คนท้อง ท้องเสีย บ่อย ๆ ในวันนี้ theAsianparent Thailand จะมาเล่าให้ฟังว่า คุณแม่ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรดีเมื่อ ท้องเสีย
ท้องเสียคืออะไร
ท้องเสีย (Diarrhea) หรืออุจจาระร่วง หมายถึง อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือดตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง อาการเหล่านี้หากมีอาการไม่เกิน 2 สัปดาห์ จะเรียกว่า ท้องเสียเฉียบพลัน แต่หากนานเกิด 2 สัปดาห์จะเรียกว่า ท้องเสียเรื้อรัง
ท้องเสียมีกี่แบบ
อาการท้องเสียสามารถแบ่งตามลักษณะของอุจจาระได้ 2 แบบ คือ
- อาการท้องเสียที่ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยผู้ป่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดท้องหรือปวดเบ่งที่ทวารหนัก ถ่ายบ่อย และมีปริมาณอุจจาระที่ออกในแต่ละครั้งไม่มากนัก
- อาการท้องเสียที่ถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ สีเหลืองหรือเขียวอ่อน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเป็นน้ำขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว
สาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย
- เกิดจากความผิดปกติของอารมณ์และจิตใจ เช่น ตื่นเต้น มีความวิตกกังวล ต้องเดินทาง ถ้าท้องเสียจากสาเหตุนี้ มักจะเป็นไม่มากอาจบ่อยและเรื้อรัง แต่สุขภาพของร่างกายโดยทั่วไปยังคงปกติดี
- เกิดจากการกินอาหารที่ไม่สะอาด เช่น กินผักสดที่ล้างไม่สะอาด อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารทะเลที่ไม่สด ดื่มน้ำที่ไม่สะอาดและไม่ได้ต้มสุก ฯลฯ
- ร่างกายได้รับสารเคมีที่เป็นพิษบางชนิดเกินขนาด กรณีนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่เกิดจากการที่ร่างกายค่อย ๆ สะสมสารพิษนั้นไว้ในร่างกายทีละเล็กละน้อย จนถึงขนาดที่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการท้องเสียขึ้น
- โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น บิด ไทฟอยด์ อหิวาต์ การติดโรคพยาธิบางชนิด ฯลฯ
- กินยาบางชนิด เช่น กินยาถ่ายมากไป, ยาหลายชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ พวกแอมพิซิลลิน มีผลข้างเคียงทำให้ท้องเสียได้
- อาการแพ้ของทางเดินอาหาร มักเกิดจากร่างกายของเราไม่สามารถย่อยอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดได้ เช่น แพ้นม
- อาการอักเสบหรือโรคเรื้อรังของทางเดินอาหาร
อันตรายหรือไม่ หากแม่ท้องท้องเสีย
น.พ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์ กล่าวถึงอาการท้องเสียในแม่ท้องไว้ว่า แม่ท้องหากเกิดอาการท้องเสีย ไม่จำเป็นต้องทานยาทุกครั้ง ถ้าไม่มีไข้ตัวร้อน ไม่ปวดท้องรุนแรงมาก ถ่ายออกมาเป็นน้ำเหลือง ๆ ไม่มีมูก ไม่มีเลือดปน รอดูอาการไปก่อน หากถ่ายน้อยลง ๆ แล้วหาย ก็ไม่ต้องทานยาอะไร
อาการอย่างไรที่ต้องพบหมอโดยด่วน
อาการท้องเสียในลักษณะอุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติคล้ายกุ้งเน่าคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลียมาก หรือมีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง อาการท้องเสียในลักษณะนี้แม่ท้อง ไม่ควรรักษาเอง เพราะถ้าอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การปฏิบัติตนเมื่อท้องเสีย
- ควรดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
- หากยังพอทานอาหารอ่อนได้ ไม่อ่อนเพลียมาก ไม่จำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
- หากมีอาการอ่อนเพลียเพราะไม่สามารถทานอาหารได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่จึงควรทดแทนด้วยการดื่มน้ำเกลือจึงควรทดแทนด้วยการดื่มน้ำเกลืออิเล็คโตรไลท์ หรือโอ.อาร์.เอส
- หลีกเลี่ยงนมสด คาเฟอีน อาหารไขมันสูงย่อยยากๆ และอาหารทะเล และพยายามพักผ่อนให้มาก
- เมื่อมีอาการท้องเสียไม่จำเป็นต้องทานยาเสมอไป การขับถ่ายเป็นการระบายเชื้อโรคและของเสียออกจากร่างกาย การใช้ยาบางชนิดเพื่อหยุดการขับถ่ายในทันที อาจทำให้เชื้อโรคถูกกักอยู่ในร่างกายและอาจมีผลเสียติดตามมา รวมถึงการทำให้อาการต่าง ๆ หายช้าลงได้
- ถ้าท้องเสียเนื่องจากการติดเชื้อ ยาฆ่าเชื้อที่ปลอดภัยควรเป็น แอมพิซิลลิน หรืออม๊อกซิซิลลิน ไม่ควรใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยในกลุ่มยาแก้อักเสบ
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง
ข้อควรรู้ ท้องเสีย : เมื่อใดจะใช้ยาปฏิชีวนะ
ข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาการท้องเสียที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะยาฆ่าเชื้อมักจะพิจารณาให้การรักษาเฉพาะในผู้มีอาการท้องเสียที่ถ่ายเป็นมูกเลือดหรือถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือน้ำซาวข้าวที่มีอาการแสดงของการขาดน้ำ เช่น อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ ปากคอแห้ง หน้ามืด เป็นต้น ดังนั้น สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียแบบถ่ายเหลวไม่มีเลือดปน และไม่มีอาการขาดน้ำ ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ
หากท้องเสียติดต่อกัน 2-3 วันอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ที่แสดงถึงอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะมีสีเข้ม อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ เมื่ออุจจาระมีเลือดปนหรือออกสีดำ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการปวดท้องมาก หรือปวดบริเวณทวารหนัก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ท้องเสียแบบนี้ทารกในครรภ์จะเป็นอันตายหรือไม่
น.พ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์ กล่าวว่า ท้องเสียไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เพราะเชื้อโรคทั้งหลายอยู่เฉพาะในลำไส้เท่านั้น จะมีผลแค่ทำให้ลูกดิ้นมากผิดปกติเท่านั้นเอง เนื่องจากมดลูกถูกรายล้อมรอบด้วยลำไส้ เมื่อท้องเสีย ลำไส้จะบีบตัวเสียงดังโครกคราก เสียงอาจจะรบกวนการนอนของเจ้าหนูเท่านั้นเอง แต่ไม่มีอันตรายต่อทารกอย่างแน่นอน หน้าร้อนเช่นนี้แล้ว แม่ท้องควรระมัดระวังในเรื่องของอาหารนะคะ เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องเดินได้ ควรปฏิบัติ ดังนี้ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” รับรองว่าปลอดภัยจากท้องเสียแน่นอน
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://haamor.com
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th
https://www.dumex.co.th
https://www.doctor.or.th
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แม่ท้องเสียหรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้หรือไม่?
อาการท้องเสียในเด็กจากโรคไทฟอยด์
คนท้องหิวบ่อย ทำไมคนท้องหิวบ่อย มาตอบข้อสงสัยให้แม่ท้องกันเถอะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!