ตรวจหลังคลอด ตรวจตอนไหน? สำหรับคุณแม่ที่คลอดเองหรือผ่าคลอด หากไม่มีปัญหาอะไรก่อนออกจากโรงพยาบาล คุณหมอจะนัดมาตรวจ ภายใน 1 เดือน หรือ 4-6 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่การคลอดมีปัญหา มีอาการผิดปกติ หรือคุณแม่มีโรคประจำตัว คุณหมออาจนัดมาตรวจก่อน 4 สัปดาห์ได้
ตรวจหลังคลอด ตรวจภายในหลังคลอด สำคัญอย่างไร ต้องตรวจอะไรบ้าง?
การมาตามที่คุณหมอนัดเพื่อ ตรวจภายในหลังคลอด เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรละเลยนะคะ เนื่องจากสุขภาพหลังคลอดเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้ขณะตั้งครรภ์เลยทีเดียว เพราะคุณหมอจะตรวจเช็กร่างกายของคุณแม่เพื่อให้ทราบว่าอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะตั้งครรภ์ และตอนคลอดนั้นคืนสู่สภาพผิดปกติหรือยัง รวมถึงการเช็กสุขภาพว่ามีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ ในคุณแม่ที่ตรวจพบว่ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นขณะคลอด หรือหลังคลอดใหม่ ๆ คุณหมอจะมาตรวจดูว่าโรคแทรกซ้อนนั้นหายแล้วหรือยัง
ตรวจภายในหลังคลอด
เมื่อคุณแม่กลับไปตรวจอาการหลังคลอด สิ่งที่คุณหมอจะซักหรือทำการตรวจส่วนใหญ่จะซักถามถึงอาการป่วยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างพักฟื้นหลังคลอด เช่น มีอาการเจ็บแผลหรือแผลผ่าตัดเป็นหนองหรือเปล่า น้ำคาวปลามีสี กลิ่นเหม็นผิดปกติหรือไม่ น้ำคาวปลาหมดหรือยัง ถ่ายปัสสาวะได้เป็นปกติดีหรือมีอาการแสบขัด คุณแม่มีไข้หรือมีอาการท้องผูกหรือไม่ เป็นต้น นอกจากจากนี้ยังถามปัญหาการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ รวมถึงแนะนำให้คำปรึกษาเรื่องของการคุมกำเนิดด้วย หลังจากนี้หากคุณแม่มีข้อสงสัยอื่น ๆ อาจจะนึกขึ้นได้ก่อนวันนัด อย่าลืมที่จะจดเอาไว้หรือเตรียมคำถามเพื่อสำหรับถามคุณหมอได้เลย ไม่ว่าจะเรื่องอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณแม่หรือเกี่ยวกับลูกน้อย ปัญหาการเลี้ยงลูก ฯลฯ
ในกรณีที่คุณแม่รู้สึกมีอาการหลังคลอดผิดปกติ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก หนาวสั่น หรือมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส มีหนองหรือมีเลือดไหลออกมาจากแผลฝีเย็บ หรือแผลฝีเย็บบวมแดงมากขึ้นจนมีอาการปวดถ่วงไปถึงทวารหนัก มีก้อนที่เต้านมหรือเต้านมบวมแดง ฯลฯ อาการที่สังเกตเห็นได้ชัดและเกิดขึ้นก่อนวันนัดตรวจหลังคลอด คุณแม่ควรรีบไปหาคุณหมอก่อนวันนัดนะคะ
ตรวจภายในหลังคลอด
การตรวจหลังคลอดถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่หลังคลอดไม่ควรหลีกเลี่ยงนะคะ คุณแม่บางรายอาจคิดไปว่าร่างกายแข็งแรงฟื้นตัวเร็ว และไม่มีความผิดปกติ จึงอาจไม่ไปตามนัด แต่เรื่องของสุขภาพร่างกายภายในเป็นเรื่องที่มองไม่เห็น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยที่เราไม่รู้ ดังนั้นการได้ตรวจสุขภาพหลังคลอด เช็กให้ชัวร์เพื่อคุณแม่จะได้มีร่างกายที่โอเคและได้รับคำปรึกษาดี ๆ จากคุณหมอต่อการเลี้ยงดูลูกน้อยได้อย่างไม่กังวลนะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก : www.medthai.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
ขาบวม เท้าบวมหลังคลอด ลองใช้ “ตะไคร้ต้ม” ลดเท้าบวมดูสิ
ภาพถ่ายดิบๆ แบบสวยๆ ของ ร่างกายหลังคลอด ริ้วรอยหรือรอยแผลเป็นไม่ใช่เรื่องน่าอาย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!