น้ำหนักตามเกณฑ์ของทารก ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 1 ขวบ
น้ำหนักตามเกณฑ์ของทารก เป็นอีกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย กลัวว่าจะน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไปบ้าง หรืออาจจะกลัวว่าลูกจะมีน้ำหนักมากเกิน จนอ้วนเกินไปบ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่ทารกเกิดมาแล้วจะมีน้ำหนักเท่าไหร่นั้น ไม่สำคัญเท่ากับทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสม
อีกทั้งน้ำหนักทารกแต่ละคนนั้น ย่อมไม่เท่ากัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ สุขภาพของคุณแม่ และโภชนาการที่ได้รับตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง ดังนั้น เกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของทารกจึงเป็นตัววัดที่ถูกต้อง ไม่ใช่น้ำหนักทารกแรกเกิด ซึ่งวันนี้ เรามีข้อมูลดี ๆ เรื่อง น้ำหนักตามเกณฑ์ของทารก ว่าเพิ่มเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม มาฝากให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านเพื่อให้หายกังวลใจ
เกณฑ์การเพิ่มของน้ำหนักทารก
การที่จะดูว่า ลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมหรือไม่นั้น เรามักจะดูจากน้ำหนักตัวว่า เพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะน้ำหนักตัวของทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการ ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเด็กที่อยู่ในครรภ์ด้วย ดังนั้น เกณฑ์การเพิ่มของน้ำหนักทารกแรกเกิด จึงเป็นตัววัดที่ถูกต้อง ไม่ใช่วัดจากน้ำหนักของทารกเพียงอย่างเดียว
-
น้ำหนักตามเกณฑ์ของทารก 1 เดือน
น้ำหนักตัวทารก ในช่วง 1-3 เดือนแรกนั้น จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 700-800 กรัม
-
น้ำหนักตามเกณฑ์ ของทารก 4 เดือน
น้ำหนักตัวทารก ในช่วง 4-6 เดือน จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 1-3 เดือนแรก โดยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 500-600 กรัมต่อเดือน
-
น้ำหนักตามเกณฑ์ ของทารก 7 เดือน
น้ำหนักตัวทารกในช่วง 7-8 เดือน จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 400 กรัมต่อเดือน แต่ก็อาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่า หรือน้อยกว่านี้ได้นิดหน่อย ก็ไม่ถือว่าผิดปกติอะไร
-
น้ำหนักตามเกณฑ์ ของทารก 9 เดือน
น้ำหนักตัวทารกในช่วง 9 เดือนถึง 1 ขวบ จะเพิ่มขึ้นน้อยลงเหลือเฉลี่ยเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัม
-
น้ำหนักตามเกณฑ์ ของเด็กวัย 1 ขวบ
เมื่อลูกน้อยมีอายุครบ 1 ขวบ น้ำหนักตัวของลูกจะเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละประมาณ 200 กรัม อย่างไรก็ตาม น้ำหนักตัวของลูกจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการ เช่น
-
- ขึ้นอยู่กับโภชนาการ การกินอาหารของเด็กในแต่ละวัน
- หากอยู่ในช่วงฟันขึ้น ก็อาจจะส่งผลต่อการกินอาหาร และการเพิ่มของน้ำหนักของเด็กได้
- หากไม่สบาย มีอาการเจ็บป่วย หรือมีโรคประจำตัว ก็จะส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักตัวลูก
- ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ชั่งน้ำหนัก เช่น ชั่งน้ำหนักหลัง หรือก่อนลูกอุจจาระ ปัสสาวะ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม
อย่างไรก็ตาม หากน้ำหนักตัวของทารกน้อย หรือมากกว่าเกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิดไม่มาก แต่ถ้าลูกน้อยยังกินนม ไม่มีอาการป่วย ร่าเริง นอนหลับได้ตามปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลใจไป
แต่ถ้าน้ำหนักเพิ่มมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์มาก ๆ หรือหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือสงสัยและกังวลมาก ๆ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย และรับคำแนะนำอย่างเหมาะสมต่อไป
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ติดตาม และทราบถึงการเติบโตของลูกน้อยได้ทุกช่วงระยะ และซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คลายกังวล
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ตารางการนอนของลูกในขวบปีแรก ตอนไหน อย่างไร กี่ชั่วโมง กี่นาที
ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ กระตุ้นการได้ยินอย่างไร
ส่าไข้ ทารก เกิดจากอะไร แม่อาบน้ำให้ลูกได้ไหม ทำยังไงถึงจะหาย