ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้าง แม่ท้องคลอดลูกเองควรเลือกท่าอะไรดี?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่อยากคลอดเองได้ไหม ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีกี่ท่า มีท่าไหนบ้างที่ช่วยให้แม่ท้องคลอดลูกได้ง่าย แม่ ๆ อยากรู้ไหมคะ ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าการคลอดลูกธรรมชาติ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ นั่นก็คือ แรงเบ่ง และท่าที่ใช้คลอด ซึ่งท่าคลอดแต่ละท่าสามารถบอกได้ว่าท่าไหนคลอดได้ง่าย ท่าไหนคลอดได้ยาก แต่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าท่าแนวตรงหรือแนวดิ่ง เช่น ท่ายืน เดิน นั่งยอง ๆ หรือท่ากึ่งนั่ง จะทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกแรงกว่าในท่าราบ

 

ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้าง?

1. ท่าตรง (Upright Position)

คุณแม่บางคนเลือกที่จะคลอดลูกในท่าตรง เช่น นั่งคุกเข่าหรือนั่งโยกตัวไปมา เพื่อให้แรงโน้มถ่วงช่วยให้คลอดลูกได้ง่ายยิ่งขึ้น ตามที่สถาบัน ACOG ระบุว่าท่านี้จะช่วยลดการแรงในการเบ่งคลอดได้ประมาณ 1.22 นาที แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของช่องคลอดเอาได้

 

2.ท่านั่งยอง (Squatting)

การนั่งยองคลอดลูกจะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ เพราะว่าในช่วงแรกของการคลอดกระดูกเชิงกรานของคุณแม่จะเปิดออก ทำให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับลูกน้อย ซึ่งคุณแม่สามารถที่จะนั่งคลอดลูกบนเตียงได้ หรือจะคลอดบนพื้น หรือแม้กระทั่งห้องน้ำ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน

 

3.ท่านอนตะแคงซ้าย (Side-Lying)

ระหว่างคลอดคุณแม่อาจจะรู้สึกเหนื่อยจากการเบ่งคลอดได้ ซึ่งในระหว่างนั้นอาจมีการหยุดพักระหว่างการคลอดลูก โดยนอนหันตะแคงซ้าย ท่านี้ดีตรงที่ความเสี่ยงในการฉีกขาดของช่องคลอดคุณแม่ลดน้อยลง

 

4. ท่าพุ่ง (Lunging)

ท่านี้อาจทำให้คุณแม่ประหลาดใจไม่น้อย แต่การคลอดท่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์เคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งคลอดที่ถูกต้อง แถมยังช่วยลดอาการปวดหลังของคุณแม่ได้อีกด้วย ท่านี้ให้คุณแม่ยกขาข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ หรือสตูลวางเท้า แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า ค้างไว้ 5-10 วินาที พัก 10 วินาที แล้วสลับขาอีกข้างหนึ่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

5. ท่ามือและเข่า (Hands & Knees)

ท่านี้เหมือนจะเป็นท่าที่ดีท่าหนึ่งสำหรับคุณแม่ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ เนื่องจากเป็นการถ่ายเทน้ำหนักของลูกน้อยบริเวณหลังออกไป ทำให้ช่วยลดแรงกดบนสะโพกและบริเวณช่วงล่างของคุณแม่ได้ โดยเริ่มจากการนั่งคุกเข่าบนเสื่อหรือบนเตียง จากนั้นโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อขยายกระดูกเชิงกรานออก คุณแม่ลองซ้อมก่อนก็ได้นะคะ เพราะท่านี้คล้ายกับการออกกำลังกายถ้ารู้สึกเหนื่อยก็พักบนหมอนได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. ท่ากึ่งนั่ง

ในท่านี้คุณแม่ต้องอยู่ในท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง โดยเอนตัวไปด้านหลังประมาณ 30-60 องศา ข้อดีคือ จะทำให้เกิดแรงผลักดันในทิศเดียวกับแรงโน้มถ่วงของโลก ทั้งยังช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวก มีแรงในการดันเอาทารกออกมาได้มาก และทำให้เพิ่มความกว้างของกระดูกเชิงกรานได้ดีอีกด้วย แต่อาจจะแรงผลักดันอาจไม่ดีเท่าท่ายืนหรือท่านอนตะแคง ข้อเสียคือ ทำให้คุณแม่เมื่อยง่ายหากอยู่ในท่านี้นาน ๆ

 

7. ท่านอนหงายชันเข่า

เป็นท่าที่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในระนาบเดียวกับพื้นหรือกระดูกในลักษณะแนวนอน ข้อดี สะดวกในการให้การพยาบาล แต่ข้อเสียคือ คุณแม่ต้องออกแรงเบ่งคลอดมาก อาจมีผลต่อระบบการไหลเวียนเลือดที่มดลูกและรก ทำให้เลือดสูบฉีดไปสู่รกน้อยลง จนอาจเป็นสาเหตุให้ทารกน้อยเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ท่าเบ่งคลอด ลดอาการเจ็บท้องคลอด ช่วยแม่ท้องคลอดง่ายขึ้น

