ความพยายามของลูก ในการอ่านหนังสือ ในครั้งแรก ๆ ทำให้คุณยินดี และ ภาคภูมิใจเสียเหลือเกิน แต่ว่า ถ้ากระบวนการเรียนรู้มันไม่ค่อยจะราบรื่น และมีปัญหาตะกุกตะกักตลอดเวลาขึ้นมาล่ะ? คุณจะรู้ได้ยังไงว่า ลูกแค่เป็นแค่ ปัญหาการอ่านของเด็ก หรือว่า นี่เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ลูกกำลังมีปัญหาในการเรียนรู้อย่าง ดิสเล็กเซียกันแน่? การที่ลูกขาดสมาธิ อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุ ปัญหาการอ่านของเด็ก อย่างโรคสมาธิสั้นก็ได้นะ แต่ ถ้าคนรอบตัวเด็กพากันจิตตก และ ตกใจเมื่อเห็นลูกอ่านหนังสือตะกุกตะกัก ตามเพื่อนไม่ทันก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้หรอกนะ บอกเลย
สัญญาณเตือนปัญหาการอ่าน ของเด็ก
เนื่องจาก การอ่านมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับพัฒนาการทางภาษา ปัญหาเรื่อง การออกเสียง หรือ การพูดโดยทั่วไปที่ลูกคุณอาจจะมี จึงอาจเป็นเหมือนสัญญาณเตือนว่า หนทางในการอ่านของลูกอาจเต็มไปด้วยความท้าทาย ตัวอย่างสัญญาณบอกเหตุ มีดังนี้
- ความพยายามต่อต้าน ขัดขืน การอ่านออกเสียง
- การเดา แทนที่จะพยายามออกเสีย งคำที่ไม่รู้จัก
- ไม่สามารถจำแนกคำที่เสียงสัมผัสคล้องจองกันได้
ทำยังไงกันดีล่ะ?
ถ้าคุณสงสัยว่า ลูกคุณอาจมีปัญหา ทางที่ดีที่สุดคือ คุณควรปรึกษากับคุณครู เพื่อที่ ลูกจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดที่โรงเรียน นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณต้องพิจารณา เรื่องการให้ลูกเข้ารับการทดสอบ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการเด็ก ซึ่งจะให้คำแนะนำว่า คุณจะสามารถ ช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านของลูกได้อย่างไรบ้าง
ทางเลือกต่าง ๆ
ความเป็นจริงคือ บางครั้งการต่อต้าน หรือ หลีกเลี่ยงที่จะอ่านหนังสือ เป็นเพียงสัญญาณ ขอความช่วยเหลือ คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาหนทางต่าง ๆ เพื่อ ช่วยให้ลูกได้อ่านหนังสือ แทนที่จะใช้วิธีการปกติ หากลูกของคุณไม่ใช่ผู้ที่จะเรียนรู้ จากการมองเห็นได้ดี ลูกจะต้องใช้การรับรู้ผ่านทุกประสาทสัมผัส เพื่อ ช่วยให้อ่านหนังสือได้ วิธีการบางอย่าง ที่เรากำลังจะบอกต่อไปนี้เป็น วิธีที่คุณสามารถลองใช้ที่บ้าน เพื่อช่วยเรื่องปัญหาการอ่านของเด็กได้ เช่น
- การตัดตัวอักษรต่าง ๆ จากกระดาษทราย เพื่อให้ลูกได้สัมผัสตัวอักษร ระหว่างอ่านไปด้วย
- การใช้เสียงเข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็นการอ่านนิทานตลก ๆ การเล่น tongue twister หรือ คำพูดลิ้นพันกัน ซึ่งประกอบไปด้วยประโยคที่มีตัวออกเสียงคล้าย ๆ กันเรียงต่อ ๆ กันมาก ๆ เช่น “เช้าฟาดผัดฟัก เย็นฟาดฟักผัด” การละเล่นแบบนี้ จะช่วยดึงความสนใจเด็ก เข้าหาเสียงของคำได้
- ใช้หนังสือที่เหมาะสมกับระดับการอ่านของลูก หนังสือที่เหมาะสมคือ หนังสือที่ลูกอ่านได้โดยไม่มีอ่านผิดเกินกว่าห้าคำ
อย่ายอมแพ้
