X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHN

บทความ 3 นาที
พ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHN

ใจแทบสลาย เมื่อคุณหมอโทรมาบอกว่า ลูกเสียชีวิตแล้ว หลังป่วยเป็นโรค PPHN

เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ แชร์เรื่องราวการสูญเสียลูกวัยไม่ถึงเดือนผ่านเพจชื่อดังอย่าง เพจว่าที่คุณแม่ หญิงตั้งครรภ์ และมีบุตร ว่าต้องสูญเสียลูก เพราะน้องป่วยเป็นโรค PPHN หรือภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

โรค PPHN

ทั้งที่ตอนตั้งครรภ์ คุณหมอตรวจแล้วว่า หัวใจของลูกปกติดีทุกอย่าง แต่หลังจากที่คลอดน้องและพาน้องมาอยู่บ้านได้เพียงอาทิตย์เดียว ก็ต้องนำน้องกลับไปโรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากน้องมีอาการหายใจเร็วและแรง มีเสียงฟิต ๆ โดยก่อนตรวจนั้น น้องมีอาการปากคล้ำ ใต้เล็บคล้ำ ตัวเหลือง หายใจแรงผิดปกติ จึงต้องทำให้น้องเข้าพักรับการรักษาตัวเพื่อเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด

หมอกล่าวว่า โรคนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับเด็กทารก ซึ่งแม้แต่หมอเองก็ไม่สามารถบอกถึงสาเหตุการเกิดในครั้งนี้ได้ จนกระทั่งคุณหมอโทรมาบอกว่าน้องเสียแล้ว หลังจากที่เข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน

โดยคุณพ่อคุณแม่อยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ ผ่านทางเพจดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ว่า ขอให้คุณแม่ ๆ ทุกท่านที่คลอดน้องออกมาแล้ว สังเกตลูกของตัวเองตลอดเวลา ถ้ามีอาการหายใจเร็วและแรง มีเสียงดัง ปากคล้ำ ใต้เล็บคล้ำ น้องดูดนมได้ไม่ค่อยดี อย่ารอช้า ให้รีบพาน้องไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของน้องด้วยนะคะ และขอเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ

Advertisement

ที่มา: Chatree Saykeaw และ เพจว่าที่คุณแม่ หญิงตั้งครรภ์ และมีบุตร

และเพื่อเป็นประโยชน์เพิ่มเติมแก่คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ เรามาทำความรู้จักกับโรค PPHN ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

โรค PPHN ในทารกแรกเกิดมีสาเหตุจากอะไร?

จริงๆแล้วภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดยังไม่สามารถหาสาเหตุของ การเกิดที่ชัดเจนได้ แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งในต่อไปนี้

1. การหดตัวของหลอดเลือดในปอดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นของทารกในช่วงแรกเกิดใหม่ๆ เช่น ภาวะขาดออกซิเจนของปอด จาก ภาวะพร่องออกซิเจนระหว่างคลอด ภาวะสูดสำลักขี้เทา ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด ปอดอักเสบติดเชื้อ ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะตัวเย็นกว่าปกติ หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น

2. เส้นเลือดในปอดผิดปกติ จากการสร้างและเจริญเติบโตที่ผิดปกติของปอด ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เช่น ภาวะไส้เลื่อนกระบังลมไปกดปอด ภาวะน้ำคร่ำน้อย

นอกจากนี้ยังมีทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุได้

โรค PPHN เป็นอย่างไร?

ทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง ร่างกายจะขาดออกซิเจน จึงมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ตัวเขียว ความดันโลหิตต่ำ และช็อคได้ นอกจากนี้คุณหมออาจตรวจร่างกายพบความผิดปกติต่างๆที่เป็นสาเหตุ เช่น มีขี้เทาติดตามตัว ถ้าเกิดจากภาวะสูดสำลักขี้เทา มีเสียงปอดผิดปกติ ถ้าเกิดจากภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด ปอดอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น

คุณหมอจะวินิจฉัยโรค PPHN ได้อย่างไร?

หากทารกแรกเกิดมีอาการและอาการแสดงของขาดออกซิเจนมาก โดยไม่ได้มีความผิดปกติที่รุนแรงชัดเจนของปอด คุณหมออาจสงสัยภาวะนี้ ซึ่งสามารถทำการตรวจเพิ่มเติมต่างๆเพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ได้หลายวิธีร่วม กัน เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เจาะเลือดดูค่าออกซิเจนในหลอดเลือดแดง เอกซเรย์ปอด เป็นต้น

การรักษาโรค PPHN ทำได้อย่างไร?

การรักษาภาวะนี้มีหลักการคือ การลดความต้านทานและความดันเลือดในปอด และทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ การให้ยาขยายหลอดเลือดแดงในปอด การระวังและแก้ไขภาวะความเป็นกรดของเลือด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอ และการรักษาประคับประคอง เช่น ให้สารอาหารที่เพียงพอ และการรักษาตามอาการอื่นๆ จนกว่าปอดของทารกจะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งต้องเฝ้าดูอาการกันอย่างใกล้ชิดมาก ช่วงแรกจึงจำเป็นต้องสังเกตอาการในไอซียูทารกแรกเกิด

ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่มีความรุนแรงสูง เพราะมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก วิธีการป้องกันที่พอจะทำได้คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะขาดออกซิเจนช่วงแรกเกิด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรไปตามนัดฝากครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

จูบมรณะ! เกือบคร่าชีวิตเด็กแรกเกิด

5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พ่อแม่ใจสลาย ลูกเสียเพราะป่วยเป็นโรค PPHN
แชร์ :
  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว