พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26 ตอนนี้ คุณอาจมีอาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณอาจจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 แต่หลังจากนี้ คุณจะค่อย ๆ รู้สึกเหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยตัว และ มีอาการบวม
มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนแล้ว อาจตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ ทุกเดือน ตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุ้นเคยกับการตรวจครรภ์ทุก ๆ เดือนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งตั้งครรภ์ได้ 30 ถึง 32 สัปดาห์ หลังจากนั้น จะตรวจถี่ขึ้น เปลี่ยนเป็นตรวจทุก 2 สัปดาห์แทน ไปจนถึง 36 สัปดาห์ และ เริ่มตรวจทุกสัปดาห์เรื่อย ๆ ไปจนกระทั่งคลอด หากการตั้งครรภ์ผิดปกติ หรือ เคยมีภาวะแทรกซ้อน อาจต้องนัดตรวจบ่อยขึ้น ระหว่างตรวจครรภ์ จำเป็นต้องเปิดหน้าท้องให้เห็น หากคุณแม่รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจให้บอกเจ้าหน้าที่ได้ เพื่อทำการพูดคุยให้รู้สึกสบายใจขึ้นนะคะ
พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 26
คุณอาจจะสังเกตว่า ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ท้องของคุณ โตเร็วเหลือเกิน นั่นเป็นเพราะตอนนี้ น้ำหนักตัวของลูกอยู่ที่ 600 – 800 กรัม ใกล้จะแตะ 1 กิโลกรัมเข้าไปทุกทีแล้วค่ะ
ตอนนี้ ดวงตาของลูก เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แล้วอีกไม่นาน ก็จะสามารถลืมตา และ หลับตาได้ แต่ยังไม่ถึงขนาดกระพริบตาได้นะคะ ตอนนี้ลูกคุณจะแอบฟัง บทสนทนาของคุณ และ สามี เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว นอกจากนี้ ลูกสามารถแยกแยะเสียง ของคุณได้แล้วด้วย ตอนนี้ ลูกเริ่มฝึกหายใจ โดยการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้า เมื่อหายใจเข้า และ หายใจเอาน้ำคร่ำออก เมื่อหายใจออก การฝึกหายใจ แบบนี้ช่วยให้ลูกสามารถปรับสภาพได้ดี เวลาคลอด
ระบบภูมิคุ้มกันของลูก เริ่มพัฒนามากขึ้น โดยร่างกายของลูกค่อย ๆ ซึมซับแอนติบอดี้ เข้าสู่รางกาย เพื่อเตรียมพร้อมออกมาลืมตาดูโลก ถ้าคุณกำลังจะมีลูกชาย ช่วงนี้ลูกอัณฑะจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาที่ถุงอัณฑะ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาถึง 3 วันกว่าจะเสร็จสิ้น
สิ่งที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้
ช่วงสัปดาห์ที่ 26 นี้ คุณอาจมีอาการบวมมาบ้างแล้ว หรือไม่ ก็จะมีอาการบวมในอนาคตอันใกล้ ข้อเท้า และ น่อง จะมีอาการบวม คุณสามารถบรรเทาอาการบวม โดยการนอนราบ วางเท้าไว้บนหมอนอิง เพื่อยกขาให้สูงกว่าสะโพก
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์
พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26
1. หากคุณแม่ วางแผนยืมเฟอร์นิเจอร์ ของใช้สำหรับเด็ก ควรเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ การทาสีห้องใหม่ หรือ ซื้อหาหยิบยืม อาจใช้เวลานานกว่าที่คิด ควรเริ่มทยอยทำ ไม่ควรรอจนถึงช่วงสัปดาห์สุดท้าย ซึ่งร่างกายไม่เอื้ออำนวย ให้ทำงานหนักแล้ว ร่างกายต้องการพักผ่อนก่อนคลอด
2. คุณแม่ควรปรึกษากับคุณหมอ ว่าจำเป็นต้องตรวจสอบ ระดับฮีโมโกลบิน ในนัดหมายครั้งต่อไป หรือไม่ ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กเป็นเรื่องปกติ ถ้ารู้ว่า มีภาวะเลือดจาง จะได้เตรียมบำรุงร่างกาย เสริมอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง ไข่ไก่ ซีเรียล และ ผักใบเขียว อย่างเช่น บล็อกโคลี่ อาจต้องทานวิตามินเสริมธาตุเหล็กด้วย แต่จะมีผลเสีย คือเกิดอาการท้องผูกรุนแรงได้นะคะ
ถ้าคุณไม่แน่ใจว่า อาการบวมที่เกิดขึ้น กับขาของคุณเป็นเรื่องปกติ ลองปรึกษาสูตินรีแพทย์ ที่ดูแลคุณถึงเรื่องครรภ์เป็น พิษ ดูนะคะ บางครั้งว่าที่คุณแม่บางคน อาจมีความดันโลหิตสูงร่วมกับ อาการบวมน้ำ บางครั้งอาจเป็นไปได้ว่า สาเหตุของการบวม คือเส้นเลือดขอดที่ขา แต่โอกาสที่จะเกิด ในกรณีนี้เป็นไปได้น้อยมาก หากคุณมีอาการปวดมาก ร่วมกับอาการบวมที่ค่อนข้างรุนแรง กว่าปกติ คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
อีกเรื่องที่คุณควรระวังคือ น้ำหนักตัว ที่อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย พยายามออกกำลังกาย และ เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนะคะ
the Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา HUGGIES
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!