สาเหตุที่ ลูกนอนกรน มาจาก 3 ปัจจัย
- ต่อมท่อน้ำเหลืองรอบทางเดินหายใจมีขนาดใหญ่ เช่น ต่อมทอนซิลอะดีนอยด์โต รวมถึงโพรงจมูกอุดกั้น เช่น ในเด็กที่เป็นภูมิแพ้
- มีโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสรีระใบหน้า เช่น ความผิดปกติของพันธุกรรม หรือความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด เช่น เด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม จะมีใบหน้าผิดปกติ ลิ้น ผิดระยะ ทำให้ทางเข้าของลมหายใจมีน้อย
- กรามเล็ก หรือกรามหดเข้าไปข้างใน ทำให้ช่องทางเดินหายใจเล็กลง
กลุ่มเสี่ยงโรคนอนกรน
- เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคระบบทางเดินหายใจ มีอาการของต่อมทอนซิล หรือต่อมอดีนอยด์โตผิดปกติ
- เด็กที่มีรูปร่างอ้วน น้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
- บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนอนกรน
ลูกการนอนกรน ส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไร
พบภาวะนอนกรนที่เป็นอันตรายในเด็กเพิ่มขึ้นประมาณ 10% โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ระหว่างอยุ 2-6 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์จะโตขึ้น ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ จนเกิดเสียงกรนดังขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของลูก
เมื่อลูกนอนกรน จะทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ เนื่องจากร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ และจะอันตรายมากเมื่อมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย เพราะการหยุดหายใจตอนหลับมีผลทำให้ออกซิเจนในเลือดลดลง หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายมากขึ้น หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีอาการหัวใจโตขึ้น ในรายที่เป็นรุนแรงอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้
หากลูกนอนกรน ในเบื้องต้นควรทำอย่างไร
- ดูแลสภาพแวดล้อมในห้องนอนของลูก ว่าขัดขวางสุขลักษณะการนอนที่มีคุณภาพหรือเปล่า เช่น อากาศไม่ถ่ายเท มีแสงสว่างส่องตาลูก อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป มีอะไรมาปิดกั้นการหายใจของลูกหรือเปล่า เช่น หมอน ผ้าห่ม
- บตรวจดูว่าลูกน้อยมีน้ำมูกหรือเปล่า เพราะหากลูกเป็นหวัด มีน้ำมูกก็เป็นอุปสรรคต่อการนอน ทำให้ ลูกนอนกรนได้ หากพบว่าลูกมีน้ำมูก ควรจัดการล้างจมูกของลูกให้โล่ ลูกก็จะหายกรนเอง
- ให้ลองจับลูกนอนตะแคง จะช่วยลด อาการนอนกรนของลูกลงได้
อ่านต่อ สัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ควรจับตา คลิกหน้าถัดไป>>
สัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ควรจับตา
- ลูกอ้าปากหายใจ
- นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ
- เสียงกรนขาดๆ หายๆ หายใจเฮือกเหมือนขาดอากาศ
- นอนกระสับกระสาย นอนหลับไม่สนิท ตื่นนอนบ่อย
- หยุดหายใจขณะหลับ หน้าอกไม่ขยับขึ้นลง
- รอบปากเขียว หรือริมฝีปากคล้ำขณะหลับ
- ปวดหัวตอนเช้า ง่วงนอนตอนกลางวัน
- เหงื่อออกมาก และปัสสาวะรดที่นอนหลังอายุ 5 ปี
- หายใจเข้าแล้วหน้าอกยุบแต่ท้องป่องซึ่งถือว่าผิดปกติ เพราะปกติเวลาคนเราหายใจเข้าแล้วหน้าอกต้องขยายแต่ท้องยุบ
- การเจริญเติบโตและมีพัฒนาการช้า ผลการเรียนตกต่ำลง
- ก้าวร้าว สมาธิสั้น ซน และปัญหาด้านพฤติกรรมอื่นๆ
หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ให้ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ
วิธีตรวจวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ
ปัจจุบันจะวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ด้วยการตรวจ Polysomnography (PSG) เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้ ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดทั้งรูปแบบการหายใจ ลักษณะคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ระดับความอิ่มตัวของก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ขณะหลับ โดยนอกจากจะทำให้ทราบว่าลูกน้อยเกิดภาวะดังกล่าวหรือไม่แล้ว การตรวจ PSG ก็ยังสามารถบอกระดับความรุนแรงของโรคได้ด้วย
การรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก
แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงของโรค อายุของ และความร่วมมือของผู้ป่วย หากไม่รุนแรงจะเน้นการดูแลสุขอนามัยในการนอน ควบคุมอาหาร หรือใช้ยารับประทานและยาพ่นจมูก หากจำเป็นอาจต้องผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลออก นอกจากนี้ยังมีการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ ชนิด non invasive ในขณะหลับ ตลอดจนการผ่าตัดแก้ไขรูปหน้าและจมูก เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ลูกนอนกรนเสียงดัง ควรปรึกษาคุณหมอเมื่อใด?
5 วิธีแก้สามีนอนกรน ทำยังไงไม่อยากให้สะเทือนหู
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!