เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมากในอัตรา 1: 80,000 เมื่อคุณแม่ท่านนี้ได้ คลอดลูกแฝด ที่เกิดออกมาพร้อมถุงน้ำคร่ำสมบูรณ์ หรือ “en caul” โดยช่างภาพที่ชื่อว่า Robin Baker ได้ทำการถ่ายภาพสุดประทับใจในการคลอดลูกครั้งนี้ที่นับว่าหาดูได้ยากสุด ๆ
โดยช่างภาพผู้มีประสบการณ์ได้เคยเข้าไปเก็บภาพในเหตุการณ์การคลอดมาแล้วกว่า 70 ครั้ง และครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อสุด ๆ อีกเรื่องหนึ่งที่เขาได้ถ่ายภาพสุดประทับใจนี้ไว้ได้
คุณแม่ท่านนี้ได้เลือกที่จะคลอดลูกในน้ำ ฝาแฝดคนแรกได้ออกมาก่อนที่แฝดคนที่สองจะออกห่างกันถึง 30 นาที ซึ่งแฝดน้องคนนี้แหละที่ออกมาพร้อมถุงน้ำคร่ำสมบูรณ์ที่พ่อของเขาได้รองรับเองกับมือ
“มันเป็นเรื่องที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า ลูกจะออกมาพร้อมกับถุงน้ำคร่ำที่สมบูรณ์จนเราได้เห็นนี่แหละ”
โดยคุณแม่ได้ใช้เล็บเจาะถุงน้ำคร่ำออกเบา ๆ ให้แฝดผู้น้องได้ออกมาอย่างปลอดภัย และมีทีมแพทย์ที่มาถึงรับหน้าที่ดูแลคุณแม่และลูกๆ ต่อไป
ปกติแล้วการคลอดลูกแฝดเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนไว้เป็นอย่างดี แต่สำหรับเรื่องคลอดลูกแฝดในน้ำถือเป็นเรื่องที่พิเศษสุดก็ว่าได้
Robin Baker เป็นช่างภาพที่เพิ่งได้รับรางวัลทรงเกียรติ “Best In Category: Delivery” จาก International Association of Birth Photographers ประเภทภาพถ่ายเกี่ยวกับการคลอดลูก
ขอแสดงความยินดีกับครอบครัว คลอดลูกแฝด ที่คู่แฝดทั้งสองออกมาลืมตาดูโลกได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่ลูกนะค่า
ฝาแฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร
หากคุณแม่ต้องการศึกษาวิธี ทำ ลูกแฝดอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าฝาแฝดเกิดขึ้นได้อย่างไรโดยปกติจะมีฝาแฝด 2 แบบค่ะ คือแฝดแท้ และ แฝดเทียม แฝดแท้คือแฝดเหมือนที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่หนึ่งฟอง และ สเปิร์มหนึ่งตัว ตัวอ่อนแบ่งออกเป็นสองส่วนที่มีลักษณะเหมือนกันทุอย่าง แฝดแท้จะอยู่ในรก และ ถุงน้ำคล่ำเดียวกันด้วยค่ะ ส่วนแฝดเทียมคือแฝดที่เกิดจากการปฏิสนธิไข่ 2 ฟองและสเปิร์ม 2 ตัวนะคะ ตัวอ่อนทารกต่างฝังในมดลูก และ เติบโตในรกของตัวเอง โดยแฝดเทียมจะไม่เหมือนกัน 100 % แบบแฝดแท้ อาจจะเป็นคนเพศกันก็ได้ หน้าตารูปร่างจะดูคล้ายกันเหมือนเป็นพี่น้องที่คลอดตามกันมาแบบปกติ
การตั้งครรภ์ลูกแฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร
คุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้โดยไม่มีประวัติครอบครัวให้กำเนิดฝาแฝดมาก่อนนะคะ ถ้าไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์แล้ว ฝาแฝดทั้งหมดที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ จะเป็นแฝดต่างไข่ค่ะ การท้องแฝดตามธรรมชาติเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
• คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากมีโอกาสท้องลูกแฝดมากกว่าแม่อายุน้อย เป็นเรื่องธรรมดาของคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปีค่ะ เนื่องจากผู้หญิงวัยใกล้หมดประเดือนมักจะเกิดการแปรปรวนของฮอร์โมน มีการตกไข่มากกว่าหนึ่งฟอง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงช่วยกระตุ้นการตกไข่ด้วย แต่มีโอกาสเกิดเฉพาะแฝดเทียมเท่านั้นนะคะ
• คุณแม่ที่ใช้ยารักษาภาวะมีบุตรยาก จะกระตุ้นให้ไข่ตกมากกว่าหนึ่งฟอง หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นวิธี ทำ ลูกแฝดที่นิยมกันเพราะมีโอกาสสำเร็จสูงค่ะ
• จากกรรมพันธุ์จะมีโอกาสทำให้ตั้งครรภ์แฝดสูง ถ้าครอบครัวมีประวัติท้องแฝด คุณแม่ก็มีแนวโน้มที่จะมีลูกแฝดได้ค่ะ
• คุณแม่ที่มีลูกมาแล้วหลายคน ยิ่งทำให้มีไข่ตกมากขึ้น มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดง่ายขึ้นค่ะ
• เกิดการตั้งครรภ์ระหว่างกินยาคุมกำเนิด มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้เหมือนกันนะคะ
• คุณแม่ที่วางแผนตั้งครรภ์ทันทีหลังหยุดกินยาคุมกำเนิด เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัวภายใน 2 เดือนแรก จะขับฮอร์โมนมากกว่าปกติทำให้ตกไข่มากขึ้น มีโอกาสเกิดครรภ์แฝดสูงมากเลยค่ะสำหรับช่วงเวลานี้
• คุณแม่ที่เคยท้องลูกแฝดมาก่อน เป็นไปได้ที่จะมีลูกแฝดอีกนะคะ
• คุณแม่ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แทนที่จะลดลง ทำให้มีดัชนีมวลกายสูงขึ้น (BMI) นักวิจัยบางท่านอ้างว่า ผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาในแง่สุขภาพที่ดีระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมีดัชนีมวลกายประมาณ 20-25 หากมีมากถึงระดับ 30 ถือว่าอยู่ในข่ายน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์
• ผู้หญิงรูปร่างสูงมีแนวโน้มตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น
• คุณแม่ที่อยากมีลูกแฝดควรเริ่มรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกอย่างน้อย 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เป็นคำแนะนำทั่วไปสำหรับคุณแม่ที่วางแผนจะมีน้องค่ะ
• คุณพ่อที่อยากมีลูกแฝดควรรับประทานหอยนางรม เชื่อกันว่าเป็นยาโป๊เพิ่มพลังทางเพศ เพราะหอยนางรมอุดมด้วยแร่ธาตุสังกะสีช่วยให้อสุจิแข็งแรงว่ายเข้าไปเจาะไข่ได้มากกว่าหนึ่งฟอง โดยเฉพาะในช่วงไข่สุกควรรับประทานอาหารเสริม ผักใบเขียว ซีเรียล ขนมปังเมล็ดธัญพืช และจมูกข้าวสาลีช่วยเพิ่มโอกาสมีลูกแฝดได้ค่ะ
• ตัวคุณแม่เองมีฝาแฝดหรือมีพี่น้องเป็นฝาแฝด จะมีโอกาสท้องลูกแฝดตามกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดกันทางฝ่ายแม่เท่านั้น ในขณะเดียวกันหากคุณพ่อมีกรรมพันธุ์แฝดอาจถ่ายทอดไปยังลูกสาวในอนาคตได้เช่นกันค่ะ • อาหารมีส่วนกระตุ้นให้ไข่ตกหลายฟองด้วยนะคะ เช่น มันเทศ มันสำปะหลัง และอาหารที่มีกรดโฟลิค กระตุ้นการทำงานของรังไข่และเป็นสาเหตุให้คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝดมากขึ้น
• คุณแม่ที่ยังให้นมแม่กับลูกคนปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง จนถึงเวลาที่วางแผนจะมีลูกคนที่สองร่างกายของคุณแม่จะผลิตฮอร์โมนโรแลคตินเพื่อผลิตน้ำนมเลี้ยงทารก จะมีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้ให้นมลูกในช่วงนั้นนะคะ แม้ว่าผู้หญิงบางคนจะไม่มีไข่ตกและไม่มีรอบเดือนตลอดเวลาที่ให้นมลูก การตั้งครรภ์แฝดในช่วงนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะบุคคลเท่านั้นค่ะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
Credit content :
www.buzzfeed.com
https://www.huggies.co.th/th-th/getting-pregnant/get-ready-for-your-child/how-to-have-twin
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
แม่คลอดลูกแฝดที่เกิดจากถุงน้ำคร่ำเดียวกัน (Momo Twins)
ภาพนาทีชีวิต ทารกคลอดก่อนกําหนดออกมาทั้งถุงน้ำคร่ำ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!