X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

บทความ 5 นาที
วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!

เพราะการป้องกันอุบัติภัยภายในบ้านของเด็กวัยเตาะแตะ เป็นเรื่องที่พ่อแม่พึงต้องระวังอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันลูกจากอุบัติเหตุ ป้องกันลูกจากสารพิษ หรือ ป้องกันลูกจากการหกล้ม ล้วนแต่เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบ้านนับเป็นสถานที่แรกของการเรียนรู้ การที่ลูกได้รับสัมผัสที่แฝงไปด้วยความรัก และการดูแลที่ปลอดภัย ที่มาพร้อมความสะดวกสบาย เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีเหมาะสมวัยของลูก

 

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องมีการป้องกันพร้อมกับสอนเรื่องความปลอดภัยในบ้านให้กับลูกของคุณ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุบัติเหตุด้านต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น เมื่อลูกเผลอหยิบหรือเผลอทานสารเคมี หรือสารพิษเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

 

ป้องกันลูกจากสารพิษ

 

อันตรายจากสารเคมีหรือสารพิษ

สารเคมีที่เป็นพิษกับร่างกาย สามารถพบได้มากมายในชีวิตปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ยาฆ่าแมลง และอื่น ๆ ที่ในบางครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ อาจจะเผอเรอลืมวางทิ้งไว้ในที่ ๆ ลูกหลานอาจจะเอื้อมถึง หรืออาจจะวางไว้ดีแล้ว แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ๆ ก็อาจจะเข้าไปเปิดและหยิบรื้อได้ในที่สุด

 

เชื่อว่าคงไม่มีครอบครัวไหนที่อยากจะพบเจอเหตุการณ์ที่น่ากลัวเหล่านั้นเป็นแน่ และเพื่อเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ครอบครัว วันนี้เราขอนำเสนอวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อลูกหลานเกิดรับประทานสารพิษหรือสารเคมีเข้าไป จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ไปอ่านบทความพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อาการจากสารเคมีหรือสารพิษเป็นอย่างไร?

อาการในเบื้องต้น คือ มีผื่นแดงขึ้นตามตัวหรือที่ปาก ปวดศีรษะ มึนงง หนาวสั่น มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก หายใจตื้นและถี่ มีอาการเจ็บหน้าอก และใจสั่นเป็นต้น แต่บางรายที่ได้รับสารพิษในปริมาณที่มากหรือรุนแรง ก็จะมีอาการชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง ปัสสาวะและอุจจาระราดโดยไม่รู้ตัว และหมดสติไปในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรเมื่อลูกหยิบสารเคมีหรือสารพิษเข้าปาก!

ข้อควรสังเกต

หากพบเห็นว่าลูกหลานมีอาการตามที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกคนสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กก่อนว่า ในบริเวณนั้นมีอะไรผิดปกติแปลกไปจากเดิมหรือไม่ รวมไปถึงสังเกตคราบที่ติดอยู่บริเวณเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือร่างกายให้ดี ว่ามีรอยหรือคราบอะไรหรือไม่ นอกจากนั้นควรสังเกตกลิ่นของสารพิษ เพราะบางครั้งเราอาจจะได้กลิ่นลมหายใจของผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ การสังเกตเบื้องต้นจะช่วยให้เราได้ทราบว่า พวกเขาได้รับสารเคมีหรือสารพิษตัวไหนเข้าไป หากพบว่ามีภาชนะที่บรรจุสารพิษหรือสารเคมีตกอยู่ในบริเวณนั้น ให้รีบหยิบและนำไปให้แพทย์

 

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ควรทราบก่อนว่า สารเคมีหรือสารพิษที่ลูกหลานทานเข้าไปนั้น เป็นสารพิษประเภทใด เพราะการปฐมพยาบาลและการรักษานั้นแตกต่างกันไปตามประเภทของสารพิษ ก่อนที่จะทำให้ลูกหลานอาเจียนออกมา ควรมั่นใจก่อนว่า สารเคมีหรือสารพิษที่พวกเขาได้รับไปนั้น ไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด มิเช่นนั้น กรดจะทำให้อวัยวะของพวกเขาบอบช้ำและบาดเจ็บมากกว่าเดิม หากมั่นใจแล้วว่า สารเคมีหรือสารพิษที่ว่านั้นไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด ควรรีบทำให้ลูกหลานอาเจียนออกมาด้วยการล้วงคอ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หรือให้กลืนไข่ขาวลงไป

 

ป้องกันลูกจากสารพิษ

  • ควรเก็บน้ำยาเคมีภัณฑ์ที่ใช้ภายในบ้านในบริเวณที่ปลอดภัยและพ้นจากมือของเด็ก
  • จัดข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบ เราจะได้รู้ได้ทันทีว่า มีขวดไหนหายไป
  • หลังจากใช้งานแล้ว ให้รีบเก็บเข้าที่ทันที อย่าคิดว่า เดี๋ยวค่อยเก็บ เพราะบางทีเราอาจจะลืมได้
  • อย่าเทสารพิษในขวดหรือภาชนะอื่น โดยเฉพาะในขวดน้ำอัดลม เพราะเด็กอาจจะเห็นแล้วกระหายและรีบเทเข้าปาก
  • อย่าวางสารพิษไว้ใกล้อาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น บนโต๊ะอาหาร ในตู้กับข้าว เพราะเมื่อดูไม่เป็นอันตรายเด็กอาจจะหยิบเข้าปากในขณะที่เผลอได้
  • หากบังเอิญเด็กได้สัมผัสหรือทานสารพิษเข้าไปควรรีบนำส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้หากต้องการทราบวิธีการดูแลหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถโทรสอบถามได้ที่ศูนย์พิษวิทยา เช่น ของโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร 1376 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • หากสงสัยว่าเด็กได้ทานสารพิษเข้าไปไม่ควรรีบล้วงคอหรือทำให้อาเจียนโดยมิได้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน เนื่องจากสารพิษบางอย่างหากทำเช่นนั้นอาจเป็นอันตรายมากกว่าเดิมได้

 

วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านปกป้องลูกวัยซน

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเตาะแตะอันเป็นช่วงหัดเดินและรักการสำรวจโลกของลูก จะต้องระมัดระวังการเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ ในบ้านเป็นพิเศษ เนื่องจากลูกเริ่มเดินได้เองจึงสามารถเคลื่อนที่ไปหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้โดยบางครั้งผู้ใหญ่ไม่ทราบจนอาจเกิดอันตรายจากการสัมผัสสารพิษ สำลักสิ่งแปลกปลอม หรือพลัดตกหกล้มได้ง่าย เรามาดูกันนะคะว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในบ้านได้อย่างไร

 

ป้องกันลูกจากสารพิษ

 

1.วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านการสำลักสิ่งแปลกปลอม

เด็กวัยเตาะแตะสามารถเดินไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ ได้เองและชอบหยิบของเข้าปาก หากนำสิ่งของชิ้นเล็กเช่นเหรียญบาท ลูกปัด เมล็ดถั่ว เข้าปากแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมและเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ จนขาดอากาศหายใจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกันทำได้โดย

  • สอนเด็กไม่ให้นำสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารเข้าปากโดยเด็ดขาด
  • ไม่ให้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีเล่นของเล่นชิ้นเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3.17 cm และความยาวน้อยกว่า 5.71 cm
  • ไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่มีโอกาสแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้
  • ผู้ดูแลเด็กทุกคนควรได้เรียนรู้และฝึกฝนการช่วยชีวิตเด็กที่สำลักสิ่งแปลกปลอมและเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

 

2.วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านการพลัดตกหกล้ม

เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังเดินได้ไม่คล่อง และไม่มีความระมัดระวัง จึงอาจเกิดอันตรายจากการพลัดตกหกล้มในบ้านได้บ่อย เช่น ตกบันได พลัดตกจากการปีนเครื่องใช้ในบ้าน เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง

การป้องกันทำได้โดย

  • ไม่ให้เด็กเดินขึ้นลงบันไดโดยลำพัง
  • ทำประตูกั้นที่เด็กเปิดไม่ได้ ไว้ที่ทางขึ้น ลงบันได
  • ติดตั้งบันไดที่ซี่ราวบันไดไม่ห่างเกินไปจนเด็กรอดออกมาได้
  • เฝ้าดูเด็กไม่ให้เดินไปในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายและไม่ให้เด็กปีนป่ายสิ่งของเครื่องใช้

 

ป้องกันลูกจากสารพิษ

 

รู้กันไปแล้วถึงวิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กทุกคนควรช่วยกันสอดส่องเฝ้าระวังเด็กไม่ให้คลาดสายตาแม้แต่เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที เพราะอุบัติภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดกับเด็กวัยเตาะแตะนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตัวเด็ก ร่วมกับความประมาทของผู้เลี้ยงดูค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
Ask The Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ แป้งเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของลูกน้อย
Ask The Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ แป้งเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของลูกน้อย
ดานอน ประเทศไทย รวมพลังรณรงค์ต่อต้านภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ดานอน ประเทศไทย รวมพลังรณรงค์ต่อต้านภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก ยืนหนึ่งในใจพ่อแม่ คว้ารางวัล Parents’ Choice สุดยอดอาหารเสริมสำหรับเด็ก จากเวที theAsianparent Awards 2024
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก ยืนหนึ่งในใจพ่อแม่ คว้ารางวัล Parents’ Choice สุดยอดอาหารเสริมสำหรับเด็ก จากเวที theAsianparent Awards 2024
S-26 สุดยอดแบรนด์นมสำหรับเด็ก ที่คุณแม่ไว้วางใจ คว้า 3 รางวัลแห่งปี จากเวที theAsianparent Awards 2024
S-26 สุดยอดแบรนด์นมสำหรับเด็ก ที่คุณแม่ไว้วางใจ คว้า 3 รางวัลแห่งปี จากเวที theAsianparent Awards 2024

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หยุดเปรียบเทียบลูก ถ้าไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กดื้อต่อต้าน-ขี้อิจฉา

โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ 5 อาการที่เกิดบ่อยของลูกวัยซน

ที่มา : rakluke.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • วิธีป้องกันลูกจากสารพิษ เมื่อห้ามลูกวัยซนไม่ได้ พ่อแม่ก็ต้องหาวิธีดูแลลูก!
แชร์ :
  • วิธีป้องกันอุบัติเหตุตอนท้อง เกิดอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน วิธีปฐมพยาบาลคนท้องตกเลือด

    วิธีป้องกันอุบัติเหตุตอนท้อง เกิดอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน วิธีปฐมพยาบาลคนท้องตกเลือด

  • พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

    พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • วิธีป้องกันอุบัติเหตุตอนท้อง เกิดอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน วิธีปฐมพยาบาลคนท้องตกเลือด

    วิธีป้องกันอุบัติเหตุตอนท้อง เกิดอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน วิธีปฐมพยาบาลคนท้องตกเลือด

  • พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

    พ่อแม่อย่าเผลอเพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว