ลูกดิ้นเพราะอะไร แม่ท้องแยกออกไหม บิดขี้เกียจ รำคาญ ชอบใจ หรือใกล้คลอด ลูกดิ้นแบบนี้ อยากบอกอะไรคุณแม่นะ ถ้าลูกไม่ดิ้นจะเป็นอย่างไร อันตรายไหม แล้วจะนับลูกดิ้นด้วยวิธีไหนดี แล้วการดิ้นบอกเพศลูกได้ไหม เราไปหาคำตอบพร้อมกันเลย
ลูกดิ้นเพราะอะไร
ลูกเริ่มดิ้นเมื่อไหร่
ลูกดิ้นเพ ราะอะไร
โดยทั่วไปแล้ว ลูกในท้องจะเริ่มดิ้น เมื่อมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 16-20 สัปดาห์ ซึ่งการดิ้นของเจ้าตัวน้อยจะเป็นการเคลื่อนไหวต่อเนื่องนานกว่า 20 วินาที
เมื่ออายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะดิ้นประมาณ 200 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง และทารกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนอายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะดิ้นประมาณ 575 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะดิ้นน้อยลงเรื่อยๆ จนเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ทารกก็จะดิ้นประมาณ 282 ครั้ง ใน 12 ชั่วโมง
เด็กดิ้น เพราะอะไร
ลูกดิ้นเพร าะอะไร
การที่ลูกดิ้นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งโดยปกติแล้ว การที่ลูกดิ้น หรือการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์นั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกในท้องแข็งแรงดี และยังอยู่ในภาวะปกติ แต่ถ้ามีภาวะเครียด เช่น ขาดออกซิเจน การไหลเวียนของเลือดที่รกลดลง ก็จะทำให้ทารกเคลื่อนไหวน้อยลง หรือหยุดเคลื่อนไหว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายได้ อีกทั้งยังเชื่อว่าการดิ้นของทารก เกิดจากการกดระบบประสาท หรืออาจเป็นเพราะร่างกายต้องการลดพลังงาน และออกซิเจน นอกจากนี้ การดิ้นของทารกตามปกติ ก็อาจจะเป็นเพราะลูกน้อยอยากบอกอะไรบางอย่างกับคุณแม่ เช่น
1. หนูตื่นแล้วนะ
ลูกดิ้นเพร าะอะไร
ลูกน้อยในท้องของคุณแม่หลายคน มักจะชอบดิ้นมากเป็นพิเศษในตอนกลางคืน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ใช้พลังงานน้อยลง จึงทำให้เลือดที่ออกมาจากหัวใจของคุณแม่ถูกส่งไปยังมดลูกมากขึ้น ลูกน้อยได้รับออกซิเจนมากขึ้น ลูกในท้องจึงเริ่มดิ้น เริ่มขยับตัวบิดขี้เกียจ หลังจากที่นอนคุดคู้อยู่ในท้องของคุณแม่มาทั้งวัน เพื่อบอกให้คุณแม่รู้ว่า “หนูตื่นแล้วนะ”
2. แม่จ๋าอย่ากวนหนู
ลูก ดิ้นเพราะอะไร
บางครั้ง ลูกอาจจะดิ้นมากในช่วงก่อน และหลังมื้ออาหาร ซึ่งคุณแม่ก็อาจจะเข้าใจว่าลูกหิว หรืออิ่ม แต่จริงๆแล้ว ด้วยความที่ลำไส้ที่ขดไปขดมานั้น อยู่ในตำแหน่งเหนือมดลูก บริเวณที่ลูกน้อยนอนหลับอยู่ เวลาเสียงท้องของคุณแม่ร้องเสียงดังรบกวนลูก หรือมีเสียงอาหารที่ถูกย่อย ทำให้ลูกน้อยที่นอนหลับอยู่ ตื่นขึ้นมาเพราะถูกรบกวน ลูกจึงดิ้นเพื่อบอกคุณแม่ว่าหนูไม่ชอบนะ นั่นเอง
3. หนูชอบนะ
คุณแม่เคยสังเกตไหมว่า ลูกน้อยในครรภ์อาจดิ้นแรงเป็นพิเศษ หรือดิ้นถี่ๆ เวลาที่ได้ยินเสียง หรือเวลาที่คุณแม่ทำกิจกรรมบางอย่าง เช่นเวลาเปิดเพลง ร้องเพลง หรือเวลาที่คุณแม่เอามือลูบท้อง ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยมีการตอบสนองต่อกิจกรรมนั้นๆเป็นพิเศษ เวลาที่คุณแม่อารมณ์ดี ลูกในท้องก็อาจชอบใจ และอารมณ์ดีตามไปด้วยเหมือนกัน
ลูกดิ้นเพราะอะไร
ถ้าลูกไม่ดิ้น จะเป็นอย่างไร
การดิ้นของลูก เป็นสัญญาณบอกถึงการมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์มากขึ้น หากคุณแม่ท้องพบว่า ลูกไม่ดิ้น ลูกดิ้นน้อย ลูกดิ้นผิดปกติไปจากทุกวัน หรือไม่แน่ใจว่าลูกดิ้นปกติหรือไม่ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจประเมินอย่างละเอียด และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้
ลูกดิ้นเพราะอะไร
นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการดิ้นของลูกเอาไว้ว่า เริ่ม นับลูกดิ้น หลังจากที่อายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นช่วงที่ลูกน้อยในครรภ์ จะมีการดิ้นที่สม่ำเสมอ เนื่องจากระบบสมอง และเส้นประสาทมีการพัฒนาดีแล้ว
ในการนับลูกดิ้นนั้น สิ่งที่จะนับว่าเป็นการดิ้น ได้แก่ การเตะ ต่อย ถีบ กระทุ้ง หมุนตัว ดัน และโก่งตัวครับ แต่ถ้าทารกในครรภ์สะอึก จะไม่นับว่าเป็นการดิ้นนะครับ