 

 

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

1. ความปลอดภัย

การคลอดธรรมชาติคือวิธีการคลอดที่แพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำคุณแม่อยู่เสมอ เพราะมีความปลอดภัยสูง ทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยที่คลอดออกมา อีกอย่างคือไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อในมดลูกต่ำ ทั้งยังเสียเลือดน้อยกว่าการคลอดแบบผ่าตัดอีกด้วยค่ะ

 

2. แผลมีขนาดเล็ก

สำหรับคุณแม่ท้องแรก แผลจะเล็กมาก ๆ เพราะปากช่องคลอดจะมีความยืดหยุ่นไม่เยอะเท่าคุณแม่ที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว จึงทำให้มีแผลเย็บเพื่อช่วยเปิดช่องทางคลอดให้ลูกน้อยคลอดออกมาได้ง่าย ส่วนใหญ่ขนาดของแผลจะอยู่ที่ประมาณ 2-4 เซนติเมตร ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสรีระของคุณแม่และขนาดของทารกด้วยค่ะ

 

3. ฟื้นตัวได้เร็ว

เนื่องจากคุณแม่ที่คลอดเองแบบธรรมชาติมีการเย็บแผลที่เล็กและไม่ได้ผ่านการดมยาสลบ จึงทำให้คุณแม่ไม่ต้องฟื้นตัวนาน สามารถเคลื่อนไหว ลุก นั่ง เดินได้หลังการคลอด และคุณแม่ที่คลอดเองด้วยวิธีธรรมชาติ จะมีเวลาอยู่กับลูกน้อยได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ

 

4. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้

การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติช่วยทำให้ทารกได้ภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดของคุณแม่ และได้รับ Probiotic มากกว่าการผ่าคลอด จึงทำให้ลูกน้อยมีภูมิต้านทานสูง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่าคลอดธรรมชาติ เจ็บไหม ต้องบล็อกหลังหรือเปล่า

การคลอดธรรมชาติจะมีความเจ็บปวดที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการบีบตัวของมดลูกประกอบด้วยค่ะ รวมไปจนถึงท่าทางของทารกและความอดทนต่อความเจ็บของคุณแม่ด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีระงับความเจ็บระหว่างคลอดได้หลายวิธี เช่น ฉีดยาลดปวดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดยาชาเข้าที่ฝีเย็บ รวมไปจนถึงการบล็อกหลัง ซึ่งการบล็อกหลังจะช่วยลดความเจ็บได้ตั้งแต่ระยะรอคลอดยาวไปจนถึงการตัดฝีเย็บเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : บล็อกหลังคลอดลูก คืออะไร มีแบบไหนบ้าง ปลอดภัยต่อแม่ท้องหรือไม่

 

 

การดูแลตัวเองหลังคลอดธรรมชาติ

  • จำนวนวันที่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล

ส่วนใหญ่คุณแม่ที่คลอดเองจะได้พักฟื้นอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2 วัน โดยตลอดระยะเวลา 2 วันนี้ จะเป็นการตรวจสอบอาการผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น เลือดที่ออก สัญญาณชีพ การแข็งตัวของมดลูก น้ำนมแม่ ภาวะเหลือง ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น หากไม่มีอะไรผิดปกติคุณแม่ก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เลยหลังสังเกตอาการครบกำหนด

 

  • สามารถให้นมลูกหลังคลอดธรรมชาติทำได้ไหม

หลังจากที่ทำการคลอดเสร็จแล้ว คุณแม่สามารถให้นมลูกได้เลยค่ะ โดยสามารถนำลูกเข้าเต้าได้บ่อยทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นน้ำนม และช่วยทำให้น้ำนมของคุณแม่ไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น

 

  • หลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอะไรดี

คุณแม่หลังคลอดควรทานอาหารที่มีการย่อยสลายได้ง่าย รสไม่จัด และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอจากการทำคลอดค่ะ และต้องเน้นรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูกด้วยค่ะ เพราะช่วงหลังคลอดระยะแรก ๆ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ทำให้ท้องผูกยังออกฤทธิ์อยู่ ทำให้คุณแม่ท้องผูกได้ง่ายนั่นเอง

 

สำหรับการคลอดด้วยท่าธรรมชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกน้อย จึงควรเลือกสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน และมีความน่าเชื่อถือตามหลักมาตรฐานสากลด้วย เพื่อให้คุณแม่พร้อมฝากครรภ์และช่วยดูแล ติดตามอย่างใกล้ชิด รวมไปจนถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่าง ๆ ด้วยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องฝึกใช้ ท่านั่งยอง ช่วยให้ลูกคลอดง่ายจริงหรือ

ท่านั่งเร่งคลอด นั่งท่าไหนช่วย มดลูกเปิดเร็ว ลดอาการเจ็บคลอด

ท่าออกกำลังกายเร่งคลอด แม่ท้องแก่อยากคลอดลูกเร็วต้องทำแบบนี้ (มีคลิป)

ที่มา : romper, Samitivej Hospitals

บทความโดย

Khunsiri