สิ่งที่คุณแม่กังวลเมื่อตั้งครรภ์หนีไม่พ้นเรื่องของภาวะเสี่ยงที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องทำการฝากครรภ์เพื่อเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงการ ตรวจเบาหวาน ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์โดยตรง ร้ายแรงที่สุดยังอาจส่งผลให้เด็กพิการ และเสียชีวิตได้ด้วย
การ ตรวจเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อย โดยแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบาหวาน ตั้งแต่ฝากครรภ์ในครั้งแรก โดยการเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล หลังจากนั้น 7 เดือน แพทย์จะทำการตรวจสอบความสามารถของร่างกาย ในการจัดการน้ำตาลว่าปกติ หรือไม่ โดยในคนปกติหากไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวาน แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดังกล่าว เมื่อตั้งครรภ์มักแสดงอาการออกมา เนื่องจากในคนตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่ง จากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ
อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ แต่บางรายอาจเผชิญภาวะนี้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ส่วนใหญ่ แพทย์จะตรวจพบภาวะดังกล่าวได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แต่หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปากแห้ง มีอาการกระหายน้ำมากขึ้น และรู้สึกเหนื่อย หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งบางอาการค่อนข้างคล้ายคลึงกับ อาการของคนตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ หากมีข้อสงสัย หรือกังวลเกี่ยวกับอาการที่เผชิญอยู่
บทความที่เกี่ยวข้อง : 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน
สาเหตุของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์บางราย เกิดภาวะร่างกายต่อต้านอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญ ที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ในตับอ่อน และทำให้ร่างกายเผาผลาญกลูโคสเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากร่างกายมีระดับอินซูลินต่ำ หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน จะส่งผลให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 ขึ้นไป
- ภาวะความดันโลหิต ผู้ที่มีปัญหาทางด้านความดันโลหิต ไม่ว่าสูง – ต่ำ ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน
- เคยคลอดทารกน้ำหนักมาก หญิงที่เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม เสี่ยงเผชิญภาวะนี้
- ชาติพันธุ์ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักพบในชาวเอเชีย ลาตินอเมริกัน แอฟริกัน และอเมริกันอินเดียนมากกว่าชาติพันธุ์อื่น ๆ
- ปัญหาสุขภาพ ผู้ที่เคยป่วยหรือมีญาติใกล้ชิดป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้งเคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
ภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
- มีน้ำหนักตัวมาก ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่สูงมากของหญิงตั้งครรภ์อาจขัดขวางการทำงานของตับอ่อน โดยจะกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคลอด หากเกิดภาวะดังกล่าว แพทย์อาจประเมินให้ทำการผ่าคลอดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของช่องคลอด
- คลอดก่อนกำหนด เด็กอาจคลอดในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ และอาจเผชิญภาวะหายใจลำบาก ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าปอดของทารกจะสมบูรณ์เต็มที่ แต่ทารกที่เกิดจากแม่ซึ่งป่วยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจเผชิญภาวะหายใจลำบากได้เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้คลอดก่อนกำหนดก็ตาม
- โอกาสที่จะแท้งบุตรอาจสูงขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ได้
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทารกแรกเกิดบางรายอาจเผชิญภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากเกินไป และอาจทำให้ทารกมีอาการชักได้ อย่างไรก็ตาม การให้นมบุตรและการฉีดกลูโคสเข้าทางหลอดเลือดดำสามารถปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
- ตัวเหลือง ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำอาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะตัวเหลืองหลังคลอด ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
ผลกระทบต่อมารดา
- ภาวะน้ำคร่ำมาก ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ขึ้นในระหว่างคลอดได้
- ครรภ์เป็นพิษ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์
- เบาหวานหลังคลอด ผู้ที่เคยเผชิญภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ลูกคนต่อไป และอาจป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 หลังคลอดได้ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าว
อันตรายของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- กลุ่มที่เป็นเบาหวานมาก่อน (Pregestational Diabetes Mellitus) จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแท้ง หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ ทารกมีความพิการแต่กำเนิด ทารกโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ การพัฒนาการทำงานของปอดทารกช้ากว่าปกติ เป็นต้น
- กลุ่มที่เป็นเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus / GDM) ถ้าควบคุมได้ดี ไม่ต้องกินยา หรือฉีดยา ก็จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมารดา และทารก แต่ถ้าควบคุมไม่ดีก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำคร่ำมาก ทารกตัวโตกว่าเกณฑ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ และเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานจริง ๆ ในระยะยาวอีกหลายปีข้างหน้า เป็นต้น
การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อสุขภาพของตน และทารกในครรภ์ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะตั้งครรภ์ และขณะคลอด โดยแนวทางในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 4 – 5 ครั้ง ต่อวัน ในช่วงเวลาก่อนรับประทานอาหารเช้า และหลังมื้ออาหารทุกมื้อ เพื่อตรวจดูว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยเจาะเลือดที่ปลายนิ้วแล้วหยดเลือดลงบนแถบทดสอบ จากนั้นอ่านค่าด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาล ซึ่งจะแสดงระดับน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยการบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นอาหารที่มีสารอาหารและเส้นใยสูง แต่มีน้ำตาลน้อย และมีแคลอรีต่ำ นอกจากนี้ ควรจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารจำพวกแป้ง และหลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูง และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยอาจปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการเพื่อวางแผน และกำหนดเมนูอาหารในแต่ละมื้อของวัน
- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพราะเป็นการกระตุ้นน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้เคลื่อนเข้าสู่เซลล์เพื่อผลิตเป็นพลังงาน และยังช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่ถูกวิธีอาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากการตั้งครรภ์ได้ เช่น อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ตัวบวม ท้องผูก และนอนไม่หลับ เป็นต้น แต่ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมหลังจากได้รับอนุญาตจากแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
- ใช้ยารักษา หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงอยู่หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายมาระยะหนึ่งแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาฉีดอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
- รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ แพทย์อาจตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์มากเป็นพิเศษด้วยการอัลตราซาวนด์ และอาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่ กรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะคลอดช้ากว่ากำหนด แพทย์อาจวางแผนให้ผู้ป่วยเจ็บครรภ์คลอดเร็วขึ้น เนื่องจากการคลอดช้ากว่ากำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและทารกได้
วิดีโอจาก : DrNoon Channel
การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ตรวจคัดกรองด้วยการกินน้ำตาล 50 g : คุณแม่ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจค่ะ ไปกินน้ำตาลที่รพ. และรอเจาะเลือดหลังจากนั้น 1 ชม. ถ้าผลเลือดผ่านก็จบแค่นั้น แต่ถ้าเกินเกณฑ์ก็จะต้องตรวจขั้นตอนถัดไปค่ะ
- ตรวจวินิจฉัยด้วยการกินน้ำตาล 75 หรือ 100 g : คุณแม่จะต้องงดน้ำงดอาหารมาก่อน และมากินน้ำตาลที่รพ. ค่ะ จะมีการเจาะเลือด 3 ครั้ง (ถ้าเป็นแบบ 75 g) หรือ 4 ครั้ง (ถ้าเป็นแบบ 100 g) โดยเจาะก่อนกินน้ำตาล และหลังกินน้ำตาลครบชม.จนครบตามกำหนด ถ้าค่าผิดปกติ ก็จะวินิจฉัยว่าเป็น “เบาหวานขณะตั้งครรภ์”
ปัจจัยที่ถือว่าเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มารดาอายุมาก (บางที่ก็นับตั้งแต่อายุมากกว่า 30 ปี ค่ะ )
- มีน้ำหนักตัวเกิน/มีภาวะอ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ (BMI 30 ขึ้นไป)
- มีประวัติเบาหวานในครอบครัว
- มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในครรภ์ก่อนหน้า
- มีประวัติให้กำเนิดทารกตัวใหญ่กว่าเกณฑ์
- มีประวัติทารกพิการรูปแบบจำเพาะ หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์โดยไม่มีเหตุอื่นในครรภ์ก่อน
- มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะเบาหวาน เช่น ความดันสูง โรคตับอ่อนบางชนิด โรค PCOS เป็นต้น
- มีประวัติน้ำตาลในเลือดสูงที่ยังไม่เข้าเกณฑ์เบาหวานก่อนตั้งครรภ์
- ตรวจพบน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ
- ตั้งครรภ์แฝด
เมื่อคุณแม่รู้แล้วว่าเบาหวานเป็นโรคอันตรายต่อคนท้องมากแค่ไหน ก็อย่าลืมพยายามหาโอกาสในการไปตรวจคัดกรอง หากเจอความเสี่ยงจะได้สามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงที
คุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก