X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

บทความ 5 นาที
ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

พ่อแม่มักจะใจเสียทุกครั้งเวลาลูกร้องไห้เพราะเจ็บตัวจากโดนเข็มฉีดยาจิ้ม  อย่างไรก็ตามการให้วัคซีนแก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดตามตารางวัคซีนถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนจำเป็นต้องได้รับ การฉีดวัคซีนรวมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดการที่ลูกจะต้องโดนฉีดวัคซีนหลายเข็มในเวลาเดียวกันจากการใช้วัคซีนเดี่ยวแยกฉีดป้องกันโรคแต่ละชนิดค่ะ มาดูกันนะคะว่าในช่วงขวบปีแรกพ่อแม่สามารถปรับการฉีดวัคซีนให้น้อยเข็มลงได้อย่างไรบ้าง

ตารางวัคซีนปี 2558

วัคซีนพื้นฐาน

แรกเกิด  : วัคซีนบีซีจี, วัคซีนตับอักเสบครั้งที่ 1

วัคซีนสำหรับป้องกัน 2 โรคนี้ไม่มีเข็มรวมและยังไงก็ต้องแยกฉีดค่ะ โดยวัคซีนบีซีจีมักฉีดที่ไหล่ซ้ายและเกิดแผลเป็นหลังฉีด  พ่อแม่บางคนกลัวลูกเป็นแผลเป็นที่ไหล่ไม่สวยขอให้หมอฉีดที่สะโพกเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำนะคะ เพราะแผลอาจปนเปื้อนอุจจาระหรือปัสสาวะ และตรวจดูแผลเป็นยากกว่า  ส่วนวัคซีนตับอักเสบบีจะฉีดเข้ากล้ามค่ะ

หลังจากแรกเกิด – 6 เดือน  : วัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-โปลิโอ ครั้งที่ 1- 3 , วัคซีนตับอักเสบครั้งที่ 2 และ 3

พ่อแม่สามารถเลือกฉีดเป็นวัคซีนรวม 5 โรค (คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-โปลิโอ-เยื่อหุ้มสมองอักเสบ/ฮิบ) หรือวัคซีนรวม 6 โรค ซึ่งเหมือนกับวัคซีน 5 โรคแต่เพิ่มวัคซีนตับอักเสบบี (วัคซีนฮิปเป็นวัคซีนเสริมซึ่งมีเพิ่มอยู่ในวัคซีนรวม 5 หรือ 6 โรคอยู่แล้ว)  โดยมีรายละเอียดการฉีดแตกต่างกันดังนี้ค่ะ

  • กรณีฉีดเป็นวัคซีนรวม 5 โรค

1 เดือน : วัคซีนตับอักเสบบีครั้งที่ 2

2 เดือน : วัคซีนรวม 5 โรค

4 เดือน : วัคซีนรวม 5 โรค

6 เดือน : วัคซีนรวม 5 โรค และวัคซีนตับอักเสบบีครั้งที่ 3

จะต้องฉีดแยกวัคซีนตับอักเสบบีตอนอายุ 1 เดือนก่อน 1 เข็มและต้องเพิ่มวัคซีนตับอักเสบตอนอายุ 6 เดือน

  • กรณีฉีดเป็นวัคซีนรวม 6 โรค

2 เดือน : วัคซีนรวม 6 โรค

4 เดือน : วัคซีนรวม 6 โรค

6 เดือน : วัคซีนรวม 6 โรค

จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบบีทั้งหมด 4 ครั้ง  รวมเมื่อแรกเกิดด้วย และถ้าแม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีจะต้องได้เพิ่มที่อายุ 1 เดือนอีกครั้งก็จะรวมทั้งหมดเป็น 5 เข็ม (โดยปกติวัคซีนตับอักเสบบีในเด็กต้องได้ 3 เข็ม คือ ตอนแรกเกิด, 1-2 เดือน และ 6 เดือน อย่างไรก็ตามถือเป็นข้ออนุโลมเนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีปฏิกิริยาต่ำอยู่แล้ว จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำแม้จะให้จำนวนครั้งมากขึ้น)

  • 9 – 12 เดือน : วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม ครั้งที่ 1, วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 1

วัคซีนสำหรับ 4 โรคทั้งหมดนี้ไม่มีเข็มรวม  ยังไงก็ลูกน้อยต้องโดนฉีด 2 ครั้งเข็มค่ะ

Advertisement

 วัคซีนเสริม

เป็นวัคซีนที่มีความสำคัญรองลงมาจากวัคซีนพื้นฐานที่กล่าวไปข้างต้น  สามารถฉีดหรือไม่ฉีดก็ได้ โดยวัคซีนที่จะเสริมเพิ่มเติมช่วงขวบปีแรก ได้แก่

  • วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ฮิบ)

มีเพิ่มอยู่ในวัคซีนรวม 5 หรือ 6 โรคตามที่กล่าวไปข้างต้น  โดยฉีดตอนลูกอายุ 2, 4 และ 6 เดือน

  •  วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ให้ฉีดตอนลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป  โดยการฉีดครั้งแรกต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน

  • วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต

ป้องกันโรคไอพีดี (การติดเชื้อนิวโมคอคคัสแบบรุนแรงและแพร่กระจาย)  โดยฉีดตอนลูกอายุ 2, 4 และ 6 เดือน

  • วัคซีนโรต้า

ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้าซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งในหลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงซึ่งอาจรุนแรงได้ โดยวัคซีนแบ่งเป็น 2 ชนิด

  1. ชนิด monovalent ให้กิน 2 ครั้ง ตอนลูกอายุ 2 และ 4 เดือน
  2. ชนิด pentavalent ให้กิน 3 ครั้ง ตอนลูกอายุ 2, 4 และ 6 เดือน

หวังว่าข้อมูลข้างต้น คงพอจะช่วยในการตัดสินใจเลือกฉีดวัคซีนของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรกนะคะ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ( www.pidst.net )

รู้จักวัคซีนโปลิโอ : ทำไมต้องยกเลิกวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ชนิดหยอด?

ไข้สมองอักเสบเจอี: โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ภญ.กษมา กาญจนพันธุ์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว