X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

บทความ 5 นาที
ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA

โดยปกติ เมื่ออายุ 2 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มชันคอ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพลิกคว่ำพลิกหงายในช่วงเดือนที่ 4 แต่หากเจ้าตัวน้อยไม่ชันคอ หรือไม่พลิกคว่ำเสียที ควรนึกถึงโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ไว้ด้วยนะคะ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA คืออะไร

โรค SMA (Spinal Muscular Atrophy) เป็นโรคที่แสดงถึงความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ เนื่องมาจากการเสื่อมของ Motor neuron ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการส่งสัญญาณระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงพบบ่อยแค่ไหน

แทบไม่น่าเชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีสถิติพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคธาลัสซีเมียเชียวนะคะ ถ้าพ่อ-แม่ ต่างเป็นพาหะ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 โดยพ่อแม่มักไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นพาหะของโรคนี้ จนเมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว และพบว่าเจ้าตัวน้อยมีอาการไม่ชันคอ ไม่พลิกคว่ำ จึงได้พาไปลูกไปตรวจและคุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในขณะที่บางรายอาจแสดงอาการเมื่อโตขึ้น

บทความแนะนำ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีกี่ชนิด

โรคนี้พบได้ตั้งแต่ในวัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ หากแสดงอาการตั้งแต่วัยทารกจะมีความรุนแรงสูงกว่า เมื่อแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ค่ะ โดยโรค SMA แบ่งเป็น 4 Type ดังนี้

  • SMA Type I : รุนแรง แสดงอาการในช่วงแรกเกิด – 6 เดือน ผู้ป่วยจะนั่งไม่ได้ การมีชีวิตรอด <2 ปี
  • SMA Type II : ปานกลาง แสดงอาการในช่วง 7– 8 เดือน ผู้ป่วยจะยืนไม่ได้ การมีชีวิตรอด >2 ปี
  • SMA Type III : เล็กน้อย แสดงอาการในช่วง >18 เดือน ผู้ป่วยอาจต้องนั่งรถเข็นในวัยผู้ใหญ่ การมีชีวิตรอด >2 ปี
  • SMA Type IV : แสดงอาการในช่วง >18 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยอาจต้องนั่งรถเข็นเมื่ออายุราว 50-60 ปี

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA เป็นอย่างไร

  • หากเกิดในวัยทารก (SMA Type I) ลูกน้อยจะมีอาการสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวแขนและขาได้น้อย มักจะคว่ำหรือนั่งไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการคลาน การเดิน อีกทั้งยังสูญเสียการควบคุมในส่วนของศีรษะและลำคอ ร้องเสียงเบา ดูดนมได้ลำบาก หายใจลำบาก อาการของโรคนี้จะเป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลืนอาหารไม่ได้ เพราะสำลักหรือไม่มีแรงพอ อาจต้องให้อาหารทางสายอาหาร มีกล้ามเนื้อลีบลงมาก อาจมีความผิดปกติของข้อกระดูก และมีปัญหาใหญ่ที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อยๆ คือการติดเชื้อของทางเดินหายใจเพราะมีการสูดสำลัก มีเสมหะมาก และไม่มีแรงที่จะไอออกได้ เกิดปอดบวมบ่อยๆ จนในที่สุดต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดไป และเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนนี้
  • หากอาการของโรคเริ่มเมื่อทารกอายุมากกว่า 2 เดือนไปแล้ว (SMA Type II) ทารกมีพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหวบ้างอย่างช้าๆ เช่น จับนั่งได้ แต่ลุกนั่งเองไม่ได้ มักจะถูกพามาพบแพทย์เนื่องจากตัวอ่อนปวกเปียกและพัฒนาการช้า การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และการตรวจพบต่างๆ จะคล้าย SMA Type I มักจะพบปลายนิ้วมือนิ้วเท้าสั่นเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ แต่มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่า จึงมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า
Advertisement
  • หากอาการของโรคเริ่มประมาณอายุ 18 เดือนขึ้นไป (SMA Type III) และการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ มากขึ้นอย่างช้าๆ เด็กจะเดินและเคลื่อนไหวแขนและขาได้ดี มักจะตรวจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อโคนขามากกว่าส่วนปลาย และมักจะมีการสั่นตัวของกล้ามเนื้อตามตัว ความรุนแรงของโรคน้อยโดยโรคจะค่อยๆ ดำเนินไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจะยังคงเดินได้จนอายุ 15-40 ปี

ข้อควรระวัง : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA จะแสดงอาการที่รุนแรงขึ้น เมื่อมีการตั้งครรภ์ในครั้งถัดไป ซึ่งลูกที่เกิดมานั้นจะมีอาการรุนแรง มากกว่าลูกคนก่อนหน้าอีกด้วย

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงป้องกันได้หรือไม่

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมก่อนมีบุตร รวมถึงตรวจยีนพาหะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ก่อนมีบุตร เพื่อให้แน่ใจว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เป็นพาหะของโรคดังกล่าว

หรือหากคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะก็สามารถใช้เทคนิค PGD-PCR ซึ่งเป็นเทคนิคในการคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนปลอดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในการทำเด็กหลอดแก้วได้ค่ะ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาอย่างไร

โดยปกติผู้ป่วยจะต้องการการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องของการดูแลกล้ามเนื้อปอด ระบบประสาท กระดูก ข้อต่อ และการทำกายภาพบำบัด หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดตามความจำเป็น รวมทั้งการดูแลในเรื่องของโภชนาการที่ถูกต้อง

แม้ว่าโรค SMA อาจจะจบลงด้วยการเสียชีวิตตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่ก็มีผู้ที่เป็นโรคนี้และมีชีวิตจนเป็นผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งแก่ก็ได้ ช่วงชีวิตที่อยู่ได้มีผลอย่างมากจากความรุนแรงของโรคในแต่ละคน และมีเด็กที่ตรวจพบว่าเป็น SMA Type I ที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่เช่นกันค่ะ

หากคุณมีประสบการณ์โรค SMA ร่วมแบ่งปันข้อมูล และคำแนะนำแก่คุณแม่ท่านอื่นๆ ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างนะคะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก
www.banmuang.co.th, www.suriyothai.ac.th, www.facebook.com/thisable, https://pond-in-icu.blogspot.com

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกน้อยส่งสัญญาณลูกจะคลานแล้วจ้ะแม่

เช็คพัฒนาการลูกน้อยขวบปีแรก สิ่งที่ลูกควรทำได้ในแต่ละช่วง

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกไม่พลิกคว่ำ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA
แชร์ :
  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว