น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำคร่ำมาก หรือ  น้ำคร่ำน้อย มีความสำคัญต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากช่วยปกป้องตัวอ่อน ป้องกันอันตราย คอยทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก ไม่ให้สายสะดือถูกรั้งหรือกดทับ ทำให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัย

 

น้ำคร่ำ ภายในมดลูกมาจากไหน ?

ปริมาณน้ำคร่ำ แสดงถึงความสมดุลในขบวนการแลกเปลี่ยนสารน้ำระหว่างมารดา ทารกในครรภ์ ซึ่งการทำงานของรก หากว่า น้ำคร่ำน้อย หรือมากเกินไป ก็จะมีผลกระทบต่อภาวะการตั้งครรภ์ของมารดา อีกทั้งปริมาณน้ำคร่ำยังใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อีกด้วย

  • ในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ แหล่งสร้างน้ำคร่ำมาจากตัวทารกเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยที่มาจากมารดา โดยสารน้ำและสารละลายจะซึมผ่านจากผิวหนังทารก เยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มรกเข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ น้ำคร่ำจึงมีส่วนประกอบใกล้เคียงกับน้ำเลือด (พลาสมา) ของทารก เพียงแต่มีปริมาณโปรตีนที่ต่ำกว่า
  • ในช่วงครึ่งหลัง เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น เริ่มมีสารเคอราตินมาสะสมที่ผิวหนังของทารกมากขึ้นจนสารน้ำไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังทารกออกมาได้ ในช่วงนี้น้ำคร่ำเกือบทั้งหมดจึงได้มาจากน้ำปัสสาวะของทารกในครรภ์ที่ฉี่ออกมา น้ำคร่ำในระยะนี้จึงมีส่วนประกอบของยูเรีย กรดยูริก และสารครีเอตินิน(สารบ่งชี้ค่าการทำงานของไต)เพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของไตทารกนั่นเอง ในช่วงครรภ์ครบกำหนดทารกจะสร้างน้ำคร่ำได้เฉลี่ยประมาณ 500-700 มิลลิลิตรต่อวัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

 

การขจัดน้ำคร่ำ

ทำไมจึงต้องมีการขัดน้ำคร่ำ ในเมื่อมีประโยชน์ช่วยปกป้องทารก เป็นเพราะต้องมีการผลัดเปลี่ยนคล้าย ๆ กับการกรองของเสียภายในร่างกายออก ซึ่งน้ำคร่ำในครรภ์แม่ท้องนั้นสามารถขจัดได้ 3 วิธี คือ

 

1. การกลืนน้ำคร่ำของทารก

การกลืนน้ำคร่ำของทารก เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ ทารกจะมีการกลืนน้ำคร่ำและมีการดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารของทารกเองเพื่อดึงสารน้ำกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต และส่งกลับไปสู่มารดาผ่านทางรกหรือขับออกมาทางปัสสาวะของทารกต่อไป ในช่วงครรภ์ครบกำหนดทารกจะกลืนน้ำคร่ำได้เฉลี่ย 200-450 มิลลิลิตรต่อวัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

 

2. การขจัดผ่านทางเดินหายใจของทารก

พบว่าขบวนการหายใจเข้าเพื่อสูดน้ำคร่ำเข้าสู่ปอด เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ เมื่อน้ำคร่ำไปถึงถุงลมซึ่งเป็นจุดที่มีหลอดเลือดฝอยจำนวนมากจึงมีการซึมผ่านของสารน้ำเข้าสู่กระแสโลหิตของทารกต่อไป ในช่วงครรภ์ครบกำหนดจะมีปริมาณน้ำคร่ำถูกสูดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจประมาณ 600-800 มิลลิลิตรต่อวัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. การขจัดผ่านทางเยื่อหุ้มรก

การขจัดผ่านทางเยื่อหุ้มรกและเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำ จากการที่น้ำคร่ำมีความเข้มข้นของสารละลายน้อยกว่า จึงมีการซึมผ่านของสารน้ำผ่านเยื่อหุ้มดังกล่าวกลับเข้าสู่เซลล์เยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำได้อีกเล็กน้อย ประมาณ 80 มิลลิลิตรต่อวัน

 

จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำคร่ำสุทธิขึ้นกับสมดุลของการสร้างและการขจัดน้ำคร่ำที่อายุครรภ์นั้น ๆ นั่นเอง ซึ่งทางการแพทย์มีวิธีการตรวจวัดประมาณปริมาณน้ำคร่ำได้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อใช้แยกว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีปริมาณน้ำคร่ำปกติ มากไป หรือน้อยไปหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง: อันตราย! ภาวะน้ำคร่ำน้อย ทำทารกโตช้า เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด

 

อาการน้ำคร่ำน้อยเป็นอย่างไร

อาการน้ำคร่ำน้อย คุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่สามารถทราบได้เลย หากไม่ได้รับการตรวจหรือวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าคุณแม่มีอาการถุงน้ำคร่ำแตกจนทำให้น้ำคร่ำน้อยลง คุณแม่สามารถรับรู้ได้จากอาการถุงน้ำคร่ำแตกนั้น มีดังต่อไปนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • คุณแม่จะรู้สึกว่ามีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด จนทำให้เกิดอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
  • หน้าท้องดูเล็กกว่าปกติ (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการตั้งครรภ์)
  • ลูกเคลื่อนไหวได้น้อยลง
  • เกิดจากอาการอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน เป็นต้น

 

 

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มี น้ำคร่ำน้อย

1. ทารกมีพัฒนาการที่บกพร่อง

เนื่องจากน้ำคร่ำส่วนหนึ่งมาจากการขับปัสสาวะของทารกในครรภ์ หากลูกน้อยมีพัฒนาการที่ไม่ดีเท่าที่ควร จากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของไต ก็จะทำให้ทารกขับปัสสาวะได้น้อย ทำให้น้ำคร่ำน้อยตามนั่นเอง

 

2. ปัญหาเกี่ยวกับรก

หากเกิดสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับรกของคุณแม่ ที่เปรียบเสมือนท่อลำเลียงอาหารและเลือดสู่ทารกน้อยในครรภ์ เมื่อลูกไม่ได้รับสารอาหารเท่าที่ควรก็จะทำให้พวกเขาขับของเหลวออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร น้ำคร่ำของคุณแม่ก็จะน้อยลง

 

3. ภาวะมดลูกแตก

การฉีกขาดเพียงครั้งเดียวของเยื่อหุ้มเซลล์บางจุด อาจทำให้เกิดของเหลวไหลออกมาจากมดลูกได้ ซึ่งไม่ว่าจะมีการไหลหรือการแตกแบบไหน ก็จะทำให้ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกของคุณแม่ลดลงตาม

 

4. การตั้งครรภ์เกินกำหนด

หากคุณแม่ตั้งครรภ์นานมากกว่า 42 สัปดาห์ ก็จะยิ่งทำให้รกของคุณแม่เสื่อมสภาพลงได้ จึงทำให้ระดับน้ำคร่ำลดน้อยลงตาม เสี่ยงต่อการหยุดหายใจของลูกน้อยอีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์

อาการต่าง ๆ ของคนท้อง อาจทำให้ปริมาณน้ำคร่ำลดน้อยลง ซึ่งอาการนั้นได้แก่ โรคเรื้อรังต่าง ๆ อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะขาดน้ำ ครรภ์เป็นพิษ และภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน

 

6. ท้องลูกแฝด

เมื่อคุณแม่ท้องลูกแฝดจะยิ่งเสี่ยงให้ระดับน้ำคร่ำลดน้อยลง เนื่องจากลูก ๆ จะเกิดการใช้รกร่วมกัน ทำให้สารอาหาร และเลือดที่ได้เกิดการแบ่งให้ลูกทั้งสอง การขับของเสียอาจทำได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร

 

 

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม อย่าลืมว่า น้ำคร่ำถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นกับลูกน้อยในท้องมาก โดยจะเริ่มสร้างขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 12 วัน เนื่องจากระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเด็ก แขน ขา และพัฒนาการต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ของเหลวจากน้ำคร่ำกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ลูกน้อยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีอิสระภายในท้องด้วยคะ ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ลูกน้อยในท้องจะกลืนเอาน้ำคร่ำเข้าไปและใช้ในการหายใจค่ะ

 

น้ำคร่ำน้อย ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร

  • เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • เสี่ยงต่อการสำลักขี้เทาของทารก
  • แพทย์อาจจะวินิจฉัยให้ผ่าตัดคลอด
  • ทารกอาจเสียชีวิตขณะคลอด
  • การพัฒนาการของปอดทารกช้าหรือหยุดการทำงาน เนื่องจากไม่มีน้ำคร่ำที่ทำหน้าที่ถ่างขยายถุงลมและหลอดลม

 

ภาวะปริมาณน้ำคร่ำมากเกิน (ครรภ์แฝดน้ำ)

เมื่อสูติแพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำคร่ำมากเกิน อันดับแรกจำเป็นต้องหาสาเหตุ ซึ่งมีทั้งที่สามารถรักษาแก้ไขได้ระหว่างการตั้งครรภ์ และบางกรณีก็ไม่สามารถแก้ไขได้ หลังจากนั้นต้องติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และประคับประคองการตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งคลอด ภาวะน้ำคร่ำมากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวาน และครรภ์แฝดมีภาวะหมู่เลือดไม่เข้ากัน
  • เกิดเนื้องอกในรกที่ทำหน้าที่ส่งสารอาหารเลี้ยงดูทารก และรกทำงานผิดปกติ
  • ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหารอุดตัน) ระบบประสาท และระบบทางเดินหายใจ

 

ทั้งนี้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำเดินก่อนกำหนด ภาวะสายสะดือย้อย เด็กทารกอยู่ผิดท่า การคลอดยาก เพิ่มโอกาสผ่าตัดคลอดบุตร เพิ่มโอกาสทารกสำลักน้ำคร่ำ มารดามีอาการอึดอัดกระสับกระส่ายจากหน้าท้องที่มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถนอนราบได้ มารดาจึงต้องเฝ้าระวังอาการของโรคต่าง ๆ ดังกล่าว

 

วิธีป้องกันน้ำคร่ำน้อย

  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • พยายามรับประทานอาหารทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาสมดุลของอาหารให้ดี
  • ไม่ควรสูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ให้ร่างกายชุ่มชื่นอยู่เสมอ
  • ปรึกษาคุณหมอหากมีการทานวิตามินหรือยาชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม

 

สรุปแล้ว น้ำคร่ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการตั้งครรภ์ปกติ คุณแม่จึงควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรก เพื่อกำหนดอายุครรภ์ให้ชัดเจน สูติแพทย์จะมีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัดปริมาณน้ำคร่ำเป็นระยะ เพื่อประเมินสุขภาวะของทารกในครรภ์ต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำคร่ำ คืออะไร ? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี ? อันตรายต่อลูกในท้องไหม ?

น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน ใกล้คลอดหรือยังแบบนี้

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการน้ำคร่ำมาก น้ำคร่ำน้อย ได้ที่นี่ !

น้ำคร่ำ มาก ผิดปกติไหมคะ ปล่อยไว้อันตรายไหมคะ

น้ำคร่ำ น้อย เกิดจากอะไรคะ อันตรายกับลูกหรือเปล่าคะแบบนี้

ที่มา : phyathai, pobpad