เป็นอย่างไร
- ตำแหน่งของรก : ผู้หญิงที่รกเกาะต่ำ จะรู้สึกการเคลื่อนไหวของลูกได้ยากกว่า
- น้ำหนัก : น้ำหนักของคุณแม่ก็มีส่วนในการรู้สึกเหมือนกันนะคะ คุณแม่ที่มีน้ำหนักมากอาจจะรู้สึกช้ากว่าหน่อย เพราะว่า ผนังหน้าท้องหนาขึ้น
ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 เป็นต้นไป คุณแม่จะรู้สึกได้ชัดเจนมากขึ้น
ลูกควรจะดิ้นบ่อยแค่ไหน ?
โดยปกติแล้ว หากทารกสุขภาพแข็งแรง จะดิ้นประมาณ 10 ครั้งต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม คุณแม่อย่าเพิ่งวิตกกังวลไปนะคะ หากบางครั้งเมื่อเราเช็คกว่าเคลื่อนไหวแล้วลูกอาจจะนิ่งไป นั่นอาจเป็นเพราะว่า ลูกอาจจะกำลังหลับอยู่ โดยเฉลี่ยเวลาหลับของลูกในแต่ละรอบจะประมาณ 20 – 40 นาที
โดยปกติแล้ว ลูกจะดิ้น 10ครั้ง/ชั่วโมง
การเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ในแต่ละไตรมาส เป็นอย่างไรบ้าง?
ไตรมาสแรก (สัปดาห์ที่ 1-12) : ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกมากนัก เพราะเขายังเล็กมาก อย่าเพิ่งกังลวลไปค่ะ ! คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวมากขึ้น ในไตรมาสถัดไป
ไตรมาสที่สอง (สัปดาห์ที่ 13-26) : ไตรมาสถัดมา หลังจากอาการแพ้ท้องของคุณแม่ลดลง ขนาดครรภ์ของคุณแม่ก็จะเริ่มใหญ่ขึ้น และ เริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูกแล้วค่ะ แต่อาจจะไม่ได้รู้สึกชัดเจนเท่ากับไตรมาสถัดไป
ไตรมาสที่สาม (สัปดาห์ที่ 27-40) : ไตรมาสสุดท้ายนี้จะเป็นไตรมาสที่คุณแม่จะรู้สึกได้ชัดเจนที่สุด เนื่องจากลูกน้อยมีการเจริญเติบโตมากขึ้น เมื่อลูกเตะแรง หรือตีลังกาอยู่ในท้อง คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ หรือ ไม่สบายตัวไปบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะนี่คือสัญญาณที่บอกว่าลูกน้อยสบายดีค่ะ
ไตรมาสที่สาม จะเป็นไตรมาสที่คุณแม่จะรู้สึกได้ชัดเจนที่สุด
การเคลื่อนไหวแบบไหนที่เรียกว่า ไม่ปกติ ?
เมื่อลูกเคลื่อนไหวช้าลงกว่าปกติ หรือ ไม่เคลื่อนไหวเลย นี่คือสัญญาณเบื้องต้นแล้วว่า ลูกน้อยในครรภ์กำลังเป็นอะไรหรือเปล่า คุณแม่สามารถเช็คได้ง่ายๆด้วยการ นอนตะแคงซ้ายแล้วนำมือมาวางไว้ที่ท้อง หากภายในหนึ่งชั่วโมง ลูกดิ้นไม่ครบ 10 ครั้ง คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอทันที ซึ่งเหตุนี้ อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น น้ำคร่ำในครรภ์น้อย อาจะทำให้ลูกเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น
หากพบความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ รีบไปพบแพทย์ทันที
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อ ติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อ เสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : sg.theasianparent.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง
อาหารสำหรับคนท้อง คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องกินอะไรถึงจะดีต่อลูก
โรคประจำตัวกับคนท้อง คุณแม่ควรเฝ้าระวังอาจส่งผลต่อลูกในครรภ์ได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!