X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือ 4 อาการผิดปกติของเต้านมที่ต้องเจอระหว่างให้นมลูก

31 Aug, 2016

การให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เป็นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนล้วนพยายามทำให้สำเร็จ ซึ่งในระหว่างที่ให้นมลูกบ่อย ๆ เป็นประจำทุกวัน เต้านมของคุณแม่อาจมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้

คัดเต้านม

คัดเต้านม

เกิดจากการสร้างน้ำนมมาก ทำให้มีน้ำนมคั่งอยู่ในท่อน้ำนมและระบายน้ำนมออกไม่ทัน จึงทำให้เกิดอาการคัดเต้าโดยจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบเต้านม และรู้สึกร้อนบริเวณที่เต้านมได้ อาจทำให้เกิดไข้ต่ำ ๆ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
วิธีรับมือ
เมื่อคุณแม่มีอาการคัดเต้าให้ประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่นจัดประมาณ 5-10 นาที หรือเอาลูกเข้าเต้าให้ดูดในท่าที่ถูกต้องก็จะช่วยทุเลาอาการคัดลงได้ หลังจากลูกดูดอิ่มก็ปั๊มนมออกเพื่อระบายและเก็บเป็นสต็อกนมได้

Read : อานุภาพ "กะหล่ำปลี" บรรเทาอาการ "คัดเต้า"
เจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก

เจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก

อาจเกิดจากการที่คุณแม่มือใหม่ยังอุ้มลูกให้นมในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม และดูดได้แต่หัวนมเท่านั้น เมื่อลูกดูดแรงและนานจึงทำให้แม่รู้สึกเจ็บหัวนมขึ้นได้
วิธีรับมือ
เริ่มต้นที่คุณแม่ควรอุ้มลูกในท่าให้นมที่ถนัดและถูกต้อง เมื่อลูกพร้อมอ้าปากที่จะงับหัวนมแล้วให้เคลื่อนศรีษะลูกเข้าเต้าโดยเร็ว และพยายามให้ลูกได้อมหัวนมลึกจนถึงลานนม ควรเริ่มต้นให้ลูกดูดนมจากเต้าที่รู้สึกเจ็บน้อย แต่หากคุณแม่ทนเจ็บไม่ไหวทั้งสองข้างจำเป็นต้องงดให้ลูกดูดนมจากเต้า 1-2 วัน และใช้น้ำนมทาแผลที่หัวนมปล่อยให้แห้งโดยไม่ต้องเช็ดออก ในช่วงที่หยุดให้นมลูกจากเต้าควรปั๊มน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้น้ำนมลดหายไปนะคะ

Read : ปัญหาการให้นมลูกทั่วไป - การเจ็บหัวนมและหัวนมติดเชื้อ
เต้านมอักเสบ

เต้านมอักเสบ

อาจเกิดหลายสาเหตุ เช่น การที่ลูกดูดนมไม่เก่ง ดูดนมน้อย ดูดนมไม่บ่อย หรือให้ลูกดูดนมในระยะสั้น ๆ ทำให้มีน้ำนมค้างในเต้านมนานและเกิดการจับตัวเป็นก้อนแข็งและเจ็บ ซึ่งอาจมีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังเต้านมร่วมด้วย ส่งผลให้คุณแม่อาจจะมีไข้และมีอาการอ่อนเพลีย หรืออาจเกิดจากการไหลของน้ำนมบางส่วนของเต้านมไม่ดี หรือคุณแม่กดเต้านมไว้ในขณะให้ลูกดูดนม หรือการนอนทับเต้านมเป็นเวลานาน รวมถึงการสวมใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไป ก็เป็นผลทำให้เจ็บเต้านมได้
วิธีรับมือ
ควรระบายน้ำนมออกให้เร็วเพื่อไม่ให้เกิดภาวะนมคัด และช่วยให้น้ำนมไม่คั่งค้างอยู่ภายในเต้า โดยให้ลูกดูดนมหรือปั๊มนมทุกๆ 2-3 ชั่วโมงในข้างที่เจ็บก่อน และจัดท่าให้นมที่ถูกต้องเพื่อให้ลูกช่วยดูดระบายน้ำนมออกจากเต้าได้ดีขึ้น ในกรณีที่ปวดมากกินยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการแก้ปวดได้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์

Read : เจ็บเต้านม ส่งสัญญาณอาการเต้านมอักเสบ
ท่อน้ำนมอุดตัน

ท่อน้ำนมอุดตัน

เกิดจากท่อส่งน้ำนมบางส่วนอุดตันทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวก ทำให้มีน้ำนมคั่งค้างอยู่ภายในเต้านม ส่งผลให้ภายในเต้านมบางบริเวณมีลักษณะก้อนแข็งเป็นไต เมื่อกดบนผิวหนังที่บริเวณเหนือก้อนจะทำให้รู้สึกเจ็บ อาจจะบวมแดงโดยไม่มีไข้
วิธีรับมือ
ก่อนให้นมลูกให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตรงบริเวณที่เป็นไต จากนั้นใช้มือนวดเบา ๆ และเริ่มให้ลูกได้กินนมจากข้างที่มีอาการเป็นไตก่อนโดยพยายามให้ลูกดูดนานขึ้น และก้อนดังกล่าวจะหายไปเองภายในสองสามวัน

Read : การรักษาแบบธรรมชาติเพื่อชะล้างท่อน้ำนมอุดตัน
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • รับมือ 4 อาการผิดปกติของเต้านมที่ต้องเจอระหว่างให้นมลูก
แชร์ :
  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว