หากว่าที่คุณแม่ยังลังเลเลือกไม่ถูกว่าจะใช้ วิธีคลอดลูก แบบไหนที่เหมาะกับตัวเองดี จะคลอดธรรมชาติหรือเลือกผ่าคลอด แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด อยากเลือก วิธีคลอดลูก แบบไหน?
#1 ระยะเวลา
|
คลอดธรรมชาติ |
ผ่าคลอด |
การคลอดปกติจะต้องรอให้มีการเข้าสู่ระยะคลอดธรรมชาติ ไม่สามารถระบุหรือกำหนดวันคลอด หรือเวลาที่แน่นอนได้ รวมถึงระยะเวลาในการรอคลอดท้องแรกและท้องหลังก็มีความแตกต่างกันด้วย แต่สำหรับหลังคลอดแล้วหากในช่วงคลอดเบ่งคลอดง่าย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอด ก็จะฟื้นตัวได้เร็ว มีระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วันก็สามารถกลับบ้านได้ |
การผ่าตัดคลอดต้องมีการยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอนจากการตรวจอัลตร้าซาวนด์ โดยปกติอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดคลอดอยู่ที่ประมาณ 38 สัปดาห์ คุณแม่สามารถกำหนดวันและเวลาที่ชัดเจนในการคลอดได้โดยไม่ต้องรอให้ปวดท้องคลอดก็สามารถผ่าตัดคลอดได้ |
#2 อาการปวด
|
คลอดธรรมชาติ |
ผ่าคลอด |
การคลอดธรรมชาติจำเป็นต้องรอให้ถึงระยะเจ็บท้องที่อาจกินระยะการเจ็บยาวนานหลายชั่วโมง มดลูกจะมีการบีบตัวที่แข็งและถี่ขึ้น ทำให้คุณแม่ปวดท้องคลอดมากขึ้นจนแทบทนไม่ไหว ส่วนหลังคลอดนั้นอาจมีอาการปวดตึงแผลฝีเย็บ แผลจะเริ่มดีขึ้นหลังจากผ่านไปประมาณ 7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดการฉีกขาดของแผลที่ช่องคลอด หากปวดมากให้ใช้การประคบเย็นเข้าช่วย |
การผ่าตัดคลอด ปัจจุบันมักใช้วิธีบล็อกหลังซึ่งทำให้ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด และรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถได้ยินเสียงร้อง และเห็นหน้าของลูกน้อยทันทีที่คลอด แต่การใช้ยานั้นก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง หลังผ่าคลอดอาจมีอาการปวดหลัง ปวดเมื่อยในช่วงวันแรก ๆ และมีอาการปวดแผลผ่าคลอดซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าแผลจากการผ่าคลอดจะหายดี จึงมีระยะพักฟื้นร่างกายในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3-4 วันนานกว่าคุณแม่ที่คลอดเองด้วยวิธีธรรมชาติ |
#3 ค่าใช้จ่าย
|
คลอดธรรมชาติ |
ผ่าคลอด |
การคลอดเองธรรมชาติจะมีค่าใช้จ่ายการคลอดที่ถูกกว่า |
การผ่าตัดคลอดที่ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ วัสดุ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการคลอดปกติ |
#4 ภาวะแทรกซ้อน
|
คลอดธรรมชาติ |
ผ่าคลอด |
การคลอดเองนั้นอาจเสี่ยงต่อโอกาสเกิดอันตรายขณะคลอด เช่น การที่ทารกตัวโตมากอาจทำให้เกิดปัญหาการคลอดนาน คลอดยาก ติดอวัยวะบางส่วนที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และทารกได้ เสี่ยงต่อการยืดและฉีกขาดของเนื้อเยื่อในช่องคลอด การคลอดทางช่องคลอดอาจทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกราน มดลูก ผนังช่องคลอดทางด้านหน้าและด้านหลังเกิดอาการหย่อนคลอยได้ แก้ปัญหาวิธีนี้ได้ด้วยการฝึกขมิบช่องคลอด เพื่อบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้กระชับ รวมทั้งปัญหาระบบขับถ่ายและการมีเพศสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว |
การผ่าตัดคลอดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้จากการบล็อกหลัง ภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดอาจเกิดอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ และหลังผ่าตัด เช่น การติดเชื้อจากแผลผ่าคลอด ลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น มีการเสียเลือดมากกว่าการคลอดปกติ และการผ่าตัดนั้นทำให้มีรอยแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง แต่ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแผลแบบบิกินนี่ ในระยะยาวอาจจะมองไม่เห็นชัดเจนและไม่ค่อยมีผลต่อการทำงานหรือทำกิจกรรมในอนาคต และสำหรับครรภ์ต่อไปอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก ภาวะรกเกาะต่ำ รกติด ตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น |
#5 ทารกที่เกิดจากการคลอด
|
คลอดธรรมชาติ |
ผ่าคลอด |
ทารกที่ผ่านการคลอดปกติทางช่องคลอด จะได้รับการไล่น้ำคร่ำที่ค้างอยู่ในปอดเมื่อช่วงอกของทารกได้ผ่านช่องคลอดแม่ ทำให้ไม่มีน้ำคั่งที่ปอด และปอดไม่ชื้นหลังคลอด ซึ่งเป็นผลดีต่อการหายใจ ทำให้ถุงลมในปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าสได้ดี และในระหว่างที่ทารกกำลังผ่านช่องคลอดของแม่ออกมา ทารกจะกลืนเอาสารคัดหลั่งในช่องคลอดที่อุดมไปด้วยแบคทีเรียที่ดีประเภท Probiotic เข้าสู่ลำไส้ ซึ่งเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ ทำให้ทารกไม่เจ็บป่วยบ่อย แต่ข้อเสียสำหรับการคลอดธรรมชาติในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง หรือเบ่งไม่เป็น ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด ก็อาจทำให้ทารกบาดเจ็บได้จากการใช้เครื่องมือได้ |
ทารกที่ผ่าคลอดนั้นจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือ Probiotic ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าในระยะยาว และการไม่ได้ผ่านขบวนการทางช่องคลอดอาจทำให้มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการหายใจเมื่อแรกคลอด |
อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณแม่จะตัดสินใจเลือกวิธีคลอดแบบไหน โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้คลอดเองก่อน ซึ่งการผ่าคลอดนั้นควรทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น อุ้งเชิงกรานแคบ ทารกมีศีรษะใหญ่ทำให้ไม่สามารถลอดผ่านเชิงกรานแม่ออกมาได้ มีความผิดปกติของรก เช่น รกเกาะต่ำ ขวางทางออกของทารก หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอด มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำให้คลอดโดยเร็ว คลอดก่อนกำหนด มีปัญหาการคลอดที่เนิ่นนาน หรือประสบความล้มเหลวจากการชักนำคลอด ทารกอยู่ในท่าขวาง หรือศรีษะไม่กลับหัว หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด เป็นต้น แต่ทั้งนี้ข้อบ่งชี้ในแต่ละโรงพยาบาลอาจแตกต่างกัน หากคุณแม่มีความต้องการคลอดลูกแบบไหนก็สามารถปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์หรือพิจารณาข้อดีข้อเสีย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่คุณแม่ควรเตรียมวางแผนสำหรับการคลอดครั้งนี้ด้วยนะคะ.
ที่มา : https://pregnancy.haijai.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
เวลามันผ่านไปเร็วมากอ่ะลูก แรกเกิดvsปัจจุบัน โตแล้วหน้าเปลี่ยน กันขนาดไหน
ลูกชายหรือลูกสาวดีกว่ากัน ข้อดีของการมีลูกชาย vs. ลูกสาว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!