TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สิวในเด็กทารก อีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล !

บทความ 5 นาที
สิวในเด็กทารก อีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล !

เราอาจจะคุ้นชินว่า “สิว” สามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะช่วงวัยรุ่นเท่านั้น แต่จริง ๆ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะในช่วงวัยทารกแรกเกิดก็สามารถเกิดสิวได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราจะเรียกกันว่า สิวในเด็กทารก นั่นเอง โดยเป็นปัญหาของผิวทารกที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และไม่ได้เป็นอันตราย คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ

 

สิวในเด็กทารก คืออะไร ?

สิวทารก หรือ Infantile Acne นับเป็นปัญหาผิวทารกชนิดหนึ่ง ลักษณะคือเป็นตุ่มขึ้นตามใบหน้า สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงทารกแรกคลอดตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์แรกเลยค่ะ และพบมากกว่า 20% เด็กทารกส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาสิวนี้ มักเกิดในทารกเพศชายมากกว่าทารกเพศหญิงค่ะ

 

ลักษณะของสิวทารกที่พบได้บ่อย

  • มีตุ่มสีแดง ตุ่มนูนกลม เล็ก เป็นสีเดียวกับผิวหนัง บางรายมีลักษณะสิวอุดตันหัวปิดสีขาวคล้ายกับสิวผู้ใหญ่

  • เป็นสิวหัวเปิด มีตุ่มแดงและอาจเป็นจุดดำอยู่ตรงกลาง

  • มีการเกิดการอักเสบแดง เป็นตุ่มหนอง

ลักษณะพบได้บ่อยตามบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น จมูก หน้าผาก แก้ม และคางของเด็กทารก นอกจากนี้ยังสามารถอาจจะมีการลุกลามไปถึงผิวหนังส่วนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

สิวในเด็กทารก

 

สาเหตุของการเกิด สิวในเด็กทารก

สิวในเด็กทารก เชื่อว่าเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นชั่วคราวทั้งที่ได้รับจากมารดาหรือจากตัวทารกเอง โดยฮอร์โมนนั้นจะเป็นตัวที่ไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันของเด็กทารกให้ทำงานมากกว่าปกติสิวในเด็กทารกมักจะพบได้ประมาณ 20 % ของเด็กทารก โดยจะพบในทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สิวในเด็กทารกนั้น เป็นอะไรที่ สร้างความกังวลใจ ให้กับคุณพ่อ และคุณแม่ เป็นอย่างมาก โดยคุณพ่อ คุณแม่บางคน พบอาการตุ่มขึ้นเล็ก ๆ บริเวณใบหน้า หลังจากพาลูกน้อย กลับมาที่บ้านแล้ว 2 – 3 สัปดาห์ โดยจะมี อาการคล้าย ๆ สิว ซึ่งอาการที่พบนั้น อาจมีลักษณะเหมือน สิวอุดตัน โดยจะมีลักษณะเป็น ตุ่มเล็กสีขาวที่บริเวณใบหน้า แก้ม จมูก หรือหน้าผาก หรือ อาจมีลักษณะเป็นสิวอักเสบ โดยจะมีลักษณะเป็น ตุ่มสีแดง หรือ ตุ่มหนอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : สิวในทารกแรกเกิด ใช่โรคผิวหนังหรือเปล่า?

 

ข้อควรระวัง

คุณไม่ควรบีบหรือแกะสิวบนใบหน้าของลูกน้อยเป็นอันขาดเพราะมันไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการหรือทำให้ลูกหายเป็นสิวเร็วขึ้นเลย แต่มันกลับจะทำให้อาการแย่ลงไปอีก อีกทั้งยังอาจทำให้ทารก เกิดอาการติดเชื้อ และ อาจจะทำให้ลูกเป็นแผลเป็นอีกด้วย

 

วิธีการดูแลรักษาสิวทารกให้หายขาด

อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นนะคะ สิวของทารกนั้นสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องรอให้ฮอร์โมนของลูกน้อยปรับสมดุลอะไรเลยค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลผิวลูกน้อยทารกให้กลับมาเรียบเนียนได้ และหายขาดจากสิวทารกได้แน่นอน แบบไม่กลับมาเป็นซ้ำด้วย ดังนี้

  • ห้ามบีบสิว หรือแกะเกาสิวลูกน้อยเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้ผิวอักเสบมากยิ่งขึ้น แถมยังเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้นด้วยค่ะ ทำให้หน้าเกิดรอยแผลเป็น และรอยแดงจากสิวได้เหมือนผู้ใหญ่ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องคอยระวังไม่ให้ลูกน้อยเอามือเกาบริเวณที่เป็นสิวด้วยค่ะ

