เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามของคุณแม่ตั้งครรภ์ ตลอดระยะเวลาที่อุ้มท้อง คือการดูแลตัวเอง ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด ที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ จนถึงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
8 ข้อต้องทำ แนวทาง ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
แนวทางป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
#1 ต้องพักผ่อนและไม่ทำงานหนักจนเกินไป
ในช่วงเวลากลางคืน คุณแม่ท้องควรได้นอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และตอนกลางวันควรได้งีบหลับประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไปสู่มดลูกดีขึ้น และที่สำคัญคือคนท้องไม่ควรทำงานหนัก! มากเกินไป ควรงดกิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อครรภ์ เช่น การยกของหนักหรือการวิ่ง แต่ควรทำกิจกรรมเบา ๆ ที่สามารถทำได้หรือแม้แต่การออกกำลังสำหรับคนท้อง เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่หากมีอาการผิดปกติควรหยุดพักทันทีเพื่อลดการกระตุ้นที่มดลูก และลดแรงดันของตัวทารกต่อปากมดลูกนะคะ
แนวทางป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
#2 งดเครียด
แม่ท้องที่เกิดอาการ ภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองแล้ว ความเครียดตอนท้องยังมีผลต่อลูกในครรภ์ด้วย ความเครียดสูง อาจมีภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดคลอดลูกก่อนกำหนด เสี่ยงแท้ง ทารกในครรภ์เติบโตช้า ทารกมีภาวะเครียด หรือมีโอกาสเชื้อในครรภ์สูงขึ้นได้ จึงควรมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและจิตใจอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยภาวะความเครียด อาการซึมเศร้าที่พบได้ในแม่ท้อง หากิจกรรมทำหรือได้คุยกับเพื่อนสนิท เพื่อระบายความรู้สึก หรืออาจใช้วิธีกำหนดลมหายใจ ทำสมาธิ เพื่อผ่อนคลายไม่ให้เกิดความเครียดนะคะ
>>แบบทดสอบภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์ รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเครียด<<
ไม่อยากเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ต้องทำยังไงอีกบ้าง อ่านต่อหน้าถัดไปนะคะ >>
#3 ไม่กลั้นปัสสาวะ
ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ท้องมักจะปวดปัสสาวะบ่อย ซึ่งเกิดจากขนาดของมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น จนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะจุได้น้อยลง ในขณะเดียวกันไตก็ทำงานหนักขึ้น จึงทำให้คุณแม่ท้องปวดปัสสาวะบ่อยในช่วงไตรมาสแรกและจะปวดปัสสาวะบ่อยอีกช่วงหนึ่งในไตรมาสสุดท้าย ซึ่งหากคุณแม่กลั้นปัสสาวะเอาไว้ ขี้เกียจลุกเข้าห้องน้ำ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้นะคะ ควรถ่ายปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง ภายหลังจากการถ่ายปัสสาวะให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และซับให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
>>แม่ท้องกลั้นปัสสาวะ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด<<
#4 รับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นอย่างเพียงพอ
มีการศึกษาพบว่าแม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์น้อย หรือมีภาวะขาดสารอาหาร และมีการเพิ่มของน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์น้อย เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
#5 อย่าเพิ่งเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์ระหว่างท้อง
แม่ตั้งครรภ์มีเซ็กส์ตอนท้องได้นะคะ ถ้าคุณแม่ท้องสุขภาพดี ไม่มีความเสี่ยงใดๆ คุณหมอก็ไม่ห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง แต่กับคุณแม่บางที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คือ แม่ท้องที่เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด แต่เพื่อป้องกันไว้ก่อน หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัย หลีกเลี่ยงการกระตุ้นหัวนม ที่ทำให้เกิดความรู้สึกถึงจุด เพราะจะทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกได้ และเกิดการหลั่งของออกซีโทซิน (Oxytocin) ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บครรภ์ได้ นอกจากนี้การมีเซ็กส์ในระหว่างตั้งครรภ์ยังเสี่ยงต่อการนำเชื้อโรคเข้าสู่ปากมดลูก ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้นะคะ
#6 ดูแลสุขภาพทางช่องปากที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าร่างกาย
หากมีการอักเสบภายในช่องปากจะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อย่าละเลยเรื่องสุขภาพปากและฟันไปนะคะ ดูแลอนามัยช่องปากให้ดี นอกจากแปรงฟันตามปกติแล้ว หากเป็นไปได้ควรบ้วนปากหลาย ๆ ครั้งหลังอาหารเพื่อให้เศษอาหารหลุดจากซอกฟัน ลดปริมาณกรดในช่องปากให้น้อยลง
แนวทาง ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
#7 งดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และเสพสารเสพติดทุกประเภท
รวมถึงเตือนคนใกล้ตัวที่มีไลฟ์สไตล์เหล่านี้ด้วย เพราะหากแม่ท้องไม่ได้สูบแต่ได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิดหรือผู้อื่น ก็มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
แนวทาง ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
#8 พบคุณหมอตามนัด
คุณแม่ควรมาพบคุณหมอตามตารางนัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง และรับคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลท้องตามอายุครรภ์ เพื่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์จะได้แข็งแรงพร้อมคลอดตามกำหนดและปลอดภัยกันนะคะ
ที่มา : thaihealthlife.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
คลอดก่อนกําหนดเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?
ต้องรู้! การดิ้นของทารกในครรภ์ 8 เดือน มีผลทำให้ท้องแข็งและคลอดก่อนกำหนดได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!