การทำสต๊อกน้ำนม คุณแม่ที่มีแผนจะกลับไปทำงานประจำต่ออยู่แล้ว ควรเริ่มเก็บน้ำนมตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่จะยิ่งกระตุ้นการเพิ่มปริมาณน้ำนมได้และง่ายต่อการทำสต๊อกนม อย่างในกรณีที่คุณแม่ให้ลูกดูดทุกวัน และปั๊มนมออกมาได้อีกประมาณ 2 ออนซ์ต่อวัน เท่ากับร่างกายของคุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมได้ถึงวันละ 22 ออนซ์เชียวล่ะ
เคล็ดลับการทำนมสต๊อก
- เริ่มต้นปั๊มนมในช่วงเช้าประมาณตี 5-6โมงเช้าดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้มากที่สุด
- สลับเต้าให้ลูกดูดกับเต้าที่จะปั๊มนมคนละข้าง เช่น ถ้าตื่นก่อนลูก ให้ปั๊มน้ำนมข้างซ้ายออกก่อน 1 ข้าง ประมาณ 10-15 นาที เก็บเอาไว้ เมื่อลูกตื่นให้ลูกดูดข้างขวานานจนกว่าจะพอใจ แล้วให้ลูกมาดูดต่อข้างซ้ายที่เราปั๊มออกไปก่อนแล้ว และเมื่อลูกดูดเสร็จ ก็กลับมาปั๊มน้ำนมข้างขวาต่ออีก 2-3 นาทีเพื่อกระตุ้น
- ถ้าลูกตื่นก่อน ให้ลูกดูดนมข้าง 1 จนพอใจ แล้วคุณแม่มาปั๊มนมอีกข้างที่ลูกไม่ดูดประมาณ 15 นาที จากนั้นกลับมาปั๊มข้างที่ลูกดูดไปแล้วอีก 2-3 นาที หรือถ้าเป็นไปได้ลองปั๊มนมอีกข้างไปพร้อม ๆ กับที่ลูกดูดอีกข้าง เพื่อจะช่วยประหยัดเวลาและทำให้คุณแม่ปั๊มนมได้ง่ายขึ้นด้วย
- ถ้าลูกดูดข้างเดียวไม่อิ่มก็สลับให้ดูดนมแม่ทั้งสองข้างก่อน หลังจากนั้นค่อยมาปั๊มต่อข้างละ 10-15 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม
- ในระหว่างวัน คุณแม่ก็สามารถปั๊มนมเก็บทำนมสต๊อกได้ ด้วยการปั๊มนมต่อ 10-15 นาทีหลังลูกดูดเสร็จแต่ละมื้อ ทำเรื่อย ๆ ทุกวัน ร่างกายจะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม คุณแม่ก็จะได้น้ำนมที่ปั๊มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 1 ออนซ์ เป็น 2 เป็น 3 ออนซ์
- ทานอาหารให้ครบและใส่ใจในโภชนาการ ดื่มน้ำให้มาก ๆพักผ่อนให้เต็มที่ จะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการของลูกและเพียงพอต่อการทำสต๊อกนมในที่สุด
- ส่วนคุณแม่ที่เริ่มกลับไปทำงานแล้ว ระหว่างอยู่ที่ทำงานควรปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมงและเป็นเวลาที่สม่ำเสมอแบบนี้ทุกวัน เช่น ตอนเช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงานพอถึงที่ทำงานก็ปั๊มนมตอนช่วง00 น./13.00 น. และ16.00 น. โดยน้ำนมที่ปั๊มได้เก็บใส่ถุงซิปแช่ตู้เย็นและเตรียมกระติกแช่แข็งใส่กลับบ้าน เป็นสต๊อกไว้ให้ลูกกินในวันถัดไป ส่วนในช่วงวันหยุดควรพยายามให้ลูกได้ดูดนมจากแม่ทุกมื้อ เพื่อรักษาปริมาณน้ำนม
ในช่วงแรก ๆ หากคุณแม่ปั๊มอย่างน้อย 15 นาที ยังไม่มีน้ำนมออกมาหรือมีแค่หยด สองหยด ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ นำน้ำนมที่ติดปลายช้อนมาป้อนลูกได้ และหากมีปริมาณเยอะขึ้นคุณแม่ก็สามารถนำนมเก็บแช่แข็งเป็นสต๊อก พอหลังจาก 1 เดือนมีสต๊อกนมไว้พอแล้วก็สามารถใช้นมสต๊อกมาให้ลูกกินเมื่อคุณแม่กลับไปทำงาน ที่สำคัญหากลูกนอนนานมากขึ้น ในระหว่างที่ลูกหลับ หรือคุณแม่ได้กลับไปทำงานก็ไม่ควรหยุดปั๊ม พยายามปั๊มนมออกมาเก็บไว้เรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำนมลดปริมาณลงและมีน้ำนมสต๊อกไว้เพียงพอต่อความต้องการนะคะ
ที่มา : www.breastfeedingthai.com ,www.nommaesociety.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
8 เมนูอร่อยน่าหม่ำจากนมแม่
ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด แก้ไขอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!