  • ดูแลทำความสะอาดผิวของลูกน้อย เน้นบริเวณที่เป็นสิวทารกค่ะ ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้สำลีชุบน้ำ และค่อย ๆ เช็ดทำความสะอาดผิวบริเวณที่เป็นสิวโดยรอบให้สะอาด เพราะถ้าไม่ทำความสะอาดผิวให้ดี อาจจะทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองเพิ่มมากขึ้นได้ค่ะ

 

สิวในเด็กทารก

 

  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวเด็กทารก ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก ๆ เลยค่ะ เพราะผิวของเด็ก ๆ ยังบอบบางอยู่ จึงจำเป็นต้องเลือกที่ไม่มีซิลิโคน เพราะทำให้เกิดผิวอุดตัน ทำให้ทารกเป็นสิวได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ แถมยังทำให้ผิวระคายเคืองได้ง่ายมากกว่าเดิม แนะนำให้เลือกสูตรที่มี pH5.5 เนื่องจากใกล้เคียงกับผิวทารกสูงสุด แถมยังอ่อนโยนด้วยค่ะ

  • เลือกใช้ครีมเด็กที่มี Anti – inflammation หรือ Anti – irritation เพื่อช่วยลดอาการอักเสบของสิว แถมยังช่วยลดการระคายเคืองอีกด้วย และจะยิ่งดีขึ้นไปอีก หากเลือกครีมที่มีเซรามายด์ และกรดอะมิโนเสริมด้วย เพราะมันช่วยทำให้ชั้นผิวของลูกน้อยแข็งแรง ไม่เกิดการระคายเคือง หรือเกิดการแพ้ง่ายนั่นเองค่ะ

  • ไม่ใช้ยารักษาสิวผู้ใหญ่กับทารก เนื่องจากฤทธิ์ของยารักษาสิวผู้ใหญ่ค่อนข้างแรง ทำให้ผิวบอบบางได้ง่าย และทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น แถมยาบางชนิดอาจจะทำให้ผิวของลูกน้อยไหม้ได้เลยค่ะ เป็นผื่นแดง ผิวเบิร์นแดงได้เลยทีเดียว

 

ทำไมทารกถึงเป็นสิวได้

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดสิวในทารก แต่ก็มีการศึกษาหลายชิ้นที่ระบุเอาไว้ว่าสิวในทารกอาจเกิดจากสาเหตุ ได้แก่

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

1. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่ไปกระตุ้นต่อมไขมันในร่างกายของทารก ส่งผลให้ทำงานมากกว่าปกติจนเกิดสิว โดยจะเกิดสิวในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอดเท่านั้น เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง สิวก็จะหาย และผิวของลูกก็จะกลับมาเป็นปกติเองค่ะ

 

สิวในเด็กทารก

 

2. การใช้ยาบางประเภท

การใช้ยาบางประเภทของคุณแม่ไปกระตุ้นการเกิดสิวในทารกผ่านการให้น้ำนมแม่ ซึ่งสารในตัวยาอาจเข้าสู่ร่างกายของลูกผ่านน้ำนมแม่ และทำให้เกิดสิวค่ะ

 

3. การแพ้สารบางอย่าง

ทารกอาจจะแพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีสารอันตราย เช่น มิเนอรัลออยล์ ที่อาจไปอุดตันรูขุมขนของลูก ทำให้เกิดสิวบริเวณแก้มและใบหน้า

 

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน อาจจะตกใจเป็นอย่างมากแต่การที่ทารกเป็นสิวนั้น ไม่ใช่โรคผิวหนัง แต่เป็นกลไกตามธรรมชาติเรื่องการผลิตฮอร์โมนและสิวในเด็กทารกจะหายเองได้ แต่อย่าเผลอไปบีบสิวให้ลูกน้อยเข้าเชียว และที่สำคัญคือคุณควรดูแลรักษาความสะอาดทารกให้ถูกวิธีและทำตามคำแนะนำที่คุณหมอบอกไว้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สิวทารกแรกเกิด เกิดจากอะไร อันตรายไหม พ่อแม่ต้องจัดการอย่างไร

ลูกเป็นสิว มีวิธีรักษาอย่างไร ทั้งสิวเด็กเล็ก สิวเด็กในวัยเรียน

เป็นสิวตอนท้อง ทำอย่างไรดี วิธีรักษาสิวตอนท้องแบบได้ผลจริง!

ที่มา : motherhow, regagar, motherhood

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • สิวในเด็กทารก อีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล !
แชร์ :
  • เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

    เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

    เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว