อาการป่วยทารก อันตราย
อาการป่วยทารก อันตราย แบบไหนไม่อันตราย เรามาทำความเข้าใจกับอาการป่วยใน 2 ระบบของร่างกายที่พบบ่อยของลูกน้อยวัยทารก ซึ่งได้แก่อาการป่วยในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ว่ามีอาการแบบใดที่เราสามารถดูแลอยู่ที่บ้านได้ มีข้อควรปฏิบัติ และข้อควรระวังอย่างไรบ้าง กันนะคะ
การดูแลอาการป่วยที่ พบบ่อยในทารก
การดูแลอาการป่วยที่พบบ่อยในทารก
อาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ มีน้ำมูก คัดจมูก ไอ จาม
หากลูกมีอาการเหล่านี้ โดยมีไข้ต่ำ ๆ หรือไม่มีไข้ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่าไข้หวัดธรรมดา ซึ่งโดยทั่วไปสามารถหายเองได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ถึง 7 วัน
ข้อควรปฏิบัติ วิธีดูแลลูกในวัยทารก เมื่อเป็นไข้หวัด :
- ล้างจมูก ดูดน้ำมูก ให้ลูก
- ใช้ยาหยด ลดจมูกบวม
- ทานยาแก้ไอชนิดที่ทารกทานได้ ตามอาการ
- เช็ดตัวลดไข้ และทานยาลดไข้ ตามอาการ
อาการป่วยทารก ควรรีบพบคุณหมอเมื่อ :
- ไข้สูง โดยเฉพาะ มากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
- ซึม
- ทานข้าว ดื่มน้ำ ไม่ได้
- ไอมาก
- หายใจเหนื่อย หอบ
- มีอาการนานกว่า 7 วัน หรืออาการแย่ลง ภายใน 5 วัน
***ข้อควรระวัง สิ่งที่แม่ไม่ควรทำเมื่อลูกป่วยเป็นไข้หวัด :
- ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาทานเอง
- หากลูกมีอาการไข้ ไอ ร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย อาจเกิดจากปอดอักเสบติดเชื้อ ควรรีบไปพบคุณหมอทันที
อาการป่วยในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องเสีย
หากลูกมีอาการเหล่านี้ โดยไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำ ๆ มักเกิดจากอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถดูแลเบื้องต้น ที่บ้านได้
ข้อควรปฏิบัติ วิธีดูแลลูกในวัยทารก เมื่ออาเจียน ท้องเสีย :
- ให้ทานนมแม่เยอะ ๆ ชดเชยการสูญเสียน้ำ
- ทานน้ำเกลือแร่ สำหรับทารก
- ทานยาแก้อาเจียน ตามอาการ
- เช็ดตัวลดไข้ และทานยาลดไข้ ตามอาการ
- หากลูกอายุเกิน 6 เดือน ควรให้ทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก
อาการป่วยทารก อันตราย ควรรีบพบคุณหมอเมื่อ :
- มีอาการขาดน้ำ ได้แก่ ตาลึกโหล ปากแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ไม่ค่อยปัสสาวะ (ผ้าอ้อมไม่เปียกเลย ใน 6-8 ชั่วโมง)
- ซึม
- อาเจียน หรือ ถ่ายอุจจาระ มีเลือดปน
- กระสับกระส่ายผิดปกติ
- มีอาการชัก
- ทานน้ำและอาหาร ได้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปกติก่อนป่วย
***ข้อควรระวัง สิ่งที่แม่ไม่ควรทำเมื่อลูกอาเจียน ท้องเสีย :
- ไม่ควรให้ลูกทานยาหยุดถ่าย หรือยาลดการบีบตัวของลำไส้ เพื่อให้ร่างกายได้กำจัดเชื้อโรคออกไปทางอุจจาระ
- หากมีอาการยืดเยื้อ นานกว่า 7 วัน หรืออาการแย่ลง ควรไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุ
- ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน จะมีโอกาสติดเชื้อรุนแรง และขาดน้ำได้ง่าย จึงควรไปพบคุณหมอโดยเร็วหากมีอาการอาเจียน หรือถ่ายเหลวปริมาณมาก หลายครั้งติดต่อกัน แม้จะมีอาการเพียงไม่กี่วันก็ตาม
ลูกน้อยวัยทารกที่มีอาการป่วยควรจะได้รับการดูแลที่ใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่ตลอดระยะเวลาการป่วย หากมีอาการใดที่ผิดปกติ และไม่แน่ใจ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก
แพ็กเกจวัคซีนเด็ก 2561 ราคาวัคซีนเหมาจ่าย ของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ
เมื่อลูกติดเริมจากพ่อ ใครจะคิด โรคนี้แค่จูบ ลูกก็ป่วยรุนแรงได้นะ
ทารกน้อยหายใจเสียงดัง มีน้ำมูก จากภาวะ nasal snuffles ลูกป่วยหนักหรือเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!