X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ ย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 ตอนนี้ทารกมีขนาดประมาณ 41 ซม. น้ำหนักอยู่มีประมาณ 1.5 กก. ตัวลูกโตมากขึ้นแล้วนะ คุณแม่ก็ใกล้จะได้เจอลูกแล้ว ลองมาดูว่า ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน ในสัปดาห์นี้ คุณแม่ต้องเจอกับอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้มาอ่านได้ในบทความนี้

ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน อาการเป็นอย่างไร ?

31สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน การตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์นั้นจะเท่ากับ 7 เดือน 3 สัปดาห์ ใกล้จะย่างเข้าสู่เดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ เรียกว่าเตรียมพร้อมคลอดได้ทุกเวลา เรามาดูอาการโดยทั่วไปของคุณแม่กันค่ะ

 

  • คุณแม่ปัสสาวะบ่อย นั้นเนื่องจากมดลูกไปดันกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีพื้นที่ในการเก็บปัสสาวะน้อย
  • ปวดหัวบ่อย เป็น ๆ หาย ๆ หากคุณแม่รู้สึกปวดมากให้หาที่เงียบ ๆ พักผ่อนเล็กน้อย แล้วจะดีขึ้น
  • ปวดหลัง เนื่องจากต้องรองน้ำหนักตอนท้อง ถ้าเป็นไปได้แม่ ๆ ควรเล่นโยคะเพื่อลดอาการปวดหลังนะคะ
  • ขี้หลงขี้ลืม เพราะการหดตัวของเซลล์สมองในคนท้องไตรมาสที่สาม และจะกลับมาเป็นปกติหลังที่คุณแม่คลอดแล้ว
  • ท้องแข็งมาก เพราะเกิดจากการบีบรัด หดเกร็ง คล้ายใกล้คลอดแบบหลอก จนรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย แต่ไม่มีความอันตรายแต่อย่างใด

 

วิดีโอจาก : PRAEW

Advertisement

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 31

  • ลูกในท้องจะเริ่มสะสมไขมันใต้ผิวหนังและน้ำหนักตัวให้มากขึ้น
  • อวัยวะของลูกน้อยยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ
  • ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีการพัฒนาอย่างเต็มที่
  • ลูกน้อยจะดิ้นออกแขน ขา ไปตามผนังมดลูก รวมถึงการดูดนิ้วมือด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 30 เช็คลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 7 เดือน

 

คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างไรขณะ ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์

อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็จะใกล้คลอดแล้ว  คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงอาการเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้น บางอาการอาจจะแย่ลง แต่สามารถทนได้ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเหล่านี้และต้องดูแลดังต่อไปนี้

 

1. หายใจไม่อิ่ม

คุณแม่ท้องจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเคลื่อนไหวได้อย่างลำบากมากขึ้น เพราะท้องโตและหายใจไม่อิ่ม ติด ๆ ขัด ๆ อย่าลืมว่าคุณแม่ต้องไม่กดดันตัวเองมากเกินไป ควรออกกำลังกายบ่อย ๆ แต่ไม่หนักมาก เพื่อตัวคุณแม่และลูกในท้อง เดินบ้าง ยืดเหยียดโยคะบ้าง

 

2. เล็บแห้งเปราะง่าย

คุณแม่ท้องจะเล็บยาวเร็วขึ้นมาก แต่นั่นก็ทำให้เล็บมีความแห้งและแตกหักได้ง่ายเข้าไปอีก บางคนใช้น้ำมันที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแล้วได้ผล ถือเสียว่านี่เป็นเหตุผลที่ดีที่จะเข้าไปทำสปามือและเท้า หรือหมั่นนวดมือนวดเท้าด้วยตัวเองหรือจะให้คุณพ่อช่วยด้วยค่ะ

 

