คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงพัฒนาการช้า ดูแลลูกอย่างไรให้สมบูรณ์แข็งแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่คนไหนกำลังประสบปัญหาคลอดก่อนกำหนดบ้าง คุณแม่อาจกังวลว่าทารกที่ คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงพัฒนาการช้า theAsianparent มีข้อมูลมาแชร์ให้ว่า คุณแม่ควรดูแลทารกอย่างไร ให้ทารกสามารถกลับมามีพัฒนาการที่แข็งแรงสมวัยได้ ซึ่งต้องใช้เวลา และความพยายามทำอย่างต่อเนื่อง แต่ปลายทางสดใสแน่นอน

 

คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงพัฒนาการช้า อะไรบ้าง

เด็กคลอดก่อนกำหนด คือ เด็กที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ หรือก่อนวันครบกำหนดคลอดมากกว่า 2 สัปดาห์ คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงพัฒนาการช้า จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ อวัยวะต่าง ๆ ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ จึงมักจะอ่อนแอกว่า กินอาหารยากกว่า ดูแลยากกว่า และโตช้ากว่าเด็กที่คลอดตามกำหนด สาเหตุที่ทำให้ทารกเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ได้แก่

 

  • ปัจจัยความเสี่ยงจากแม่ท้อง : ทั้งสภาวะอารมณ์ ความเครียด สภาพจิตใจขณะตั้งครรภ์ คุณแม่อายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี ไปจนถึงโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หรือมีความดันสูง นอกจากนี้สภาวะความผิดปกติหลายอย่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ยังเพิ่มความเสี่ยงได้มาก เช่น ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ไปจนถึงคุณแม่ที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อน
  • ปัจจัยความเสี่ยงจากทารก : ทารกมีโรคทางพันธุกรรมติดตัวอยู่แล้ว หรือสภาวะต่างๆ ที่ทำให้ทารกเติบโตได้ลำบาก จนส่งผลต่อการคลอด นอกจากนี้การที่ทารกเป็นครรภ์แฝด จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น จึงควรปรึกษาแพทย์ และคอยสังเกตอาการครรภ์อยู่ตลอดเวลา

 

theAsianparent ยังมีข้อมูลที่คุณแม่ควรศึกษาเอาไว้เพื่อรับมือกับภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แลคโตเฟอร์ริน คืออะไร พบได้ในนมแม่ มีส่วนสำคัญกับทารกมากกว่าที่คิด

 

การดูแลลูกคลอดก่อนกำหนดแบบจิงโจ้ (Kangaroo Care)

การดูแลแบบจิงโจ้เป็นเทคนิคที่นำทารกคลอดก่อนกำหนดมาวางบนหว่างอกของแม่ให้เนื้อแนบเนื้อ ท้องแนบท้อง โดยเอียงศีรษะของทารกให้หูแนบอยู่เหนือหัวใจแม่ งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าการดูแลแบบจิงโจ้นี้มีคุณประโยชน์หลายอย่าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย : อุณหภูมิร่างกายของแม่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิร่างกายของลูก ถ้าลูกหนาว อุณหภูมิของแม่จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูก ในทางกลับกัน ถ้าลูกร้อน อุณหภูมิของแม่จะลดลงเพื่อให้ลูกสบายตัวมากขึ้น
  • การให้นมแม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น : การดูแลแบบจิงโจ้ทำให้ลูกเข้าถึงหน้าอกของแม่ได้ง่าย การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อยังช่วยกระตุ้นให้มีน้ำนมแม่ไหลออกมามากขึ้น
  • เพิ่มน้ำหนักตัวทารก : การดูแลแบบจิงโจ้ทำให้ทารกหลับลึก จึงสามารถส่งพลังงานไปทำหน้าที่อื่น ๆ ในร่างกายได้มากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของทารกยังหมายถึงการได้ออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้นอีกด้วย
  • เพิ่มสายใยผูกพันแม่ลูก : สัมผัสที่อบอุ่นของคุณแม่เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับทารก ที่จะช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้นกว่าเดิมได้ เป็นสิ่งที่ทารกต้องการจากผู้เป็นแม่อยู่แล้ว

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้นมลูกคลอดก่อนกำหนด

คุณแม่อาจเคยได้ยินเรื่องของน้ำนมระยะแรกหลังคลอด 1-3 วัน ที่เรียกว่า “น้ำนมเหลือง” และสงสัยว่าหากคลอดก่อนกำหนด แบบนี้จะมีน้ำนมเหลืองไหม เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วงไป  คุณแม่จะยังมีน้ำนมเหลืองหลังคลอดให้กับลูกรักอย่างแน่นอน แต่อาจจะมีปริมาณสารอาหารแตกต่างจากน้ำนมเหลืองทั่วไปนิดหน่อย เพราะเป็นการปรับตัวของคุณแม่ ให้สอดคล้องกับทารกที่ต้องการสารอาหารเป็นจำนวนมากกว่าปกตินั่นเอง ดังนั้นคุณแม่จึงควรปรึกษา ถึงแนวทาง และโอกาสที่จะให้นมช่วง 3 วันแรกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

โดยทั่วไปแล้วใน น้ำนมเหลือง จะมีสารอาหารที่จำเป็นหลายอย่าง ขึ้นชื่อว่าเป็นน้ำนมในระยะที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่สู่ลูก โดยเฉพาะสารอาหารอย่าง แลคโตเฟอร์ริน ที่จะดูดธาตุเหล็กของแบคทีเรีย ไวรัสในลำไส้ทารก ทำให้แบคทีเรีย ไวรัสเติบโตไม่ได้ จึงลดโอกาสเจ็บป่วยลงได้ และยังมีสารอาหารอย่าง MFGM และ DHA ช่วยพัฒนาการทางสมองของลูก ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนด ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เท่าเด็กคลอดปกติ ที่ค่อนข้างอ่อนแออยู่แล้ว ยิ่งต้องได้รับน้ำนมเหลืองจึงจะส่งผลดีต่อทารกคลอดก่อนกำหนดมากที่สุดด้วย

 

ดูแลลูกคลอดก่อนกำหนดอย่างไรเมื่อกลับไปถึงบ้าน

หลังจากผ่านช่วงที่แพทย์จะต้องดูแลแล้ว เมื่อแพทย์อนุญาตให้พาทารกกลับบ้านได้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องระวังเรื่องความปลอดภัย และการเฝ้าระวังเรื่องพัฒนาการ ผู้ปกครองจะต้องช่วยกันดูแลทารกต่อไป จนกว่าจะมั่นใจว่าลูกมีพัฒนาการสมวัยแน่นอนแล้ว โดยทั่วไปให้ดูแลทารกน้อย ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. รักษาความสะอาด

เนื่องจากทารกอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กคลอดก่อนกำหนดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ โอกาสติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ ทุกคนในบ้านจึงควรรักษาความสะอาดมากกว่าปกติ ของใช้ของลูกต้องต้มหรือนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อโรค จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก หมั่นล้างมือ ไม่ควรพาลูกออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น รวมทั้งไม่ให้คนที่ไม่สบายเข้าใกล้ลูกน้อย

 

2. ระวังลูกเสียความร้อนในร่างกาย

อาบน้ำให้ลูกวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอ เพื่อรักษาพลังงานที่อยู่ในตัวลูก เช็ดตัวให้แห้ง และห่มผ้า เพื่อไม่ให้ถูกลม ระวังอย่าให้ลูกตัวเย็น ควรหาเสื้อผ้าที่ทำให้ลูกอบอุ่น และสบายตัว

 

 

3. ระวังเรื่องการหายใจของลูก

หากลูกน้อยมีเสมหะ มีน้ำมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก มีเสียงดังครืดคราด หรือหายใจอกบุ๋ม ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพราะการหายใจของลูกน้อยอาจมีปัญหาได้

 

4. ให้นมแม่อย่างสม่ำเสมอ

หลังจากช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ทารกได้กินน้ำนมเหลืองไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงทารกกลับบ้านได้ น้ำนมแม่ยังคงเป็นมื้ออาหารเดียวที่เหมาะกับทารกมากที่สุด ไปอย่างต่ำ 6 เดือน เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่เพียงพออยู่แล้ว คุณแม่จึงพยายามเอาลูกเข้าเต้าให้บ่อยที่สุด ให้มั่นใจว่าลูกอิ่มทุกมื้อจะดีมาก การทำแบบนี้เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของทารกได้เป็นอย่างดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

แม้เด็กคลอดก่อนกำหนด จะมีพัฒนาการล่าช้าไปบ้าง แต่หากคุณแม่คอยส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย ด้วยการสัมผัส โอบกอด มองตาลูกบ่อย ๆ พูดคุยกับลูก ร้องเพลงให้ลูกฟัง รวมถึงการนวดสัมผัสเบา ๆ ตามแขนขาของลูก ก็ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้

 

นอกจากนี้ คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เลี้ยงลูกไปตามปกติ ไม่กังวลจนเกินไป ทาง theAsianparent อยากให้คุณแม่นึกไว้เสมอว่า อารมณ์ของแม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้นจึงควรอารมณ์ดีเข้าไว้ อย่าเคร่งเครียด แล้วลูกจะมีพัฒนาการที่ดีตามไปด้วยแน่นอนค่ะ หากคุณแม่อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็กคลอกก่อนกำหนดเพิ่มเติมสามารถไป คลิก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก

ลูกผ่าคลอดแข็งแรงได้ ด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด

เด็กผ่าคลอด กับ คลอดธรรมชาติ พัฒนาการต่างกันอย่างไร

10 วิธีคลอดง่าย ทำอย่างไรให้คลอดได้ง่าย ๆ ไม่กังวล สบายใจ

 

ที่มา : bangkokhospital,paolohospital

บทความโดย

Sutthilak Keawon