วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ คน คงประหวั่นพรั่นพรึงกับการเจ็บขณะเบ่งคลอด เพราะรู้กันมาว่าเจ็บมาก เจ็บนาน มีวิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดมาแนะนำค่ะ ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด 

ความสำคัญของการควบคุมการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

การฝึกควบคุมการหายใจเพื่ดลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดนั้นมีความสำคัญมาก เพราะระยะเวลาที่เจ็บท้องคลอดกินเวลาหลายชั่วโมง อย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลไปนะคะ เพราะทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ

ปัจจุบันนิยมใช้วิธีการของนายแพทย์ลามาซ ที่เน้นการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อทรวงอกที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่มดลูกหดรัดตัวและใช้วิธีการหายใจร่วมกับแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อช่วยในการเบ่งคลอด จังหวะของการหายใจจะเป็นไปตามระยะของการเบ่งคลอด วิธีการนี้จะช่วยให้แม่ท้องคลายความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการเบ่งคลอดด้วยตนเอง  และสามารถเปลี่ยนลักษณะการหายใจไปตามความเจ็บปวดหรือความรุนแรงของมดลูก

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด  ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก  นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ  หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง  พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว  และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง   แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้   ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7  เซนติเมตร

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว  การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด  ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก  และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น  วิธีปฏิบัติ คือ

1. เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9  เซนติเมตร

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก  ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ  วิธีปฏิบัติ คือ

1. เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด

2. ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน  ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ  1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป  จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระยะที่ 4 : ระยะเบ่งคลอด

1. ในระยะนี้คุณแม่ควรอยู่ในท่านอนหงาย  ศีรษะและไหล่ยกขึ้น  งอเข่า  แยกมือไว้ใต้เข่า  ดึงต้นขา ให้เข่าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด  จากนั้นให้หายใจเข้า – ออก ในลักษณะพีระมิด

2. การหายใจลักษณะพีระมิด ทำได้ดังนี้

– a. หายใจเข้า / หายใจออก,  หายใจเข้า / เป่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– b. หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า

– c. หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า

– d. หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ  คือ  หายใจเข้า / หายใจออก,แล้วเป่า  ไปจนถึงหายใจเข้า / หายใจออก  5 ครั้งแล้วเป่า  จากนั้นให้ลดจำนวนครั้งการหายใจเข้า – ออก แล้วเป่ามาเป็น 5, 4, 3, 2, 1  จนเมื่ออาการเจ็บทุเลาลง

ให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ เพื่อล้างปอด 1 – 2 ครั้ง และเริ่มต้นใหม่เมื่อมดลูกบีบตัวใหม่  การหายใจในช่วงที่มีลมเบ่งคลอด  ให้หายใจเข้าให้เต็มที่ให้ลึกที่สุดทั้งทางปากและทางจมูก  แล้วกลั้นหายใจไว้ปิดปากให้แน่น   ออกแรงเบ่งไปบริเวณช่องคลอดพร้อมกับหายใจออก  ทำหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

การหายใจในระยะเบ่งคลอดทั้ง 4 วิธีนี้  ควรฝึกทำทุกวันในช่วงไตรมาสที่ 2 เพื่อให้เกิดความชำนาญ การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เมื่อถึงเวลาจริงคุณแม่จะได้ใช้ควบคุมตนเองได้เมื่อเวลาเจ็บครรภ์คลอด

ส่วนการหายใจในระยะเบ่งคลอดนั้น  การฝึกหายใจไม่ต้องออกแรงมาก  เพราะจะเกิดแรงดันต่อทารกในท้อง  การฝึกหายใจให้คุณแม่สมมติว่าตนเองกำลังอยู่ในระยะเจ็บครรภ์ที่มีการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่  ช่วงที่มดลูกเริ่มบีบตัว  มดลูกบีบตัวเต็มที่ จนมดลูกเริ่มคลายตัว  และคล้ายตัวได้ทั้งหมด  ซึ่งจะกินเวลาครั้งละประมาณ 1 นาที คุณแม่จะรู้สึกหายเจ็บไปได้บ้าง ได้พักประมาณ 5 – 10 นาที มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวครั้งใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนคลอด

ประโยชน์ของหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดและหลักการหายใจ

1. เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้คุณแม่และทารกในครรภ์มากขึ้น  เพื่อสุขภาพของแม่และลูกให้ได้รับออกซิเจนเต็มที่ระหว่างคลอด  หากหายใจไม่ออกหรือหายใจสั้น ๆ อาจทำให้การระบายคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ดีพอจนอาจเป็นผลเสียกับแม่และลูกได้

2. ลดการเกร็งตัวและการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อ

3. ช่วยลดความเครียด  ความกังวล และช่วยลดความเจ็บปวดขณะคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดอาการปวด คือ การหายใจแบบช้าเมื่อเจ็บท้องไม่มากนัก เพียงแต่มดลูกหดรัดตัวและคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด ระยะนี้ส่วนใหญ่จะมีสมาธิในการควบคุมการหายใจช้า ๆ ได้ แต่เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น จะไม่สามารถควบคุมการหายใจให้ช้าได้  จึงค่อยเปลี่ยนเป็นการหายใจแบบเร็ว

แต่ไม่ว่าคุณแม่จะหายใจแบบเร็วไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตามจะต้องหายใจล้างปอด คือ  หายใจออกลึก ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเริ่มใช้เทคนิควิธีการหายใจ  และเมื่อสิ้นสุดเทคนิควิธีการหายใจจะต้องปิดท้ายด้วยการหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้งเสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิป : วิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ได้ทราบขั้นตอนวิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดกันแล้วนะคะ  คุณแม่สามารถฝึกตามได้แต่ไม่ต้องออกแรงเบ่งคลอดจริงนะคะ  แต่อย่างไรก็ตามการคลอดจะเป็นไปตามขั้นตอนตามธรรมชาติ  การหายใจจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดให้คุณแม่ได้ทุเลาลงบ้าง

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ คู่มือคุณแม่เตรียมตัวก่อนคลอดและการปฏิบัติตนหลังคลอด  ฉบับสมบูรณ์  ผู้เขียน ปาริชาติ ชมบุญ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ที่สุดในชีวิตกับประสบการณ์การคลอดธรรมชาติ

ลดปวดก่อนคลอดแบบไหน ไม่ต้องใช้ยา