3. เจ็บเตือนก่อนคลอด

อาการนี้เป็นบ่อยมากในคุณแม่ใกล้คลอด จนเดาไม่ถูกว่าจะคลอดจริงหรือแค่เตือน ซึ่งการบรรเทาอาการเจ็บเหล่านี้ทำได้โดยการดื่มน้ำมาก ๆ และเปลี่ยนท่าทางการนอนบ่อย ๆ นะคะ

 

ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์

 

4. คุณแม่มีน้ำนมไหลซึม

ช่วงนี้จะสังเกตได้เลยว่า เต้านมคุณแม่ท้องจะมีของเหลวสีเหลืองไหลซึมออกมา นั่นคืออาหารมื้อแรกของลูก เรียกว่าน้ำนมเหลืองนั่นเอง เรียกได้ว่า ร่างกายของคุณแม่พร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกและเป็นคุณแม่เต็มตัว ดังนั้นคุณแม่ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาหารที่เหมาะกับช่วงเวลานี้คือ อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ปลาซาร์ดีน ถั่ว ไข่ เป็นต้น

 

5. คุณแม่ปัสสาวะบ่อย

เลี่ยงไม่ได้เลยกับการที่ต้องปัสสาวะบ่อย ๆ เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ก็ถูกเบียดเช่นเดียวกับปอด ทำให้คุณแม่ต้องคอยหาเวลาพักเข้าห้องน้ำระหว่างวันให้บ่อยขึ้นค่ะ

 

6. คุณแม่ปวดหลังเป็นประจำ

การแบกทารกไว้ 1 คนกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนับสิบกิโล จึงเป็นไม่ได้เลยที่จะไม่ปวดหลัง ดังนั้น อย่าลืมยืดเหยียดเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังนะคะ เวลานั่งก็หาหมอนมารองหลังไว้ด้วยค่ะ

 

7. คุณแม่มักมีปัญหาด้านการนอน

ควรนอนยกขาสูงขึ้นกว่าระดับศีรษะ เพื่อป้องกันอาการเท้าขาและบวม ยิ่งใกล้คลอดยิ่งนอนไม่หลับ ทั้งกังวลเรื่องลูกจะคลอด และร่างกายที่ไม่สบายตัว ทำให้นอนไม่หลับ ไหนจะปวดหลัง ท้องก็บีบตัว พยายามเปลี่ยนท่าทางตอนนอน เอาหมอนมารองท่าที่สบายที่สุด ให้คุณพ่อนอนตามตัว พยายามหายใจลึก ๆ บ่อย ๆ ด้วยนะคะ

 

เรื่องที่ควรทำตอน ท้อง 31 สัปดาห์

  • สังเกตตัวเองบ่อย ๆ คุณแม่ท้องหมั่นสังเกตอาการเจ็บท้องของตนเอง ดูว่าเจ็บท้องจริงหรือเจ็บท้องหลอก
  • เตรียมกระเป๋า ช่วงนี้คุณแม่ต้องเตรียมจัดกระเป๋าให้พร้อม ตรวจสอบของเตรียมคลอดที่ต้องนำติดตัวไปโรงพยาบาล
  • หน้าบวมมากหรือไม่  อาการบวมที่มือและเท้ายังปกติ แต่หากมีอาการบวมบนใบหน้า และมีอาการปวดหัวมากควรรีบไปหาคุณหมอทันที

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์

 

อัลตราซาวนด์ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์

ทารกในครรภ์ 31 สัปดาห์ของคุณกำลังผ่านการพัฒนาของสมองและเส้นประสาทที่สำคัญ ดวงตาของพวกมันก็พัฒนาขึ้นเช่นกัน—ม่านตาสามารถตอบสนองต่อแสงได้แล้ว! (แสงเล็กน้อยส่องเข้ามาในท้องที่ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ของคุณในบางครั้ง!) อันที่จริง ประสาทสัมผัสทั้งห้าของทารกทำงานได้ดี

