ก่อนฝากลูกให้ “ปู่ย่าตายาย” เลี้ยง เช็คก่อนสายไป อันตรายจากญาติผู้ใหญ่
ก่อนฝากลูกให้ “ปู่ย่าตายาย” เลี้ยง เช็คก่อนสายไป อันตรายจากญาติผู้ใหญ่ แม้ว่าคนสมัยใหม่จะนิยมการฝากเลี้ยงที่เนิสเซอรี่บ้างแล้ว แต่สำหรับพ่อแม่บางครอบครัว การฝากลูกไว้กับคนที่อุ่นใจที่สุดก็คือ ปู่ย่า หรือ ตายาย แต่รู้ไหมว่า ข้อเสียก็มีอยู่นะคะ
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนฝากลูก
แม้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจะวางใจกับการฝากลูกๆ ไว้กับปู่ย่าตายาย ในช่วงเวลาที่ทั้งคู่ไปทำงานและช่วงหลังที่ลูกเลิกเรียนนั้น หากเป็นปู่ย่าตายายที่มีแนวทางการเลี้ยงลูกไปในแนวเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ ถือว่าโชคดีมากๆ เลยนะคะ แต่ถ้าไม่ใช่ คงปวดหัวไม่น้อยเลยละค่ะ แต่ข้อห้ามแบบไหนกันบ้าง ที่ถ้าปู่ย่าตายายทำแบบนี้ ส่งผลเสียแน่ๆ กับลูกของเรา
1.บังคับให้กินหมดจาน
ไม่ใช่เรื่องที่ดีงั้นเหรอ จริงๆ ต้องบอกว่าอาจจะเป็นเรื่องที่ดีในสายตาหลายๆ คน เพียงแต่ว่าผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า วิธีการนี้เด็กๆ จะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงจะกินพออิ่ม และนั่นก็จะนำไปสู่การมีน้ำหนักเกินในเด็กๆ ได้ต่อไปค่ะ
2.สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ แม้ไม่ได้สูบต่อหน้าก็ตาม ยังมีบุหรี่มือสองและมือสามที่ต้องระวังอีกนะคะ เพราะแม้ไม่ได้สูบต่อหน้า หรือเอาลูกหลานไปนั่งดมควัน แต่บุหรี่มือสามคือควันบุหรี่ที่ติดอยู่บนเสื้อ มือและเนื้อตัวต่างๆ ก็ทำอันตรายต่อเจ้าตัวเล็กเช่นเดียวกันค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้
เอาแม่เลียงลูก หรือปล่อยให้ตายายเลี้ยงแทนดี
3.ป้อนอาหารก่อน 6 เดือน
เป็นที่รู้กันนะคะว่าการป้อนอาหารเสริม ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ก่อนเด็กๆ อายุ 6 เดือนนั้น ทำให้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตจากหลากหลายสาเหตุค่ะ เช่น การทำงานของอวัยวะภายในของเด็กๆ ยังไม่สมบูรณ์ เช่น ลำไส้ และความปลอดภัยของอาหาร ดังนั้นเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ไปทำงาน ควรคุยกับปู่ย่าตายายให้ชัดเจน ว่าหลับหลังจะไม่ทำในสิ่งที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ค่ะ
4.ให้หลานกินเหล้าเบียร์
แม้ว่าคนเฒ่าคนแก่จะมองว่า ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เจ้าตัวเล็ก หายงอแงยามที่ปวดเหงือก ฟันจะขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยได้ เช่น ผ้าสะอาดแช่แข็ง หรือยางกัด ที่สะอาด ปลอดภัย และไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพของลูกค่ะ การให้เด็กๆ กินแอลกอฮอล์นั้นจะทำให้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง สมองและตับเสื่อมลง
5.ขี้ลืม
