วิธีใช้ ยาหยอดหู หยอดอย่างไรให้ถูกต้อง พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของหู

ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องหูของทารกมีหลากหลายปัญหา เช่น ปัญหาหูอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับขี้หูอุดตัน สำหรับทารกแล้วจะทำสิ่งใดกับหูก็แล้วแต่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ยาหยอดหูทารก ติดตามอ่าน วิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้อง

ยาหยอดหู  มีประโยชน์ในการรักษาการอักเสบของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง รวมทั้งการอุดตันของขี้หู การที่เราจะสามารถเลือกยาหยอดหูที่เหมาะสมกับโรค จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชนิดและส่วนประกอบของ ยาหยอดหู รวมทั้งโรคทางหูอย่างถูกต้อง

 

ความผิดปกติของหูที่มักพบในเด็ก

ยาหยอดหู

1. ขี้หูอุดตัน (Impact cerument) ขี้หู ทำหน้าที่คอยปกป้องหูและจะมีการขจัดออกได้เองตามธรรมชาติ  มีบางครั้งที่ขี้หูจะจับตัวกันมากเกินไป  จนเกิดขี้หูอุดตันจนทำให้ลูกได้ยินไม่ถนัด  ขี้หูอุดตันแบบนี้คุณแม่ห้ามแคะนะคะอันตรายอาจทำให้หูอักเสบได้และที่สำคัญลูกจะเจ็บมากค่ะ

 

การรักษา

ยาหยอดหูที่ทำให้ขี้หูอ่อนนุ่มลง และสามารถกำจัดออกได้ง่าย เช่น  ดอกคิวเสท  โซเดียม (Docusate sodium) 0.5% กลีเซอรีน  (Glycerin) หรืออาจใช้น้ำมันมะกอก (Olive Oil) หยอดหูครั้งละ 5 หยด และใช้สำลีอุดหูไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือข้ามคืน  ทำซ้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน  ขี้หูที่อัดแน่นอยู่จะอ่อนตัวและไหลออกมา ถ้าขี้หูไม่ออกควรไปพบคุณหมอเพื่อใช้เครื่องมือช่วยดูดขี้หูออกนะคะ  ที่สำคัญห้ามเด็ดขาดคือ การน้ำประปาหยอดหู เพราะจะทำให้อักเสบติดเชื้อได้ค่ะ อันตรายนะคะอย่าทำ !!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ  บรรเทาอาการปวดศีรษะ-ปวดหูให้ลูก

 

ยาหยอดหู

2. หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis External) เกิดจากหูได้รับการรบกวนจากการกระทำต่าง ๆ เช่น การแคะหู น้ำเข้าหูบ่อย ๆ ทำให้เกิดความชื้นขึ้นในหู  หรือจากผื่นแพ้ในช่องหู  ทำให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเจริญเติบโต  ลูกมักจะมีอาการปวดหู  หากเป็นมากอาจมีน้ำหนองไหลออกจากหูได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษา

ต้องทำให้ช่องหูแห้งเสียก่อน โดยการใช้สำลีพันก้านเช็ดบริเวณรอบ ๆ หู และในช่องหูอย่าเช็ดเข้าไปลึกมากนะคะ  การเช็ดเช่นนี้จุดประสงค์ เพื่อทำให้หูของลูกแห้ง  ใช้ยาหยอดหูที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ และต้านการอักเสบที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์  หากมีอาการมากจำเป็นการรับประทานยาเพื่อต้านเชื้อที่เกิดขึ้น

3. หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media) เป็นการอักเสบบริเวณระหว่างแก้วหูกับหูชั้นใน มักเกิดจากหลังเป็นหวัด ทำให้เกิดของเหลวขึ้นที่หูชั้นกลาง ซึ่งปกติจะเป็นโพรงอากาศ แต่เมื่อลูกจามหรือสั่งน้ำมูกรุนแรง  เชื้อโรคจะแพร่เข้าไปและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในหูชั้นกลางได้  มักจะเกิดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เพราะความลาดชันในช่องหูของเด็กยังมีน้อย  ดังนั้น  เชื้อจึงแพร่กระจายขึ้นไปได้ง่าย  ลูกจะมีอาการปวดหู  หูอื้อ  มีไข้  ร้องโยเย  และไม่ค่อยได้ยินเสียง

บทความแนะนำ  อันตราย!! ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

 

การรักษา

อาการเช่นนี้ ต้องพาลูกไปพบคุณหมอเท่านั้น  เพื่อรับยาต้านเชื้อโรคมารับประทาน  ยาแก้ปวด และยาหยอดหู หรือทานยาลดอาการหูอื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประเภทของยาหยอดหู

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ประเภทของยาหยอดหู มีแบบไหนบ้าง ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ยาต้านจุลชีพและยาต้านเชื้อรา

ใช้ในรักษาอาการอักเสบของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง รวมไปถึงเชื้อราในหู ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการที่น้ำเข้าหูระหว่างอาบน้ำหรือว่ายน้ำแล้วไม่ได้เช็ดให้แห้ง ทำให้หูเกิดการอักเสบ ปวด คัน และอาการบวมตามมาค่ะ

2. ยาต้านการอักเสบชนิดสเตียรอยด์

ยาประเภทนี้ใช้สำหรับรักษาอาการอักเสบและอาการบวม สาเหตุมาจากการอักเสบหรือการติดเชื้อภายในหู โดยยาหยอดหูบางชนิดอาจมีทั้งยาต้านจุลชีพและยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อยู่ด้วยกัน ซึ่งในบางกรณี ตัวยาหยอดหูคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถนำมาใช้รักษากับอาการคันหูที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้อีกด้วย

3. ยาแก้ปวด

ยาชนิดนี้ใช้ในการรักษาอาการปวดหู สาเหตุมาจากการอักเสบและติดเชื้อภายในหู โดยทั่วไปจะถูกใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ นอกจากนี้ ยาแก้ปวดหูบางชนิดมักมีการผสมยาต้านจุลชีพร่วมด้วย มีส่วนช่วยในการลดการระคายเคืองจากยาต้านจุลชีพ

4. ยาละลายขี้หู

ยาชนิดนี้ช่วยรักษาอาการขี้หูอุดตัน ตัวยาจะไปช่วยทำให้ขี้หูอ่อนนุ่ม ทำให้สามารถเอาออกจากรูหูได้ง่ายขึ้น ยาประเภทนี้มี 3 แบบค่ะ คือ แบบน้ำ แบบไม่ใช่น้ำ และรูปแบบน้ำมัน

 

วิธีการใช้ยาหยอดหู

  • ทำความสะอาดบริเวณใบหู ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำและเช็ดใบหูให้แห้ง
  • กำขวดยาไว้ในอุ้งมือ 2 – 3 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิยาให้ใกล้เคียงกับร่างกาย
  • หากยาที่ใช้หยอดหูมีลักษณะเป็นน้ำแขวนตะกอน ให้เขย่าขวดก่อนใช้ประมาณ 10 วินาที
  • ให้ลูกนอนตะแคงหรือเอียงหูให้ด้านที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน
  • เวลาหยอดยา คุณแม่ควรจับใบหูของลูกดึงเบา ๆ ลงด้านล่างและเยื้องไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ใช้มืออีกข้างหนึ่งค่อย ๆ หยอดยา ตามจำนวนที่กำหนด ดูที่ฉลากยา ควรระวังไม่ให้ปลายหลอดหยดสัมผัสกับหู
  • เอียงหูข้างนั้นไว้ 2 – 3 นาที ให้น้ำยาไหลลงไปถึงแก้วหู อาจใช้สำลีอุดไว้
  • ปิดขวดยาให้เรียบร้อย คุณแม่ล้างมือให้สะอาดอีกครั้งค่ะ

บทความแนะนำ แพทย์เตือน!! อย่าใช้คอตตอนบัดปั่นหูลูก

 

ยาหยอดหู และยาหยอดตา  ใช้แทนกันได้หรือไม่

ปัจจุบันยาหยอดหูและยาหยอดตามีมากมายในท้องตลาด  โดยยาทั้ง 2 อาจทำมาจากตัวยาเดียวกันเพื่อต้องการผลการรักษาทำนองเดียวกัน  เช่น  มีตัวยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียชนิดเดียวกัน หรือมียาลดบวม ลดอักเสบพวกยาสเตียรอยด์   อีกทั้งรูปลักษณ์ขวดยาที่คล้ายกัน   ทำให้เกิดความสับสนในการใช้   แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ทุกกรณี   เนื่องจากคุณลักษณะของยาแตกต่างกัน  เช่น

  • ยาหยอดหูมีความเข้มข้นของตัวยา  และความหนืด มากกว่ายาหยอดตา
  • มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH ) แตกต่างกัน  โดย pH ของยาตาต้องเหมาะสมกับสารน้ำในลูกตา
  • ยาหยอดตาผลิตภายใต้สภาวะสะอาดปราศจากเชื้อ

คุณแม่ได้ทราบถึง อาการผิดปกติของหูลูกน้อยแล้วนะคะว่า หลัก ๆ จะมี 3 อาการ ได้แก่  ขี้หูอุดตัน  หูชั้นกลางอักเสบและหูชั้นนอกอักเสบ  รวมถึงวิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้องแล้วนะคะ  สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คลิปการใช้ยาหยอดหูทารก

อ้างอิงข้อมูลจาก

rcot.org, Pobpad

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดูแลสุขภาพหูลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี

โรคหูติดเชื้อในเด็ก

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง