ในขณะที่เจ้าตัวน้อยร้องไห้นั้น ทำให้คนเป็นแม่เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่า สาเหตุที่ทารกร้องไห้ เป็นเพราะอะไร สำหรับคุณแม่มือใหม่แล้ว นี่คือสิ่งที่จะช่วยเรียนรู้ที่มาที่ไปในการร้องไห้ของเบบี๋ ที่อีกไม่นานคุณแม่ก็อาจจะถอดรหัสของการร้องไห้เหล่านี้ได้โดยไม่มีปัญหาอะไรเลย
10 สาเหตุที่ทารกร้องไห้ และสิ่งที่คุณแม่จะช่วยปลอบโยนให้ลูกหยุดร้องได้
#1 ความหิว
เป็นเหตุผลอันดับต้น ๆ ที่พ่อแม่ควรจะคิดถึงเมื่อลูกร้องไห้ เพราะเจ้าตัวน้อยแรกเกิดนั้นต้องการกินนมแทบตลอดเวลา แม้ว่าเจ้าตัวน้อยจะเพิ่งกินไปเมื่อ 30 นาทีก่อนหน้านี้ก็ตาม นั้นเป็นเพราะร่างกายที่กำลังพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถที่จะเพิ่มความอยากอาหารของหนูน้อยได้ ซึ่งมันไม่แน่นอนด้วยว่าเมื่อไหร่
Read : ลูกร้องเพราะหิวนม สังเกตอาการได้ง่าย ๆ
#2 ผ้าอ้อมที่เปรอะเปื้อน
ผ้าอ้อมที่เปียกชื้นด้วยฉี่หรืออึของหนูเอง ทำให้ทารกน้อยนั้นรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว เมื่อเจ้าตัวน้อยร้องไห้ ต้องเข้าใจถึงความรู้สึกที่ลูกไม่ชอบผ้าอ้อมที่สกปรกเลอะเทอะกันนะ
#3. สมองและระบบประสาทที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ของลูก
โลกของทารกแรกเกิดยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับลูก สมองและระบบประสาทของทารกนั้นยังอยู่ในช่วงการสร้างตัว นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทารกส่งเสียงร้องไห้เพื่อให้พ่อแม่รับรู้ถึงความต้องการ และการพึ่งพาให้พ่อแม่ได้เข้ามาปลอบโยนและจัดการอารมณ์
#4 อาการโคลิก
โคลิก คือ การร้องไห้ที่มีลักษณะรุนแรงเป็นพิเศษ ไม่เหมือนการร้องไห้แบบธรรมดาสามัญ เพราะไม่ว่าจะอุ้ม ปลอบ ร้องเพลงกล่อมก็ไม่หยุด สามารถร้องต่อเนื่องได้นานเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างงยิ่งในช่วงหัวค่ำถึงดึก เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทารกแทบทุกคนในช่วงอายุระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 4 เดือน และทำให้คุณแม่มือใหม่ต้องผวากันทั้งนั้น วิธีช่วยลดอาการโคลิคแบบง่าย ๆ คือใช้การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อด้วยการโอบอุ้มหรือห่อหุ้มตัวลูกให้อบอุ่น เพื่อช่วยปลอบโยนและให้ลูกมีความรู้สึกปลอดภัยขึ้น
Read : 5 วิธีปราบโคลิคให้ทารกอย่างได้ผล
สาเหตุที่เจ้าตัวน้อยร้องไห้เป็นเพราะอะไรกันนะ อ่านต่อหน้าถัดไป >>
#5 รู้สึกเบื่อ
เชื่อหรือไม่ว่า ทารกแรกเกิดก็รู้สึกเบื่อเป็น ถึงแม้ว่าเขาจะสบายตัว อิ่ม หรือไม่เปียกชื่นก็เถอะ ลูกอาจจะส่งเสียงร้องไห้ออกมาเพราะความเบื่อ และอยากให้พ่อแม่มาสร้างความบันเทิงให้กับหนูเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการมา เล่นจ๊ะเอ๋ ด้วย
#6 ถูกกระตุ้นมากเกินไป
ในขณะที่พ่อแม่กลัวเจ้าตัวน้อยรู้สึกเบื่อ จึงหากิจกรรมมาเล่นกับลูก แต่ช่วงเวลาที่ยาวนานของกิจกรรมบางอย่าง ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่มากเกินกว่าที่เจ้าตัวน้อยจะรับมือไหวจนทำให้หนูต้องร้องไห้ ดังนั้นพ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างอ่อนโยน เช่น เล่นของกรุ้งกริ้งหรือการดูหนังสือภาพ และใช้เวลาเหล่านั้นด้วยความกระชับเหมาะสม
#7 อาการไม่สบายเนื้อสบายตัวทั่วไป
อาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ไม่ได้หมายถึงอาการปวดท้อง เป็นไข้ ไม่สบาย แต่สาเหตุมาจาก อาการคันจากป้ายเสื้อชุดนอน เส้นผมของพ่อแม่ที่ร่วงไปพันอยู่รอบนิ้วเท้าหนู เป็นต้น ดังนั้นเมื่อลูกร้องไห้ควรสังเกตจากสิ่งบริเวณรอบ ๆ ตัวของลูกด้วยนะคะ
#8 ร้อนหรือหนาวเกินไป
ทารกก็มีความรู้สึกถึงร้อนเย็นได้เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ และหนูน้อยจะรู้สึกหงุดหงิดได้เมื่อพวกเขารู้สึกว่ามันร้อนเกินไป ดังนั้นพ่อแม่ควรจัดที่นอนเบบี๋ให้อยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะพอดี หาชุดที่ใส่สบายให้กับเจ้าตัวน้อย และคอยสัมผัสผิวลูกที่ควรรู้สึกว่าเย็นแต่ไม่ใช่เย็นเจี๊ยบ หรือมีเหงื่อออก
ถอดรหัสอีก 2 ข้อสาเหตุที่ทำให้เบบี๋ร้องไห้ หน้าถัดไป>>
#9 ต้องการแม่
เมื่อลูกเกิดมา คุณแม่ก็กลายเป็นไอด้อลคนโปรดของลูกไปโดยอัตโนมัติ หนูน้อยนั้นสามารถรับรู้ถึงกลิ่นและอารมณ์ของคุณแม่ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยถ้าทารกน้อยจะร้องไห้บ่อยเพราะต้องการให้คุณแม่อยู่ใกล้ ๆ วิธีที่ดีที่สุดที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกน้อยได้ คือการอุ้มลูกเพื่อสร้างความอบอุ่นและใกล้ชิด ซึ่งเป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยหยุดร้องได้
#10 อยากจะนอนแล้ว
ถึงแม้ในช่วงแรกของทารกแรกเกิด คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกตื่นมากินและนอนหลับวนไปแบบนี้ทั้งวัน แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าพวกเขาไม่ได้นอนหลับสนิท เพราะเพียงแค่เสียงดังนิดหน่อยก็ทำให้หนูน้อยสะดุ้งตื่นขึ้นมาได้ จะทำให้หนู ๆ รู้สึกหงุดหงิดและร้องไห้โยเยขึ้นในที่สุด ซึ่งในระหว่างที่กำลังกล่อมลูกน้อยให้นอนหลับนั้น คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศของการนอนที่ดีให้กับลูกน้อยนะคะ
เมื่อคุณแม่ถอดรหัสสาเหตุที่เจ้าตัวน้อยร้องไห้ออกมานั้น จะรู้ว่าความจริงว่าไม่มีอะไรเลย ซึ่งคุณแม่สามารถใช้ทักษะความเป็นแม่ช่วยทำให้ทารกหายร้องไห้ได้อยู่แล้ว นอกเสียจากว่าลูกน้อยมีอาการผิดปกติอื่น ๆ จากสาเหตุที่กล่าวมา
Source : pregnantchicken.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
วิธีปลอบลูกน้อยงอแงที่ช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อย
ต้องดูแล! 3 อาการที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยวัย 3 เดือน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!