เวลาป้อนยาลูก ๆ คุณพ่อคุณแม่อ่านฉลากกันก่อนรึเปล่าคะ ว่าเด็กๆ สามารถกินได้ไหม มีตัว ยาอันตราย ที่ไม่ควรให้ลูกกินบ้างรึเปล่า ต่อไปคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องจดไว้ ว่าถ้าหากมีตัวยาโคเดอีน (Codeine) Codesiaคือยาอะไร ในยาแก้ไอหรือยาแก้ปวด ต้องไม่ให้ลูกกินเด็ดขาดนะคะ
โคเดอีน ผู้ร้ายในคราบนักบุญ !!! Codesia คือยาอะไร
ตัวยาโคเดอีน ถือว่าเป็นยาเสพติด แต่เนื่องจากออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นความรู้สึกเจ็บปวดของร่าง จึงมักผสมอยู่ในยาแก้ปวด และออกฤทธิ์ระงับอาการไอได้จึงมีการผสมไว้ในยาแก้ไอ มีทั้งยาเม็ดและยาน้ำ เป็น ยาอันตราย
ยาอันตราย-01
เนื่องจากผลข้างเคียงจากการใช้โคเดอีนนั้น อาจจะทำให้การหายใจมีภาวะติดขัด ทำให้ไปกดการหายใจ เสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง จึงทำให้มีรายงานการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี จำนวน 2 คน และเด็กที่มีอายุมากกว่า 12 ปี เสียชีวิตไป 24 คน และอีก 64 คน มีอัตราการหายใจที่ต่ำลง
ยาอันตราย-02
โคเดอีน ซื้อได้ ไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ และทันตแพทย์เด็กในสหรัฐอเมริกา ได้รับข้อมูลให้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการใช้งานยาโคเดอีน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กๆ เป็นอันดับแรก โดยให้เลือกตัวยาที่ออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันแต่มีความปลอดภัยสูงกว่ามาใช้แทน
ยาที่มีส่วนผสมของตัวยาโคเดอีน หาซื้อได้ง่ายในร้านขายยาทั่วไป ทำให้คนที่ต้องตระหนัก และเฝ้าระวังภัยให้กับลูกน้อย คือคุณพ่อคุณแม่ยังไงละคะ
การไอ เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่ร่างกายใช้ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ เช่น สูดดมฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน พูดคุยเสียงดังจนทำให้รู้สึกเจ็บคอ หรือมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เป็นต้น
ปกติแล้วเมื่อเด็กมีอาการไอจะต้องปรึกษาเภสัชกรก่อนเพื่อเลือกยาที่ถูกต้อง ซึ่งข้อมูลที่เภสัชกรจะถามก็คือ อายุของลูก น้ำหนักตัว บางคนจะซักถามถึงอาการไอด้วย จากนั้นจึงจะจัดยาและแนะนำวิธีการใช้ให้อย่างละเอียด
ยาอันตราย-03
ทั้งนี้ยาแก้ไอเป็นเพียงตัวช่วยบรรเทาอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในเด็ก เช่น Acetylcysteine เพราะต้องระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ เช่น Dextromethorphan เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นก่อนซื้อยาแก้ไอให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบสาเหตุการไอของลูกก่อน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากลักษณะของการไอ
- ไอเนื่องจากหวัด ลูกอาจมีไข้ น้ำมูกไหล ระคายคอ และไอได้ ปกติแล้วเมื่อหวัดหาย อาการไอก็จะหายตามไปด้วย
- ถ้าไอมีเสมหะด้วย อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ หรือมีการติดเชื้อ
- ถ้าไอก้องๆ อาจบ่งถึงการอักเสบที่ท่อลมขนาดใหญ่ เช่น ที่กล่องเสียง หรือไอจนติดเป็นนิสัย
- ถ้าไอแล้วเสียงแบบหมาเห่า อาจเกิดจากโรคครูป (Croup) อาการติดเชื้อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ บวมที่กล่องเสียงและหลอดลม สาเหตุของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน
- ไอต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ อาจสำลักสิ่งแปลกปลอม การติดเชื้อคลามัยเดีย เชื้อไอกรน
- ไอมากเวลากลางคืน อาจเป็นไซนัสอักเสบหรือโรคหอบหืด
- ไอในตอนเช้า อาจเกิดจากโรคหลอดลมโป่งพอง
- ไอเพราะเจ็บคอ เพราะชอบพูดคุยนเสียงดัง ชอบร้องตะโกน หรือร้องกรี๊ด
เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่พิจารณาในเบื้องต้น ลองมาดูว่ามียาแก้ไอสูตรน้ำสำหรับเด็กในท้องตลาดแต่ละยี่ห้อเป็นอย่างไรบ้าง
สรุป ยาแก้ไอสำหรับเด็กส่วนมากจะปราศจากแอลกอฮอล์ และ บางยี่ห้อจะไม่มีทั้งน้ำตาล และ แอลกอฮอล์ เช่น แอมโบรเล็กซ์ ดูทรอส และ โซลแมค คิดส์ ซึ่งข้อดีก็คือจะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันผุนั่นเอง นอกจากนี้ เอกสารกำกับยาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อบ่งใช้ยาชนิดนั้น ๆ ทุกยี่ห้อมีเอกสารกำกับแนบมายกเว้น มิวโคนอร์ ไซรัป ที่ระบุข้อความไว้ข้างกล่อง โดยเอกสารกำกับยาของ แอมโบรเล็กซ์ และ โซลแมค คิดส์ ค่อนข้างละเอียด ข้อมูลครบถ้วน ส่วนกลิ่นและรสชาตินั้น โซลแมค คิดส์ และเฟลมเม็กซ์ คิดส์ มีกลิ่นหอม และรสผลไม้ตามฉลาก ทานง่าย ส่วนอีก 3 ยี่ห้อ มีรสขมนำ ขณะเดียวกัน แอมโบรเล็กซ์ มีฝาขวดค่อนข้างเล็ก ทำให้เปิดใช้งานยาก ทั้งนี้ยาแก้ไอเป็นเพียงตัวช่วยบรรเทาอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในเด็ก เช่น Acetylcysteine เพราะต้องระวังในผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ เช่น Dextromethorphan เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นก่อนซื้อยาแก้ไอให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบสาเหตุการไอของลูกก่อน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากลักษณะของการไอ
ที่มา reuters
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซื้อยาปฏิชีวนะมาให้ลูกกินเอง อันตรายถึงชีวิต!
ให้ลูกกินยาแก้แพ้ทุกวัน อันตรายไหม?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!