ส่วน วิธีนับลูกดิ้น นั้น คุณหมอแนะนำไว้ว่า การดิ้น 1 ครั้ง จะนับเป็น 1 ครั้ง แต่ถ้าลูกดิ้นเป็นชุด หรือดิ้นต่อเนื่องหลายครั้งติดกัน ก็จะนับเป็น 1 ครั้งเช่นเดียวกันครับ
วิธีนับลูกดิ้น
สำหรับวิธีนับลูกดิ้นที่นิยมใช้กันมี 2 วิธี ดังนี้ครับ
วิธีนับลูกดิ้นของ Cardiff (count-to-ten)
- นับการดิ้นหลังจากตื่นนอน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า จนครบ 12 ชั่วโมง
- ถ้านับการดิ้นได้ น้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 12 ชั่วโมง แปลว่าผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
วิธีนับลูกดิ้นของ Sadovsky
- นับการดิ้นหลังทานอาหารแต่ละมื้อ (เช้า, กลางวัน, เย็น) โดยนับการดิ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร
- ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง แปลว่าปกติ
- ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง ภายใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีกจนครบ 4 – 6 ชั่วโมง
- ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป แปลว่าปกติ และติดตามการดิ้นหลังมื้ออาหารถัดไป
- ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง แปลว่าผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
- ถ้านับการดิ้นทั้งหมดได้ น้อยกว่า 12 ครั้ง ต่อวัน แปลว่าผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
คุณแม่สามารถใช้วิธีที่สะดวกยิ่งขึ้น กับแอปพลิเคชั่น theAsianparent ที่มีโหมดช่วย นับลูกดิ้น ดาวน์โหลดแอป คลิกทางนี้เลยค่ะ > https://theasianparent.page.link/tapTHsocial
ลูกดิ้นบอกเพศได้ด้วยนะ
นอกจากวิธีอัลตราซาวด์แล้ว เชื่อกันว่า เราสามารถทำนายเพศลูก จากการดิ้นของลูกในท้องได้ด้วยนะครับ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆมายืนยันถึงความแม่นยำของเรื่องดังกล่าว แต่หากคุณแม่ท่านใดจะลองทายเพศลูก จากการดิ้นของลูกในท้องดู ก็ไม่เสียหายอะไร และหากได้ผลแม่นยำหรือไม่อย่างไร ก็อย่าลืมมาแชร์ให้เราฟังกันได้นะครับ โดยวิธีการก็มีดังนี้
ลูกดิ้นเพราะอะไร
1. ตั้งท้องไม่นานก็รู้สึกว่าลูกดิ้นแล้ว
โดยทั่วไปแล้วคุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นในราวๆสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ แต่สำหรับคุณแม่บางคนก็อาจรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นเร็วกว่านั้น หรือตอนราวๆสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ และหากว่าคุณรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นก่อนสัปดาห์ที่ 20 นั่นก็อาจเป็นสัญญาณที่ว่ามีความเป็นไปได้ที่คุณอาจจะได้ลูกผู้ชาย
2. ลูกดิ้นบ่อย
หากว่าลูกในท้องดิ้นบ่อย ก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจจะได้ลูกสาว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทารกในครรภ์เพศหญิงมักจะมีความแข็งแรงกว่าทารกในครรภ์เพศชาย โดยมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า โครโมโซม XX ของทารกเพศหญิงนั้นจะมีความคงที่กว่าโครโมโซม XY ของทารกเพศชาย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมทารกเพศหญิงดิ้นบ่อยกว่าทารกเพศชายนั่นเองครับ
3. ลูกดิ้นแรง
บางครั้งหากคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นแรงมาก หรือรู้สึกเหมือนกับว่าลูกกำลังเตะอยู่ในท้อง ก็อาจจะเป็นไปได้ที่คุณแม่จะมีโอกาสได้ลูกชาย เพราะทารกในครรภ์ที่เป็นผู้หญิงนั้นอาจจะดิ้นบ่อยกว่า แต่จะดิ้นเบากว่า ในขณะที่ทารกในครรภ์เพศชายอาจจะชอบดิ้นแรงๆ หรืออาจมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก หรืออาจจะชอบเตะเหมือนว่าเค้ากำลังเตรียมพร้อมที่จะเล่นฟุตบอล
การดิ้นของลูกนั้น นอกจากจะบ่งบอกถึงความแข็งแรงภายในครรภ์ ที่คุณแม่มองไม่เห็น แต่การดิ้นของลูก ยังบอกอะไรได้หลายอย่าง รวมถึงทำให้คุณแม่มีความสุข ที่ได้รับรู้ความเป็นไปของลูกในท้องอีกด้วย จริงไหมครับ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น แม่ท้องต้องทำแบบนี้นะ
จำความรู้สึกนั้นได้ไหม ลูกดิ้นครั้งแรกรู้สึกอย่างไร
ไม่เป็นแม่ไม่รู้หรอกว่า ร่างกายคนท้อง เปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!