X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พ่ออายุมาก สาเหตุหนึ่งของโรค Apert Syndrome

บทความ 3 นาที
พ่ออายุมาก สาเหตุหนึ่งของโรค Apert Syndrome

ทำความรู้จักโรคเอแพร์ หรือ Apert syndrome โรคที่ทำให้พิการแต่กำเนิด โดยมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ และส่วนใหญ่เกิดกับเด็กที่ พ่อมีอายุมาก

พ่ออายุมาก สาเหตุหนึ่งของโรค Apert Syndrome

โรคเอแพร์ (Apert syndrome) เป็นความพิการแต่กำเนิดที่มีความลักษณะที่สำคัญคือ รอยต่อของกะโหลกศีรษะและใบหน้าเชื่อมติดกันเร็วกว่าปกติ ร่วมกับความผิดปกติอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย

กลุ่มอาการที่สำคัญของโรคเอแพร์ (Apert syndrome)

-กะโหลกศีรษะรูปร่างผิดปกติ ทำให้กดรัดสมองไม่สามารถเจริญขยายไปได้ตามปกติ อาจเป็นสาเหตุของปัญหาทางด้านสมองหรือปัญญาอ่อนได้

บทความแนะนำ พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์

-ใบหน้าส่วนกลางไม่เจริญเติบโต ใบหน้าจึงมีลักษณะเว้าแบน ฟันบนอยู่หลังฟันล่าง

-ตาโปน หน้าผากโปน

-กระบอกตาห่างกัน

-ทางเดินหายใจแคบ หายใจลำบาก

-นิ้วมือนิ้วเท้าเชื่อมติดกันมาแต่กำเนิดแบบตีนเป็ด ทำให้เคลื่อนไหว หรือใช้มือเท้าได้ไม่สะดวก

บทความแนะนำ พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

สาเหตุและสถิติในการเกิดโรคเอแพร์

โรคเอแพร์ (Apert syndrome) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม และถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้แบบยีนเด่น หากเป็นคนแรกในครอบครัว มักเกิดจากพ่อที่มีอายุมาก สามารถพบได้ 1 ใน 50,000-100,000 คน

การรักษา Apert syndrome

เนื่องจากโรคเอแพร์เป็นความผิดปกติจากกรรมพันธุ์ หรือมียีนส์ผิดปกติ จึงไม่สามารถแก้ไขหรือ ป้องกันได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ และเพื่อบรรเทาความพิการต่างๆ ดังนี้

– ควรได้รับการผ่าตัดเพื่อขยายกะโหลกศีรษะ ให้สมองมีพื้นที่ในการขยายตัวและเจริญเติบโต รวมทั้งผ่าตัดกระบอกตาทำ fronto-orbital advancement เพื่อรักษาอาการตาโปน ในช่วงอายุก่อน 1 ขวบ คือ ระหว่าง 3-12 เดือน

– ต้องมาพบแพทย์อย่างต่อเนื่องปีละครั้ง เพื่อดูอาการว่า มีปัญหาแรงดันในสมองเพิ่มขึ้นหรือไม่ ตาโปนผิดปกติกลับขึ้นมาอีกหรือไม่ มีปัญหาการหายใจอันเนื่องมาจากใบหน้าส่วนกลางไม่เจริญเติบโตทำให้ทางเดินหายใจแคบหรือไม่ มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหารอันเนื่องมาจากการสบฟันที่ผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่แพทย์จะได้ดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป

– เมื่อเด็กโตขึ้นถึงระยะที่มีฟันแท้ขึ้น คือราวอายุ 10-12 ขวบ จะต้องพบทันตแพทย์จัดฟัน และศัลยแพทย์เพื่อทำการยืดกระดูกใบหน้าส่วนกลางออกมาทางด้านหน้า ทำให้การหายใจและการสบฟันดีขึ้น

– ควรได้รับการผ่าตัดแยกนิ้วมือนิ้วเท้าที่ติดกันออก เพื่อให้สามารถใช้มือและเท้าได้คล่องขึ้น

Advertisement

– ควรได้รับการฝึกทางกายภาพ ฝึกสมอง เพื่อให้สามารถใช้ศักยภาพสมองที่มีอยู่ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อลดความพิการ และภาระที่ผู้ปกครองต้องเลี้ยงดู

หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกที่เป็นโรคนี้ สามารถสอบถามเกี่ยวกับการตรวจรักษาได้ที่ ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ตึก สก. ชั้น 14) โทรศัพท์ 0-2256-4330

ที่มา www.craniofacial.or.th, www.muslim4health.or.th

ภาพประกอบ https://radiologykey.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง เพราะแม่ท้องขาด “โฟลิก”

ทารกคลอดไม่มีนิ้ว ภัยร้ายจากพังผืดในถุงน้ำคร่ำ

TAP mobile app

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พ่ออายุมาก สาเหตุหนึ่งของโรค Apert Syndrome
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว