ความกังวลใจว่า ลูกจะเมินเต้า เพราะ แม่หัวนมบอด หัวนมบุ๋ม เป็นหนึ่งในปัญหาหนักอก เนื่องจากส่งผลกระทบในการให้นมลูกน้อยโดยตรง โดยแต่ละคนจะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน แต่สามารถแก้ไขได้ โดยเริ่มจากขั้นง่ายที่สุดคือตนเอง ไปจนถึงการเข้ารับการผ่าตัดจากคุณหมอ ส่วนจะมีวิธีการปัญหา หัวนมบอด ยังไงบ้าง มาดูกัน
สาเหตุ ลูกเมินเต้า เพราะ แม่หัวนมบอด
หัวนมบอด เกิดจากผังผืดบริเวณท่อน้ำนมที่มาดึงรั้งหัวนมไม่ให้ชูชันขึ้นหรือโผล่ออกมา หรือฐานหัวนมน้อยเกินไป หรือท่อนมสั้นกว่าปกติ จึงทำให้ลูกน้อยดูดน้ำจากเต้าได้ยาก และอาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้หนูๆ ไม่อยากดูดนมแม่
บทความ : หัวนมบอด ให้นมลูกได้ไหม อยากให้ลูกได้ประโยชน์น้ำนมแม่ แต่กลัวลูกดูดไม่ได้ อดกินน้ำนมแม่
ระดับของหัวนมบอดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- หัวนมบอดระดับ 1 ระดับขั้นต้น (Inverted Nipples Grade 1) หัวนมเรียบหรือยุบตัวเข้าไปบางส่วน แต่สามารถ ใช้มือดึงออกมาได้ บางครั้งหัวนมจะยื่นออกมาถ้าได้เอง หากได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส หรือการดูด รวมทั้งอากาศที่เย็น ๆ ท่อน้ำนมไม่มีการรั้งตัว มีความสามารถให้นมบุตรได้
- หัวนมบอดระดับ 2 ระดับปานกลาง (Inverted Nipples Grade 2) หัวนมยุบตัวเข้าไป แต่ค่อนข้างยากลำบาก ในการดึงออกมา หรือถ้าดึงออกมาก็จะคงตัวอยู่ได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง แล้วหัวนมก็จะยุบตัว กลับเข้าไปอีกในทันที บางรายจะสามารถให้นมบุตรได้ แต่บางรายที่ท่อน้ำนมรัดตัวก็อาจจะไม่สามารถให้นมบุตรได้
- หัวนมบอดระดับ 3 ระดับรุนแรง (Inverted Nipples Grade 3) หัวนมยุบตัวเข้าไปทั้งหมดและ ไม่สามารถดึงออกมาได้ ท่อน้ำนมรั้งตัวและคดอยู่ข้างใน ทำให้อาจจะไม่สามารถให้นมบุตรได้เลย ผู้หญิงที่มีหัวนมบอดระดับรุนแรงนี้ อาจจะประสบปัญหาการติดเชื้อข้างในรูหัวนม มีอาการคัน หากทำความสะอาดรูหัวนม ไม่ดีพอเพียง มีลักษณะคล้ายๆ กับหลุมสะดือที่ลึกเข้าไป
วิธีการเช็คว่าหัวนมบอดหรือไม่
หัวนมบอด วิธีการง่ายสุดคือ ให้คุณแม่ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้จับตั้งแต่ลานนมขึ้นมา (บริเวณวงกลมสีดำรอบหัวนม) ถ้าพบว่าหัวนมโผล่ขึ้น แสดงว่าหัวนมคุณแม่ปกติ หากคีบแล้วหัวนมมีอาการแบนและบุ๋มหดเข้าไปข้างใน แสดงว่าหัวนมบอด แต่คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไป ลองเช็คอีกข้างโดยใช้วิธีการเดียวกัน ไม่แน่ว่าคุณแม่อาจจะเป็นแค่ข้างเดียวก็ได้
วิธีการแก้ปัญหา
ให้คุณแม่ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับด้านข้างของหัวนมที่ติดกับลานนม จากนั้นให้ดึงยืดขึ้นและค้างไว้ หรือจะนวดคลึงเบาๆ ทำซ้ำ ๆ ข้างล่ะ 10 ครั้ง วันละ 2 รอบ
เป็นการดึงรั้งหัวนมด้วยนิ้วมือ โดยเริ่มจากให้ใช้นิ้วชี้ทั้ง 2 ข้าง วางบริเวณขอบหัวนม ตามแนวขนานและตามแนวดิ่ง สลับกันไปมา จากนั้นใช้นิ้วชี้ทั้งสองค่อย ๆ กดและแยกออกจากกันด้านนอกถึงขอบวงปานนม หรือให้ค่อย ๆ ดึงหัวนมจนสุดความตึงของผิวหนัง ทำสลับกันในแนวราบและแนวดิ่งไปเรื่อย ๆ ทำแบบนี้ทุกๆ วัน และควรทำหลังอาบน้ำ ข้างละ 30 ครั้ง จึงจะได้ผลดีที่สุด
อีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่สามารถทำได้คือ ให้น้องลองดูดนมจากเต้า เนื่องจากทารกที่เพิ่งคลอดออกมาจะมีความตื่นตัวในการดูดนม สามารถอมหัวนมได้ดี หรือจะใช้วิธีการปั๊มนมช่วย วิธีนี้จะช่วยได้ช่วยเพียงคราวเท่านั้น เพราะหลังจากที่คุณแม่หยุดให้นมลูกหรือปั๊มนม หัวนมของคุณแม่จะกลับไปบุ๋มตามเดิม
-
ใช้ Breast shells หรือ Breast cups
คุณแม่ต้องใส่ไว้ใต้ยกทรง ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ วันละ 2-3 ชั่วโมง หลังจากคลอดลูกแล้วให้ใส่ก่อนให้นม 30 นาที
-
ใช้ Syringe puller หรือกระบอกฉีดยา
อันดับแรกให้คุณแม่ดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอก แล้วใช้ปลายด้านที่ไม่ถูกตัดมาครอบหัวนมให้สนิท จากนั้นค่อยๆ ดึงลูกสูบขึ้นช้า ๆ หัวนมของคุณแม่จะค่อยชูขึ้นมา
nipple puller ก่อนจะใช้ให้บีบกระเปาะยางก่อน แล้วนำไปครอบบริเวณหัวนม จากนั้นค่อยๆ ปล่อยปล่อยกระเปาะออกช้า ๆ ทำข้างละ 5 – 10 นาทีต่อวัน
เหมาะสำหรับผู้ที่ลองทำด้วยตนเอง และตัวช่วยแล้วก็ไม่สามารถทำได้
สุดท้าย ถ้าคุณแม่ยังรู้สึกเจ็บหัวนมอยู่ แนะนำให้คุณแม่ใช้ ใช้ยางครอบหัวนม (nipple shield) เพื่อป้องกันไม่ให้ปากของน้อง ไปสัมผัสกับหัวนมคุณแม่โดยตรง ทำให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้สบายยิ่งขึ้น
ที่มา :
www.si.mahidol.ac.th
www.motherandcare.in.th
www.medicine.cmu.ac.th
www.lelux.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ลูกไม่ยอมกินนมแม่ หรือ Nursing strike จู่ๆ ลูกเบือนหน้าหนีไม่ยอมเข้าเต้าเพราะ?
หัวนมแตก ทำไงดี ต้องหยุดให้นมลูกไหม?
น้ำนมแม่ที่ปั๊มมาแล้วเก็บได้กี่ ชม เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ให้นมต้องรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!