X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแรกเกิด - 3 เดือน ทารกน้อยติดเชื้อง่ายคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังกันนะคะ

บทความ 3 นาที
ลูกแรกเกิด - 3 เดือน ทารกน้อยติดเชื้อง่ายคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังกันนะคะ

แม่ต้องระวัง! ลูกแรกเกิด - 3 เดือน ติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย ๆ จากคนใกล้ชิด

ลูกแรกเกิด – 3 เดือน ทารกติดเชื้อ ง่ายกว่าที่แม่คิิด

ทารกติดเชื้อ ได้ง่ายกว่าที่แม่คิิด! ลูกแรกเกิด – 3 เดือน ช่วงวัยที่ต้องระวัง เพราะร่างกายลูกยังอ่อนแอ มาดู 2 กลุ่มโรค ที่ทารกวัยแรกเกิด ติดจากคนใกล้ชิดได้ง่าย เพื่อป้องกันลูกรักของเรากันค่ะ

ทารกน้อยติดเชื้อง่ายคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังกันนะคะ

ช่วงวัยทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้การดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดเพราะร่างกายของลูกยังบอบบางมากยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดยิ่งต้องเฝ้าระวังและดูแลเป็นพิเศษ ภูมิต้านทานโรคของลูกน้อยวัยทารกแรกเกิดก็ยังมีน้อยมากจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

ความเชื่ออันมีมาแต่โบราณที่ให้คุณแม่หลังคลอด “อยู่เดือน” คืออยู่กับลูกตลอดเดือน โดยไม่ออกจากบ้านไปไหนเลย ทั้งแม่และลูก จนลูกอายุครบ 1 เดือน ก็มีข้อดีนะคะ เพราะว่าเมื่อไม่ออกไปไหน ทั้งคุณแม่และลูกน้อยก็จะไม่ไปรับเชื้อโรคต่างๆ จากข้างนอกนั่นเอง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ หรือโรคติดต่อจากการสัมผัส ที่ติดต่อกันง่ายมาก และในบางครั้งผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อบางชนิดอยู่ก็ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อโรคนี้อยู่ เพราะไม่แสดงอาการใดๆเลย พอมาใกล้ชิดทารกน้อย ทารกก็มีการติดเชื้อนั้นๆแล้วอาจมีอาการรุนแรงได้

หมอขอยกตัวอย่าง 2 กลุ่มโรค ที่ทารกวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน ติดจากคนใกล้ชิดได้ง่าย โดยอาจไม่รู้ตัวดังนี้ค่ะ

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น

  1. ปอดอักเสบติดเชื้อ
  2. หลอดลมฝอยอักเสบจากการติดเชื้อ RSV

ทารกอาจได้รับเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมที่สัมผัส เช่น

  • สัมผัสละอองของน้ำมูก น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ทารกใกล้ชิด
  • หรือจากการอยู่ในที่ชุมชนคนเยอะ ทารกอาจสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่มีคนไอ หรือจามออกมาในสิ่งแวดล้อม เข้าไปในทางเดินหายใจจนเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ โดยจะแสดงอาการคือ หายใจเร็วกว่าปกติ มีไข้ หายใจลําบาก มีหน้าอกบุ๋มขณะหายใจ ริมฝีปากเขียว กินนมน้อย ซึม

 

โรคติดเชื้อจากการสัมผัส เช่น

โรคเริมในทารก

  • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทีชื่อ Herpes simplex
  • ทารกจะติดเชื้อโรคชนิดนี้ได้จากการสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยที่เป็นโรค, น้ำลาย, หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยการสัมผัสใกล้ชิด ใช้ของใช้หรือทานอาหารด้วยภาชนะร่วมกัน หรือการหอมแก้ม
  • เชื้อจะแทรกเข้าทางเยื่อบุหรือผิวหนังที่ถลอกเป็นแผล
  • เมื่อมีการติดเชื้อจะแสดงอาการคือ มีรอยบวมแดงบริเวณที่มีการติดเชื้อ ได้แก่ ริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก มีตุ่มน้ำใสเป็นกลุ่ม ๆ อย่างรวดเร็ว แตกเป็นแผล ปวด อาจมีต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น มีไข้ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ทารกน้อยอาจมีการติดเชื้อโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ตับ ปอด และสมอง ทำให้มีอาการตับโต ตาเหลืองตัวเหลือง ปอดอักเสบ ซึม ชัก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทและสมองอย่างรุนแรงได้

 

Advertisement

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องการให้ลูกติดเชื้อโรคเหล่านี้ก็ไม่ควรให้ใครมาอุ้ม กอด หอมแก้ม ลูก นอกจากคุณพ่อ คุณแม่ และคนเลี้ยงดู

ทั้งนี้ หากใครในครอบครัวรู้ตัวว่าเจ็บป่วย ก็ควรจะไม่มาเข้าใกล้ลูกน้อย หากคุณพ่อคุณแม่เองเจ็บป่วยแบบไม่รุนแรง เช่น เป็นหวัดก็ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใกล้ชิดลูก เมื่อออกไปนอกบ้านแล้วจะกลับมาอุ้มทารกก็ควรล้างมือ อาบน้ำ (ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรสระผมด้วย) ก่อนจะมาสัมผัสกับลูก ก็จะช่วยปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อต่างๆอันน่ากลัวและเป็นอันตรายที่อยู่รอบตัวได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ยาป้ายตาทารกแรกเกิด หมอป้ายตาลูกทำไม หลังอุแว๊! เกิดอะไรขึ้นบ้างในห้องคลอด

ยืนคลอดลูก อยู่ข้างถนน แม่ท้องสุดอั้น ก็พยาบาลบอกว่ายุ่งมาก

คนเป็นพ่อ ต้องรู้! วิธีดูแลภรรยาท้อง สิ่งที่แม่ท้องอยากให้พ่อทำ การเตรียมตัวเป็นพ่อคน

โรคของทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อยในปัจจุบัน คนท้องต้องระวังตั้งแต่ยังไม่คลอด

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกแรกเกิด - 3 เดือน ทารกน้อยติดเชื้อง่ายคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังกันนะคะ
แชร์ :
  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว