โรคคางทูม เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส หรือหายใจเอาละอองฝอย ของสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งทุกวันนี้การฉีด วัคซีนโรคคางทูม นั้นจะสามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ไปพร้อม ๆ กัน
วัคซีนโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คืออะไร?
ในปัจจุบันมีวัคซีนรวมที่ประกอบไปด้วยเชื้อไวรัสมีชีวิตที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ที่ผลิตจากเชื้อไวรัส Mump, Measles และ Rubella มีข้อบ่งใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ อีกทั้งยังเป็นวัคซีนที่ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย จัดเป็นวัคซีนที่ต้องให้ในเด็กทุกคน
จากการศึกษาพบว่า หลังการให้วัคซีน 2 เข็มในเด็ก จะมีประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคหัดจนถึงในเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่ สำหรับภูมิคุ้มกันต่อโรคคางทูม หลังได้รับเข็มที่ 2 จะมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ร้อยละ 66 – 95 และสำหรับโรคหัดเยอรมันนั้น หลังได้รับวัคซีนเพียง 1 เข็ม จะมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฮิบชนิดรุนแรง
โรคฮิบชนิดรุนแรงมักพบได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม ผู้ที่มีโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ โดยเชื้อฮิบอยู่ในระบบทางเดินหายใจของคนและแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางละอองอากาศ เมื่อผู้ที่มีเชื้อจามหรือไอ และมีการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
โรคหัด – โรคคางทูม – โรคหัดเยอรมัน สามโรคนี้อันตรายอย่างไรบ้าง?
- โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ทำให้มีไข้สูง ไอ ตาแดง ผื่น บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ
- โรคคางทูม เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม ทำให้มีไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- โรคหัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้มีไข้ ผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้ออาจทำให้ทารกตายในครรภ์ หรือพิการแต่กำเนิดได้
วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
ทำมาจากเชื้อไวรัสหัด คางทูม หัดเยอรมัน ที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง ไม่ทำให้เกิดโรคในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ
ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน?
เด็ก
- แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยเข็มแรกฉีดเมื่ออายุ 12 – 15 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4 – 6 ปี (ตำราวัคซีนประเทศไทย 2562 แนะนำเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง)
- หากมีการระบาดของโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน สามารถให้เข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และให้ซ้ำเมื่ออายุ 12 เดือน และ 2 ปีครึ่งตามปกติ
ผู้ใหญ่
- หากไม่เคย หรือไม่ทราบประวัติมาก่อน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
- ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และยังไม่เคยมีประวัติการได้รับวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม และควรฉีดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน
- หากมีการระบาดของโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อัพเดท 65 ประเทศที่รับวัคซีน Covid-19 ล่าสุด
อาการข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน คืออะไร?
- อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามอาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ที่รับวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน มักไม่มีปัญหาใด ๆ
- ปฏิกิริยาที่อาจพบหลังฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน อาจพบไข้ต่ำ ๆ ปวดตามข้อ ผื่น ต่อมน้ำเหลืองโตได้ ตั้งแต่ 6 – 12 วัน หลังฉีดวัคซีน อาการดังกล่าวมักไม่รุนแรง จะหายเองภายใน 2 – 3 วัน ส่วนอาการปวดข้อ จะหายได้ใน 1 – 3 สัปดาห์ ปฏิกิริยารุนแรงพบได้น้อยมาก
- หากมีอาการปวด บวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีนสามารถประคบเย็นได้ และหากมีไข้ต่ำ ๆ สามารถรับประทานยาลดไข้ได้ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
ใครไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด และหัดเยอรมัน?
- ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน และคางคูม
- ผู้หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งที่มีผลต่อไขกระดูก ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีระดับ CD4+ น้อยกว่า 200 cells/microL. หรือน้อยกว่าร้อยละ 15 เป็นต้น
- ผู้ที่ได้รับการถ่ายเลือด หรือได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด (antibody – containing blood product) ภายในระยะเวลา 3 – 11 เดือน เนื่องจากอาจมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคหัด หัดเยอรมัน และคางคูม
- ผู้ที่เจ็บป่วยรุนแรง
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา neomycin แบบ anaphylaxis
ที่มา : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลพญาไท
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!