ผู้หญิงที่มีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่ตั้งครรภ์แฝดได้ 31 สัปดาห์ อาจมีการตรวจอัลตราซาวนด์ขณะตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์เพื่อตรวจทารก (หรือทารก) แต่ถ้าไม่ใช่คุณ คุณก็หมดเรื่องในสัปดาห์นี้

เรารู้ เรารู้ คุณแค่อยากรู้ว่าทารกมีหน้าตาเป็นอย่างไรในท้องที่ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ของคุณ พ่อแม่ที่อยากรู้อยากเห็นบางคนเลือกที่จะทำอัลตราซาวนด์ 3D/4D ในภายหลังในการตั้งครรภ์ โดยปกติบางครั้งระหว่างสัปดาห์ที่ 24 ถึง 32 (ดังนั้นการตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด!)

ในอัลตราซาวนด์ 3 มิติ/4 มิติ คุณจะเห็นพื้นผิวทั้งหมดของใบหน้าของทารกในภาพเดียว ใช่ ภาพเป็นสามมิติ มิติที่สี่คือเวลา—คุณจะได้เห็นทารกเคลื่อนไหวบนหน้าจอในแบบ 3 มิติ นั่นหมายความว่า คุณอาจเห็นทารกในครรภ์ 31 สัปดาห์ของคุณกะพริบตา ดูดนิ้ว และอาจถึงกับยิ้มหรือขมวดคิ้ว และคุณก็จะได้วิดีโอเกี่ยวกับมันกลับบ้านเช่นกัน!

มีสถานการณ์ทางการแพทย์ที่อาจเรียกร้องให้ทำอัลตราซาวนด์ 3D/4D เมื่อตั้งครรภ์ได้ 31 สัปดาห์ แต่ถ้าแพทย์ของคุณไม่สั่งทำ คุณสามารถเลือกทำที่ศูนย์ถ่ายภาพอิสระได้ ในกรณีนั้น อัลตราซาวนด์ 3D/4D เป็นกระบวนการทางเลือก ดังนั้นประกันของคุณจะไม่ครอบคลุม และคุณจะต้องจ่ายเงินจากกระเป๋าเพื่อซื้ออัลตราซาวนด์

 

ครรภ์ 31 สัปดาห์ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ ?

คำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักสงสัยและกังวล จริง ๆ แล้ว ขณะตั้งครรภ์คุณแม่สามารถมีเซ็กส์ได้ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งใกล้คลอด  แต่จะมีแค่บางช่วงที่ควรลดการมีเซ็กส์ลงบ้าง เช่น ตอนตั้งครรภ์ใหม่ ๆ เพราะคุณแม่ส่วนมากมักมีอาการแพ้ท้อง อ่อนเพลีย อีกช่วงที่ควรจะงดเว้นการมีเซ็กส์ก็คือ ช่วงใกล้คลอด  เพราะช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่จะดูค่อนข้างอึดอัด ทำอะไรไม่ค่อยสะดวกมากนัก  หากมีเซ็กส์ตอนนี้อาจจะทำให้เหนื่อยได้มากกว่าปกติ ที่สำคัญ การมีเซ็กส์ตอนที่ใกล้คลอดเสี่ยงทำให้ถุงน้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กเกิดการแตกหรือรั่ว มีน้ำคร่ำไหลออกมาก่อนเจ็บครรภ์คลอดได้และอาจส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกได้ ดังนั้น การจะมีเซ็กส์ควรปรึกษาแพทย์เป็นระยะ ๆ ของทุกเดือนก็ได้ค่ะ

 

มาถึงสัปดาห์ที่ทารกอายุ 31 สัปดาห์ นอกจากร่างกายคุณแม่จะเตรียมพร้อมรับสมาชิกใหม่ ในส่วนของทารก สมองและเซลล์ประสาททั่วร่างกายมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายใยเส้นประสาทที่ซับซ้อนนับล้านเซลล์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท แนะนำให้กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทของลูกน้อย ช่วงนี้คุยกับลูกเยอะ ๆ นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด

ที่มา : whattoexpect, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว