คันหัวยุบยิบ! เด็กในโรงเรียนสระบุรีเป็นเหากว่า 2 พันคน วิธีกําจัดเหา วิธีกําจัดไข่เหา การกําจัดไข่เหาออกจากเส้นผม ทำได้อย่างไร สมุนไพรกําจัดเหา ป้องกันและกำจัดเหาอย่างไร วิธีป้องกันเหาขึ้นหัวลูก
เหาระบาดในเด็กนักเรียน โรงเรียน จ.สระบุรี กว่า 2,300 คน
นายปรัชญา เปปะตัง นายอำเภอพระพุทธบาท จ.สระบุรี เป็นประธาน Kick off ร่วมรณรงค์และกำหนดมาตรการ กำจัด “เหา” นักเรียน ในสถานศึกษา จำนวน 26 โรงเรียน ในพื้นที่ 9 ตำบล ของ อ.พุทธบาท โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ, สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, ผู้บริหารโรงเรียน, สาธารณสุขอำเภอ และ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อพัฒาคุณภาพชีวิตให้แก่เยาวชนในสถานศึกษา
เนื่องจากที่ผ่านมา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอพระพุทธบาท ได้กำหนดให้ “เหา” เป็นพาหะ ทำให้เด็ก ๆ ขาดสมาธิในการเรียน และปัจจุบันมีการแพร่ระบาดบนศีรษะของนักเรียนชายและหญิง จึงได้มอบหมายให้ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง 9 ตำบล ทำการสำรวจหาเหาในเด็กนักเรียน จาก 26 โรงเรียน จำนวนกว่า 5,000 คน โดยจากการสำรวจ พบเด็กนักเรียนมีเหา จำนวน 2,305 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ของนักเรียนหญิงทั้งหมด
ทาง อ.พระพุทธบาท จึงร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่ จัดกิจกรรมดังกล่าว กำจัดเหาในนักเรียนให้หมดไป ณ รร.อนุบาลวัดพระพุทธบาท โดยมีตัวแทนสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ และผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วม ถ่ายทอดวิธีการทำแชมพูสระผมสมุนไพรกำจัดเหาและไข่เหา เพื่อมอบให้สถานศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนวัตถุอุปกรณ์ สถานที่ จากสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชน เพื่อให้เด็กนักเรียนกลับมามีสมาธิกับการเรียน โดยจะมีการติดตามประเมิลผลโครงการตลอด 1 ภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
เหาคืออะไร
เหาเป็นแมลง Pediculus humanus capitis สีออกเทา ๆ ขนาดยาว 3-4 มิลลิเมตร เหาตัวเมียมีอายุประมาณ 1 เดือน จะไข่ที่โคลนผมประมาณ 7-10 ฟอง ต่อวัน ไข่จะเห็นเป็นตุ่มสีขาวติดแน่นอยู่กับผม หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เหาออกไข่ ไข่ที่ไม่มีเหาแล้วจะยังคงติดแน่นอยู่กับผม เมื่อผมงอกยาวขึ้นไข่ก็จะเลื่อนตามไปด้วย มักจะอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม พบได้ทั้งศีรษะ ส่วนใหญ่จะพบบริเวณท้ายทอย หลังหูและขมับ และคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร
เหา การติดต่อ
เหาติดต่อทางสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน ดังนั้น เด็กในวัยเรียนจึงติดเหาจากเพื่อนในโรงเรียนได้ง่าย
เหาสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 4 วันในสภาวะอุณหภูมิห้องปกติ ส่วนไข่เหาสามารถอยู่ได้นานถึง 10 วัน โดยผู้ที่มีเหาจะมีอาการคัน เกิดเป็นตุ่มคัน ในรายที่เป็นมานาน หรือมีอาการรุนแรง จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่ผิวหนังและมีต่อมน้ำเหลืองขางคอและท้ายทอยโต
วิธีการกําจัดเหา
วิธีการกําจัดเหา
วิธีกําจัดไข่เหา วิธีกำจัดเหามีหลายแบบ อาจใช้ครีม เจล หวี หรือยากิน ซึ่งต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของการรักษาวิธีนั้นอย่างเคร่งครัด ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรซื้อยาใช้เองควรปรึกษาแพทย์
- ยาฆ่าแมลงทำพิเศษเพื่อฆ่าเหาบนศีรษะ มีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ห้ามซื้อยาฆ่าแมลงตามท้องตลาดใส่เอง คนละชนิดกันใช้ไม่ได้ หลังจากซื้อมาแล้วให้ทำตามคำแนะนำเอกสารกำกับยา ส่วนมากต้องสระผมให้สะอาดแล้วใส่ยาหมักไว้ 10 นาที ล้างออก ยาบางชนิดอาจต้องทิ้งไว้ทั้งคืน ควรจะรักษาซ้ำอีกในสัปดาห์ถัดไป เพื่อฆ่าเหาที่อาจหลงเหลืออยู่หรือเหาตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่ สำหรับยาทาที่ใช้ได้ดีต่อตัวเหาและไข่ คือ permethrin lotion, pyrethrins หรือ malathion การทายาควรสวมถุงมือยาง ทายาให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก หลังจากนั้นควรใช้หวีซี่ถี่ ๆ หวีตัวเหาและไข่เหาออก และควรทายาซ้ำอีกครั้งใน 7 วัน
- การสางผม นิยมใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งอายุน้อยเกินกว่าจะใช้ยาฆ่าแมลงได้ โดยทำให้ให้ผมเปียกและใช้สารหล่อลื่น เช่น ครีมนวดผม น้ำมันมะกอก หรือสารส้ม ใช้หวีซี่ถี่ ๆ หรือหวีเสนียดสางผม ตรวจดูทุกครั้งที่สางว่ายังมีเหาหรือไข่เหาหรือไม่ สางจนเหาไม่มี ทำซ้ำทุก 3-4 วัน จนครบ 2 สัปดาห์ และต้องทำต่อถ้ายังพบตัวเหาอยู่
- ยากินฆ่าเหา ต้องสั่งโดยแพทย์ ใช้ในผู้ป่วยที่ดื้อต่อการรักษาวิธีอื่น
- การตัดผมหรอโกนผมเป็นวิธีที่ได้ผลดีเพราะเมื่อตัวเหาและไข่ไม่มีเกาะยึดแล้ว ก็จะหายไปได้
วิธีกําจัดไข่เหาออกจากเส้นผม
อุปกรณ์ที่ใช้กําจัดไข่เหาออกจากเส้นผม : หวีสางเหา หวีเสนียด หวีเหาไข่หลุดตัวหลุด หวีเหาเกลี้ยง หวีเหาหาย หวีกำจัดเหา หวีสางเหาสแตนเลส
ใช้หวีเสนียด ซึ่งเป็นหวีซี่ถี่ ๆ หวีผม เริ่มต้นให้ใช้หวีทั่วไปก่อนเพื่อกำจัดสิ่งสกปรก แล้วค่อยหวีด้วยหวีเสนียด หวีตั้งแต่โคนผมชิดหนังศรีษะจนถึงปลายผม ไข่เหาอาจยังติดผมอยู่เป็นเดือน ๆ ทั้งที่ไม่มีตัวแล้ว และควรหวีผมซ้ำอีกทุก 3-4 วัน เพื่อให้แน่ใจว่ากําจัดไข่เหาออกจากเส้นผมได้หมด
วิธีกําจัดเหา น้ำยาบ้วนปาก
กรมควบคุมโรค ยืนยันว่า วิธีกําจัดเหาด้วยน้ํายาบ้วนปากนั้นไม่มีประสิทธิภาพรักษาโรคเหา ควรใช้ยารักษาเฉพาะทาง เช่น Gamma benzene hexachloride (1% Lindane) แชมพู Malathion หรือ Benzyl Benzoate (12.5 – 25%) และสางด้วยหวีซี่ถี่เพื่อกำจัดเหาเท่านั้น
สมุนไพรกําจัดเหา
วิธีกำจัดเหาด้วยสมุนไพรกําจัดเหา
- ใบน้อยหน่า: ให้โขลกเอาใบน้อยหน้าประมาณ 5 – 8 ใบให้ละเอียดผสมน้ำ จากนั้นเอาไปทากับผมให้ทั่ว เสร็จแล้วเอาผ้าคลุมหัวไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วล้างออก ก่อนที่จะสระผมด้วยแชมพูตามปกติ
- ใบสะเดา: ใช้วิธีการโขลกเช่นเดียวกับใบน้อยหน่า โดยนำใบสะเดาประมาณ 2-3 กำ ไปโขลกผสมกับน้ำ จากนั้นนำไปทาให้ทั่วศีรษะ แล้วสระผมด้วยแชมพูตามปกติ
- ผลมะกรูด: ให้เลือกเอามะกรูดที่แก่จัดมีน้ำเยอะๆ เอาไปเผาหรือย่างไฟให้สุก แล้วนำไปวางทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาคลึงไปมาเพื่อให้ได้น้ำเยอะๆ ก่อนจะผ่าครึ่งแล้วไปขยี้กับหัว
- ใบยอ: เอาใบยอสด ตำให้ละเอียด บีบคั้นเอาเฉพาะน้ำไปสระผมวันละครั้งตอนเช้า สระติดต่อกันทุกวัน 3–4 วัน เหาจะตายหมด จากนั้นใช้ หวีเสนียด หรือทางภาคอีสานเรียกว่า หวีถี่ สางเส้นผมจะพบว่ามีตัวเหาที่ตายติดออกมามากมายให้สางผมจนเหาหมดจะหายได้ในที่สุด
การป้องกันเหา
- สอนลูกไม่ให้ใช้หวีร่วมกับคนอื่น เด็กที่ไว้ผมยาวควรมัดผมหรือถักเปียไว้ประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเหาได้ง่าย
- ทําความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่ใช้ในหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยการซักน้ำร้อนอย่างน้อย 5 นาที สําหรับเครื่องนุ่งห่มที่ซักไม่ได้ เช่น หมอนและพรม ควรอบแห้ง 50 องศาเซลเซียส 20 นาที หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดปากแน่นอย่างน้อย 14 วัน
- ล้างหวีในน้ำร้อน 65 องศาเซลเซียส หรือแช่ใน 2% Lysol เป็นเวลา 1 ชั่วโมงเพื่อฆ่าตัวเหา
- แยกของใช้ส่วนตัว หวีผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน ไม่ใช้ของร่วมกัน
- ตัดเล็บลูกให้สั้นเพื่อป้องกันการแคะ แกะ เกา ผิวหนังหรือบริเวณที่มีผื่นคัน
สำหรับช่วงอายุที่เด็กเป็นเหาบ่อย ๆ นั้นจะอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-5 หรืออายุราว 7-11 ปี คุณพ่อคุณแม่จึงต้องศึกษาวิธีกําจัดเหา และวิธีป้องกันเหา จะได้รักษาลูกอย่างถูกต้องนะคะ ที่สำคัญ ยาบางชนิดเช่น ยากินฆ่าเหา ต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น พ่อแม่ไม่ควรซื้อมาให้ลูกกินเองค่ะ
ที่มา :https://www.sanook.com/, https://www.pptvhd36.com, https://www.si.mahidol.ac.th และ https://www.thairath.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกเข้าโรงเรียน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ไม่มีเอกสารพ่อ หรือแม่ ควรทำอย่างไรดี
โรคชิคุนกุนยาระบาด โรคติดต่อที่มากับยุง เตือนพ่อแม่ให้ระวังลูกน้อยในช่วงนี้!!
ลูกเป็นโรคคาวาซากิ อาการ ไข้สูงเกิน 5 วัน ต่อมน้ำเหลืองโต ปากแดง อาการโรคร้าย เสี่ยงเสียชีวิต
วิธีเลี้ยงลูกให้แข็งแรง อาการป่วยเด็กเล็ก เด็กโต การดูแลลูกให้แข็งแรงฉลาดสมวัย ไอคิวดี อารมณ์แจ่มใส
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!