อาการขี้ลืมไม่ผิดค่ะ เกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ แต่มันก็เป็นเรื่องที่เสี่ยงเอามากๆ หากปู่ย่าตายายจะลืมเด็กๆ เอาไว้ในรถ ในเมืองไทยที่อุณหภูมิสูงมากๆ เพียงแค่ไม่กี่นาที เด็กๆ อาจจะอยู่ในอาการโคม่าได้เลยนะคะ ดังนั้นควรมีวิธีรับมือกับเรื่องนี้ด้วย หากจะให้ปู่ย่าตายายดูลูกให้
6.ตีหลาน
แม้ว่าการเลี้ยงลูกแบบเก่าๆ จะพึ่งพาการตีเพื่อลงโทษ ในความเชื่อที่ว่า ไม้เรียวสร้างคน แต่ในหลายๆ งานวิจัยที่ยาวนานถึง 50 ปี นั้นพบว่า เด็กๆ จำนวน 150,000 คน ที่เคยถูกลงโทษด้วยการตี มีนิสัยที่ก้าวร้าวและต่อต้านสังคม มีปัญหาสุขภาพจิต และความภาคภูมิใจ นับถือ และพึงพอใจในตัวเองต่ำ ซึ่งจะทำให้มีปัญหาอื่นตามมาอีกด้วยค่ะ เพราะยังไงความรุนแรงก็คือความรุงแรง แม้ว่าจะเรียกด้วยชื่อที่สวยหรูหรืออ้างเหตุผลใดมารองรับก็ตาม
7.ให้หลานนอนคว่ำ
ในวัยทารกนี้ ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดคือท่านอนหงายค่ะ เพราะหากให้เด็กๆ นอนคว่ำ มีการเก็บข้อมูลว่าทำให้เด็กๆ เสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าการนอนหงานถึง 13 เท่า หรือคิดเป็น 90% เลยทีเดียวนะคะ
เอาแม่เลียงลูก หรือปล่อยให้ตายายเลี้ยงแทนดี
8.ให้หลานอาบน้ำเย็นตอนไข้ขึ้น
ความเข้าใจผิดว่า หากมีไข้ ให้อาบน้ำเย็นนั้น อันตรายมากค่ะ เนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกลดลงมากเกินไป ทางที่ดีที่สุดคือเช็ดตัวให้ไข้ลดลง และพาไปหาหมอเพื่อฉีดยาหรือรับยาในขนาดที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ในวัยนี้ และไม่ควรซื้อยากินเอง หรือเอายาของผู้ใหญ่มาให้เด็กๆ กินนะคะ
9.ใช้เนยหรือยาสีฟัน ทาแผลไหม้หรือโดนลวก
เป็นอีกหนึ่งความเชื่อผิดๆ ที่เชื่อว่ายาสีฟันหรือเนยรักษาแผลเหล่านี้ได้ อาจจะทำให้ผิวหนังของเด็กๆ เสียหายมากขึ้นได้ ทางที่ดีที่สุดคือ เปิดน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำเย็นหน่อย ให้ไหลผ่านบริเวณนั้น เพื่อช่วยให้ผิวหนังเย็นลง ไม่ควรใช้น้ำแข็งหรือน้ำใส่น้ำแข็ง เพราะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากเกินไป จะทำให้ผิวหนังโดนรบกวนมากเกินไปและเกิดความเสียหายมากขึ้นไปอีกค่ะ
10.ใช้ผ้าชุบฉี่มาเช็ดลิ้น หรือกวาดคอ
เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าหรือลิ้นขาว จะหายเองเมื่ออายุลูกมากขึ้นค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ฉี่เช็ดหรือกวาดคอนั้น นอกจากจะทำให้ลูกติดเชื้อได้แล้ว ยังทำให้อาการยิ่งแย่ลงไปอีกได้ค่ะ หากไม่แน่ใจว่าเป็นคราบนมหรือเชื้อรา ควรพาเด็กๆ ไปพบคุณหมอดีกว่านะคะ
ที่มา whattoexpect
บทความที่น่าสนใจ
ลูกอักเสบติดเชื้อเกือบช็อก เพราะโดนกวาดยา
หดหู่! พิษโควิดคร่าชีวิต ยายตายคาบ้าน หลานสองคนนั่งเฝ้าศพ
เดี๋ยวก็ให้ป้อนน้ำ เดี๋ยวก็ให้ป้อนกล้วย! รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!