ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ในทารก ที่สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มตั้งแต่ในครรภ์
อาการปากแหว่ง คือ อาการที่ริมฝีปากบนแยกออกจากกัน เป็นอาการที่พบกับทารก 1 คนใน 700 คนในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับ เพดานโหว่ อาการปากแหว่ง เกิดจากการที่สองซีกของใบหน้าไม่สามารถประกบกันได้พอดีในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์
ส่วน เพดานโหว่ คือ การที่มีช่องเปิดระหว่างเพดานปาก และฐานจมูก เกิดจากการที่ขากรรไกรบนของทารก ไม่สามารถปิดได้สนิทในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดช่องว่าง อาการเพดานโหว่จะมีความรุนแรง มากกว่าอาการปากแหว่ง
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปากแหว่ง เพดานโหว่
อาการปากแหว่ง เพดานโหว่ มีสาเหตุจาก
ปัจจัยภายใน คือ เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยพบว่า อาการนี้มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมประมาณ 12 – 20% ของผู้ป่วยทั้งหมด
ปัจจัยภายนอก ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงถึงประมาณ 80 – 88% โดยปัจจัยภายนอกที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอาการปากแหว่ง เพดานโหว่ ได้แก่
- การเจ็บป่วยของแม่ เมื่อตั้งครรภ์
- ภาวะขาดสารอาหารของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์
- แม่สูบบุหรี่จัด
- แม่ได้รับยา หรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชัก อาทิ ฟีไนโตอิน (Phenytoin) , ไดแลนติน (Dilantin) , ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ได้รับสารพิษ สารเคมี ควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือ การขาดกรดโฟลิคในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปากแหว่งเพดานโหว่ก่อให้เกิดผลกระทบใดบ้าง
- ปัญหาการดูดกลืนอาหาร เพราะจะทำให้นมไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ เกิดการระคายเคืองจมูก ยิ่งทานนมผสม จะมีอาการมากกว่าทานนมแม่ ทำให้ทารกกระสับกระส่ายร้องไห้ กวนบ่อย และไม่อยากดูดนม
- ปัญหาการเจริญเติบโตช้า เพราะมีความลำบากในการดูดกลืนอาหาร จึงส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้าได้
- ปัญหาทางเดินหายใจ การดูดกลืนนม หรืออาหารที่ยากลำบากอาจทำให้สำลัก ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- ปัญหาด้านการพูด ทำให้พูดช้า พูดออกเสียงไม่ชัด อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยได้
- ปัญหาฟันผิดปกติ ความผิดปกติของโครงสร้างริมฝีปากเพดาน และจมูกทำให้มีความผิดปกติของโครงสร้างของฟัน และการสบกันของฟัน เช่น ฟันล่างครอบฟันบน ฟันบน และฟันล่างไม่สบกัน ฟันขาดหายไป ฟันขึ้นผิดที่และผิดตำแหน่ง เป็นต้น
การป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่
คำแนะนำของร.ศ. ดร.เบญจมาศ พระธานี นักแก้ไขการพูด ถึงการป้องกันอาการปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
- คุณแม่ตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์
- การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร ทุกครั้ง
- ออกกำลังกาย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- การลดความเครียด
- รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่คุณหมอแนะนำ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืชตับเป็นต้น
- คุณแม่ควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อให้การเกิดการสร้างอวัยวะของโครงสร้างเพดานในตัวอ่อนของทารกในครรภ์ได้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้
การรักษา
ปัจจุบันนี้ทั้งโรคปากแหว่ง และเพดานโหว่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว โดยวิธีการผ่าตัดปิดช่องโหว่ ด้วยการผ่าตัดที่ทันสมัยการผ่าตัดเพื่อปิดปากแหว่งมีความง่ายกว่าการรักษาเพดานโหว่ กระบวนการรักษามักจะเกิดขึ้นภายใน 3-4 เดือนหลังจากเกิด และบาดแผลมักจะจางไปเมื่อเด็กโตขึ้น
- สำหรับอาการเพดานโหว่ การผ่าตัดมักจะต้องรอจนกระทั่งเด็กอายุ 1-2 ปี เมื่อขากรรไกรบนโตเต็มที่
- ถ้ามีอาการรุนแรงมาก การผ่าตัดอาจต้องรอจนกระทั่งเด็กอายุ 5-7 ปีเพื่อป้องกันปัญหาทางโครงสร้าง ในบางกรณี การผ่าตัดอาจไม่สามารถปิดรอยโหว่ได้สนิท ซึ่งจำเป็นต้องใช้ฟันเทียมทั้งปากเพื่อปิดรอยแยกและทำให้สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกตอาจต้องมีการผ่าตัดหลายครั้งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเพดานโหว่
- ศัลยกรรมพลาสติกและช่องปากจะเป็นผู้ทำการผ่าตัดส่วนหน้า ส่วนทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์จัดฟัน หรือแพทย์ทางหู คอ จมูก จะทำเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องการรักษาเด็กปากแหว่งเพดานโหว่จึงต้องอาศัยแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนและให้การดูแลรักษาเป็นกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยศัลยแพทย์ตกแต่ง กุมารแพทย์ แพทย์ทางหูคอจมูก
- ทันตแพทย์ จัดฟัน จิตแพทย์ แพทย์เวชพันธุศาสตร์ นักภาษาบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อเด็ก และครอบครัวอ้างอิงข้อมูลจากhttps://www.colgate.co.thบทความ ปากแหว่งเพดานโหว่ ตรวจเจอเร็ว รักษาง่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
Credit ภาพ : https://en.wikipedia.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กลัวลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่
โรคของทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อยในปัจจุบัน คนท้องต้องระวังตั้งแต่ยังไม่คลอด
โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) เกิดจากอะไร รักษายังไง ลูกเราจะเป็นมั้ย?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!