ลูก 2 ขวบสะอึกบ่อย เพราะอะไร ? อาการสะอึก เกิดจากอะไร?
ลูก 2 ขวบสะอึกบ่อย เพราะอะไร ? อาการสะอึก เป็นอาการหายใจเข้าอย่างแรงที่เกิดจากกล้ามเนื้อหายใจ ได้แก่ กะบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครงหดตัวอย่างรุนแรง มีการหดเกร็งตัวเป็นจังหวะ ทำให้การหายใจเข้าต้องหยุดชะงักด้วยการปิดของช่องสายเสียง ซึ่งเกิดตามหลังการเริ่มหายใจเข้า อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้น
สาเหตุที่ทำให้สะอึก แบ่งเป็น 4 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่
- การผิดปกติที่กะบังลม หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้กะบังลม ได้แก่ หลอดอาหาร ปอด เส้นประสาทกะบังลม เช่น หลอดอาหาร เกิดจาก การกลืนอาหารอย่างรีบร้อน อาหารติดคอ กลืนลำบาก, ปอดอักเสบติดเชื้อ หรือมีเลือดออกในปอดและช่องอก เส้นประสาทกะบังลมมีการระคายเคือง เช่น จากการผ่าตัดช่องอก การอักเสบของช่องอก
- ความผิดปกติในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบเฉียบพลัน กระเพาะหรือลำไส้อุดตันหรือไม่ทำงาน ตับอ่อนอักเสบ สาเหตุที่พบบ่อยของอาการสะอึกในทารกปกติก็เกิดจากสาเหตุในกลุ่มนี้ เนื่องจากกระเพาะอาหารขยายตัวจากการที่นมเข้าไปอยู่เต็มทำให้เกิดแรงดันไปยังกล้ามเนื้อกะบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างปอด และช่องท้อง ทำให้กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็ว
- ความผิดปกติที่สมอง เช่น กะโหลกศีรษะแตก สมองถูกกระทบกระเทือน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีผลต่อศูนย์การสะอึกในสมองซึ่งให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติของกะบังลม จนเกิดเป็นอาการสะอึก
- สภาวะจิตใจ เช่น ภาวะเครียด กังวล การแกล้งทำ เป็นต้น อาการสะอึกที่เกิดจากการจิตใจจะหายไปในขณะหลับและในขณะที่คนไข้อยู่คนเดียว
หากลูกมีอาการสะอึกควรทำอย่างไร?
หากลูกมีอาการสะอึก โดยทราบสาเหตุ ควรกำจัดสาเหตุนั้นก่อน เช่น ถ้าสงสัยว่าสะอึกจากอาหารติดคอก็ให้ดื่มน้ำช้าๆจนหาย หากไม่ทราบสาเหตุอาจลองใช้วิธีการต่างๆ เช่น
กลืนน้ำติด ๆ กันไปเรื่อย ๆ หรือกลั้นหายใจจนอาการสะอึกหาย, ทำให้จาม, ทำให้โกรธ กลัว ตื่นเต้น หรือเกิดอารมณ์รุนแรงอื่น ๆ อาจจะหยุดอาการสะอึกได้ โดยทั่วไปอาการสะอึกมักเกิดขึ้นไม่นาน เช่น ไม่กี่นาที แล้วก็จะหายเป็นปกติ แต่ถ้าสะอึกเป็นเวลานานหลายชั่วโมงก็อาจพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษา
หากลูกสะอึกร่วมกับมีอาการผิดปกติ ที่ดูรุนแรงอื่น เช่น ไข้สูง ปวดท้องมาก อาเจียนมาก ไอมาก หายใจเหนื่อย เจ็บอก ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ เพราะอาการสะอึกนั้นอาจมีสาเหตุมาจากโรคที่รุนแรง ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนนะคะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สอนลูกล้างมือยังไง ให้ห่างไกลโนโรไวรัส
ระวังเด็กเล็กติดเชื้อไรโนไวรัส ก่อน 2 ขวบ เสี่ยงเป็นหอบหืดหรือภูมิแพ้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!