จำไว้เสมอว่า กุญแจสำคัญ ในการสู้กับปัญหาการอ่านของเด็กคือ อย่ายอมแพ้เด็ดขาด แม้ว่าคุณจะเหนื่อยหน่าย หงุดหงิดใจกับความพยายามที่ล้มเหลว แต่ การที่คุณคอยอ่านหนังสือให้ลูกฟัง จะช่วยลูกให้จับ และแยกแยะคำต่าง ๆ ได้ อยู่ในระดับใต้จิตสำนึก ดังนั้น คุณอย่ายอมแพ้ ห้ามหยุดอ่านหนังสือให้ลูกฟังโดยเด็ดขาด ไมได้จำเป็นว่า ต้องเป็นการอ่านหนังสือนิทานเสมอไป คุณสามารถอ่านแม้กระทั่ง ฉลากอาหาร สูตรอาหาร หรือ ร้องเพลงให้ลูกฟังก็ได้ ทำให้ทุกนาทีเป็นนาที ที่สามารถสอนให้ลูก เข้าถึงการอ่านได้ ให้คำแนะนำที่เหมาะสม ให้ลูกได้รับความช่วยเหลือ จากผู้เชี่ยวชาญ ลูกก็จะอ่านหนังสือได้ในเร็ววัน
เคล็ดลับ และ ทางเลือกต่าง ๆ ในการสู้กับปัญหาการอ่านของลูกเหล่านี้ ได้ผลรึเปล่า? คุณสามารถแบ่งปันกับเราได้นะ
การสอนแบบโฟนิกส์ (สำหรับเด็กโต)
ขั้นที่ 1 เรียนรู้เสียงตัวอักษร (Analytic Phonics) โดยครูอ่านออกเสียงตัวอักษรให้นักเรียนฟังช้า ๆ และให้นักเรียนอ่านออกเสียงซ้ำตามครู ยกตัวอย่างเช่น ครูสอนนักเรียนอ่านออกเสียง /ก/ โดยยกตัวอย่างคำที่มี เสียง /ก/ เช่น ไก่กา แกะ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ฝึกการสอนประสมเสียง (Synthetic Phonics) โดยครูอ่านออกเสียง โดยการสะกดคำ และให้นักเรียนฝึกตาม เช่น คำว่า กา มีการประสมเสียงพยัญชนะ /ก/ และเสียงสระ /า/ นักเรียนออกเสียง /ก/ จากนั้นให้นักเรียนออกเสียง /า/ เมื่อประสมเสียง /ก/ กับ /า/ จะสามารถสะกดเป็นเสียง /กา/ เป็นการฝึกผสมเสียงกับตัวอักษรเพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงได้ ทำให้นักเรียน เข้าใจเสียงของตัวอักษรแต่ละตัว และผสมเสียงจนสามารถที่จะออกเสียงคำนั้น ๆ ได้ด้วยตนเอง
ขั้นที่ 3 รู้จักการเทียบเคียง (Analogy-Based Phonics) โดยครูให้นักเรียนออกเสียงโดยการแจกลูกคำ เช่น /กา/, /ตา/, /ปา/, /อา/ เป็นการฝึก ให้นักเรียนรู้จักเทียบเคียงเสียง และรู้ว่ามีเสียงสระ /า/ เป็นเสียงเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้การเทียบเคียงเสียงในการสอนเสียงวรรณยุกต์ได้อีกด้วย โดยครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงโดยการผันเสียงวรรณยุกต์เช่น /กา/, /ก่า/, /ก้า/, /ก๊า/, /ก๋า/ เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักการเทียบเคียงเสียง ทำให้นักเรียน รู้จักวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำและเทียบเคียงการออกเสียงกับคำ ว่ามีหน่วยเสียงใดที่เหมือนกัน
ขั้นที่ 4 หัดอ่านเขียนเข้าใจคำ (Phonics Drill) โดยครูฝึกให้นักเรียนรู้จักการอ่านออกเสียงและการเขียนไปพร้อม ๆ กัน เช่น คำว่า ไก่ นักเรียนสามารถแยกเสียงพยัญชนะต้นได้ว่าเป็นเสียง /ก/ และเขียน อักษร ก ได้หรือคำว่า ไข่ เสียงพยัญชนะต้นคือเสียง /ข/ และนักเรียนสามารถเขียนอักษร ข ได้ และฝึกฝนซ้ำไปซ้ำมาให้เข้าใจความหมายของคำที่อ่านและเขียน จนสามารถอ่านออกและเขียนได้ หรือหากพบคำใหม่นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับคำใหม่ได้อย่างมีระบบ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่า สุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุน พ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะ เราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ทำอย่างไร ให้เด็กรักการอ่าน
พ่อแม่ ไม่ควรพูดกับลูก เพียงประโยคเดียว ทำร้ายลูกได้ทั้งชีวิต พูดไป จะเสียใจทีหลัง
เล่นอะไรกับลูกดี ? ในวันที่ ไวรัสโคโรน่าระบาด กิจกรรมช่วง Covid-19
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!