X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อัพเดทวัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาวปีนี้

6 Oct, 2015

ช่วงปลายฝนต้นหนาวซึ่งมีทั้งฝนตกสลับอากาศร้อนแบบนี้ เด็กมักจะไม่สบายบ่อย และมีการระบาดของโรคติดเชื้อในเด็กเล็กกันมาก เพราะเด็กเล็กร่างกายยังอ่อนแอ จึงมีโอกาสรับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย มาดูกันนะคะว่าปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาวอย่างไรบ้าง

วัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาว

วัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาว

ช่วงปลายฝนต้นหนาวซึ่งมีทั้งฝนตกสลับอากาศร้อนแบบนี้ เด็กมักจะไม่สบายบ่อย และมีการระบาดของโรคติดเชื้อในเด็กเล็กกันมาก เพราะเด็กเล็กร่างกายยังอ่อนแอ จึงมีโอกาสรับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย มาดูกันนะคะว่าปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาวอย่างไรบ้าง
โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่

คุณพ่อคุณแม่อาจจะบอกว่าโรคนี้ไม่เห็นจะน่ากังวลอะไรแค่มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ แต่รู้ไหมคะอากาศช่วงนี้ล่ะค่ะที่จะทำให้เป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้นและรุนแรงขึ้นจากภาวะแทรกซ้อน คือ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ซึ่งลูกน้อยของเราจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษเลยนะคะเพราะเมื่อป่วยแล้วอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ โดยจากข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 6 กันยายน 2558 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วประเทศ จำนวน 44,719 ราย และเสียชีวิตแล้วถึง 24 ราย

คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine) ซึ่งสามารถฉีดได้ตอนลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยการฉีดครั้งแรกต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน ส่วนปีถัดมาจึงฉีดแค่ปีละ 1 เข็ม โดยปัจจุบันนอกจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลชนิดเดิมซึ่งประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ย่อย ขณะนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ย่อยได้มีการจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในอดีตมักจะเกิดจากสายพันธุ์ A เป็นหลักแต่ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B บ่อยขึ้น และเด็กที่ป่วยด้วยเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B มักมีอาการรุนแรงมากกว่า ซึ่งล่าสุดองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ครอบคลุมไวรัสทั้ง 4 สายพันธุ์เพราะอาจมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ที่เพิ่มขึ้นค่ะ
โรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Varicella zoster (VZV) ซึ่งช่วงอากาศแบบนี้สามารถยิ่ง ติดต่อกันได้ง่ายขึ้นจากการสูดหายใจเอาละอองฝอยของสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น เวลาไอหรือจามเข้าไป โรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรง แต่ในเด็กเล็กซึ่งภูมิต้านทานต่ำอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเสียชีวิตได้นะคะ โดยจากข้อมูลของกลุ่มระบาดวิทยาของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ในปี 56-57 พบว่ามีผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสในพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดเพิ่มมากขึ้นโดยกลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือ 5-9 ปี

วัคซีนสำหรับป้องกันโรคอีสุกอีใสจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันลูกน้อย โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส 2 ครั้ง การฉีดครั้งแรกแนะนำให้ฉีดเมื่ออายุ 12-18 เดือน และฉีดครั้งที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี หรือเว้นระยะห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งการที่จะต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็มเนื่องจากวัคซีนเข็มที่ 1 ป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ร้อยละ 70-90 และป้องกันโรคที่รุนแรงได้ร้อยละ 95 วัคซีนเข็มที่ 2 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคเป็นร้อยละ 98 และป้องกันโรครุนแรงได้ทั้งหมด นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสให้อยู่ในรูปวัคซีนรวม ได้แก่ วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) ซึ่งจะรวมอยู่ในเข็มเดียวกันทำให้สะดวก และไม่ต้องเจ็บตัวมากขึ้น ซึ่งแนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ 4-6 ปีค่ะ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กังวลใจก็อย่ารอช้ารีบพาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน แต่สำหรับโรคมือ เท้า ปาก อาจต้องรอวัคซีนสำหรับป้องกันอีกสักระยะ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หมั่นทำความสะอาดของเล่น และสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก ไม่ให้ลูกใช้อุปกรณ์กินข้าวร่วมกันกับเด็กอื่นเพราะอาจปนเปื้อนน้ำลายหรือน้ำมูก ควรสอนให้ลูกใช้ช้อนกลาง และล้างมือก่อนกินข้าว นอกจากนี้ในช่วงที่มีการระบาดก็ไม่ควรนำลูกไปในที่ที่มีเด็กอื่นอยู่รวมกันจำนวนมากค่ะ
โรคติดเชื้อไอพีดี

โรคติดเชื้อไอพีดี

โรคติดเชื้อไอพีดี (IPD; Invasive Pneumococcal Disease) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม สเตร็ปโตคอคคัส พบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบได้บ่อยในลูกน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ติดต่อผ่านการไอจามรดกัน เด็กจะมีไข้สูง ไอ หอบเหนื่อย มีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้การติดเชื้อรุนแรงในอวัยวะหลายระบบ ได้แก่ การติดเชื้อในระบบประสาท การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม แม้โรคนี้จะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่พามารักษาช้า เชื้อโรคแพร่เข้าสู่ระบบต่างๆ อย่างรุนแรงแล้วอาจจะทำให้ลูกเสียชีวิตได้เลยนะคะ โดยองค์การอนามัยโลกพบว่า โรคไอพีดีเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากโรคนี้ปีละมากกว่า 2 ล้านคน

ปัจจุบันวัคซีนสำหรับป้องกันโรคไอพีดี มี 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ 1. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรต์ (pneumococcal polysaccharide vaccine) วัคซีนนี้ใช้เฉพาะในเด็กที่อายุ 2 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุเท่านั้น 2. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (pneumococcal conjugate vaccine ,PCV) ซึ่งวัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดในเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์จนถึง 5 ปี
โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก

ลูกน้อยของเรามีโอกาสป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ซึ่งโรคนี้มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดคือ "เอนเทอโรไวรัส (EV) 71" เพราะจะทำให้อาการทรุดหนักรวดเร็วและเสียชีวิตได้ง่าย จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 8 กันยายน 2558 พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 26,407 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยล่าสุดเป็นเด็กอายุ 4 ขวบ เสียชีวิตเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดย กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยและเสียชีวิต คือ เด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 4 ขวบ ที่สำคัญในปีนี้พบว่าเชื้อ EV71 ที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงมีสัดส่วนสูงกว่าทุกปีเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน ต้องรักษาตามอาการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บริษัทยาแห่งหนึ่งในประเทศจีนได้ดำเนินการคิดค้นวัคซีน Inactivated EV71 สำหรับป้องกันโรคมือ เท้า ปากสายพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดนี้สำเร็จ โดยขณะนี้ผ่านขั้นตอนการศึกษาทางคลินิกแล้วเหลือเพียงรอการอนุมัติขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาของประเทศจีน (China Food and Drug Administration; CFDA) เท่านั้น หากได้รับการอนุมัติทางบริษัทคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตและวางจำหน่ายวัคซีนนี้ได้ในไตรมาสแรกของปี 2016 ที่จะถึงนี้ค่ะ
ถัดไป
img

บทความโดย

ภญ.กษมา กาญจนพันธุ์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อัพเดทวัคซีนป้องกันโรคฮิตช่วงปลายฝนต้นหนาวปีนี้
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว