ติ่งเนื้อ (skin tags หรือ acrochordon) คือ เนื้องอกขนาดเล็กที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่ถูกเสียดสีกับเสื้อผ้า หรือแม้แต่ผิวหนังด้วยกันเอง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ ลำคอบริเวณรอยพับ รักแร้และขาหนีบ เปลือกตาบนและใต้ตา ตามบริเวณที่เป็นแนวเสื้อชั้นใน
ส่วนใหญ่แล้วติ่งเนื้อจะเกี่ยวข้องกับคนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน มากกว่าการเกิดในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ค่ะ ส่วนใหญ่แล้วติ่งเนื้อจะมีสีเดียวกับสีผิว หรือสีที่คล้ำกว่าเล็กน้อย และมีขนาดตั้งแต่เล็กมากๆ ใช้วิธีสะกิดหรือดึงเองก็อาจจะหลุดได้ ไปจนถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร
วิธีสังเกตติ่งเนื้อที่เกิดขึ้น
- ส่วนใหญ่แล้วติ่งเนื้อจะไม่ได้ส่งผลอะไรต่อร่างกาย ลักษณะคล้ายกับหูดขนาดเล็ก แต่ไม่รู้สึกเจ็บปวด และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ไม่จำเป็นต้องรักษา
- ติ่งเนื้อที่ติดเชื้อหรืออักเสบเท่านั้น ที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด และหากมีเลือดออก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการรักษาค่ะ
- ระหว่างการตั้งครรภ์ผิวหนังบริเวณท้องที่มีการขยาย อาจจะทำให้เกิดติ่งเนื้อบริเวณนั้นได้
- ติ่งเนื้ออาจจะขึ้นมาหลังคลอดลูก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นอาจจะหลุดเองในไตรมาสที่ 2 และ 3 เป็นเรื่องปกติค่ะ
สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อขณะตั้งครรภ์
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- พันธุกรรม
- การเติบโตของเซลล์ในชั้นผิวหนัง
ความแตกต่างระหว่าง ติ่งเนื้อ กับ หูด
- ผิวบริเวณที่เป็นหูดจะหยาบและมีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอ ขณะที่ผิวที่เป็นติ่งเนื้อจะเรียบและเนียนนุ่ม
- ติ่งเนื้อจะไม่เป็นเยอะในบริเวณเดียวกัน หูดจะแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในร่างกายของคุณแม่
- หูดจะแบนกว่า แต่ติ่งเนื้อจะเห็นเป็นตุ่มหรือติ่งออกมาจากผิวหนัง
วิธีการกำจัดติ่งเนื้อระหว่างการตั้งครรภ์
- ผ่าตัดเล็ก
- ถ้าติ่งเนื้อมีขนาดเล็กมาก เพียงแค่การดึงเบาๆ ก็ออกเองแล้วค่ะ
- ใช้ไหมขัดฟันหรือสำลีผูกที่ฐานของติ่งเนื้อ เมื่อไม่มีเลือดไหลเวียนไปยังบริเวณนั้น ติ่งเนื้อก็สามารถหลุดออกไปเองได้ค่ะ
- คุณหมอจะใช้กรรไกรที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วตัดออก
- แต่หากเจ็บปวดบริเวณติ่งเนื้อ มีเลือดออกมากขึ้นให้รีบไปพบแพทย์นะคะ
ติ่งเนื้อแบบไหนที่ต้องระวัง
- การกำจัดติ่งเนื้อด้วยตัวเอง เสี่ยงติดเชื้อ สแตฟฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) ซึ่งเป็นสาเหตสำคัญของการเกิดโรคฝีหนอง
- ห้ามใช้ครีมหรือยาทา เนื่องจากตัวยาจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด และส่งผลเสียไปที่ลูกในครรภ์ได้ค่ะ
- หากติ่งเนื้อเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือสีอื่นๆ ให้รีบปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาจจะกลายเป็นมะเร็งได้นั่นเองค่ะ
ที่มา MomJunction
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สรีระร่างกายตอนตั้งครรภ์ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?
5 ปัญหาผิวแม่ท้องที่ต้องเจอระหว่างตั้งครรภ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!