X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด

บทความ 3 นาที
คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่าเพราะเหตุใดในเด็กแรกเกิดที่อายุครบ 48-72 ชั่วโมง จะต้องได้รับเจาะเลือดจากส้นเท้าหรือหลังมือเพื่อส่งตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด คุณหมอส่งตรวจเพื่ออะไร ภาวะนี้เป็นอย่างไร เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าค่ะ

คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด

คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ไปทำไม? และภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคืออะไร? …ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคือ ภาวะที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนชื่อ “ไทรอยด์” ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆและสร้างพลังงานจึงมีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง จึงมีความสำคัญกับเด็กมากค่ะ

 

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดเกิดจากอะไร?

ภาวะนี้มีสาเหตุหลัก 2 อย่างขึ้นไป สาเหตุแรกคือการที่เด็กไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนเองได้ตั้งแต่กำเนิดจากความผิดปกติของยีนที่ใช้สร้างต่อมไทรอยด์ ส่วนอีกสาเหตุที่พบบ่อยคือการขาดสารไอโอดีนในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่พบไม่บ่อย คือ คุณแม่เป็นโรคหรือคุณแม่ทานยาบางชนิดที่มีผลต้านไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมีผลต่อลูกนั่นเอง

 

อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดเป็นอย่างไร?

เด็กที่มีภาวะนี้มักจะแสดงอาการเด่นชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป อาการจะยังไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกเกิดเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากไทรอยด์ฮอร์โมนของแม่ที่ผ่านมายังทารกอยู่ในช่วงแรก แต่ก็อาจจะมีอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น คุณหมอตรวจร่างกายพบว่ากระหม่อมมีขนาดใหญ่กว่าปกติโดยเฉพาะกระหม่อมหลัง นอนหลับมากผิดปกติ ดูดนมไม่ดี สำลักนมบ่อย ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้จำเพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องได้รับการประเมินจากคุณหมอ ร่วมกับพิจารณาผลเลือดที่ตรวจคัดกรองตอนแรกเกิด

เมื่ออายุมากกว่า 1 เดือนอาการจะเริ่มปรากฏมากขึ้น เช่น ลิ้นโตคับปาก สะดือจุ่น ท้องป่อง ผิวลาย ผิวแห้งและเย็น ตัวเหลืองนาน ท้องผูก ดูดนมไม่ดี น้ำหนักขึ้นน้อย นอนหลับมาก อาการจะชัดเจนมากที่สุดเมื่ออายุมากกว่า 6 เดือน โดยเด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ร่างกายแคระแกร็น น้ำหนักน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลิ้นโต ท้องผูก สะดือจุ่น

ผิวและผมแห้ง ขนคิ้วบาง ฟันขึ้นช้า และมีภาวะปัญญาอ่อน ที่เรียกกันว่า “โรคเอ๋อ” เนื่องจากในช่วงอายุ 3 ขวบปีแรกเป็นช่วงที่มีสมองมีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วหากทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในช่วงนี้จึงส่งผลให้เกิดความพิการทางสมองเป็นอย่างมากนั่นเองค่ะ

Advertisement

 

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดได้อย่างไร?

เมื่อทารกแรกเกิดได้รับการตรวจคัดกรองในเบื้องต้น โดยการวัดระดับฮอร์โมน TSH แล้วพบว่ามีความผิดปกติ โดยค่า TSH มากกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิยูนิต่อลิตร คุณหมอจะต้องรีบติดตามทารกคนนั้นมาเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน TSH และระดับไทรอยด์ฮอร์โมน T4 หรือ Free T4 ร่วมด้วย หากพบว่ามีความผิดปกติจริง คุณหมอจะรีบให้การรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติอย่างรุนแรงของสมอง

 

การรักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดทำได้อย่างไร?

หากทราบว่าทารกมีภาวะนี้คุณหมอจะให้การรักษาโดยให้ไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทน รับประทานต่อเนื่องภายในอายุ 2-4 สัปดาห์แรกของชีวิต และนัดมาดูอาการเพื่อปรับยา เจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ฮอร์โมนและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ระยะเวลาในการรักษาจะนานเท่าใดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดนั้น

หากสงสัยว่าลูกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคุณพ่อคุณแม่ควรรีบนำลูกมารับการรักษาอย่างรวดเร็วและติดตามอาการต่อเนื่องกับคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะหากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที เด็กที่มีภาวะนี้ก็ยังสามารถเจริญเติบโต มีพัฒนาการและสติปัญญาปกติได้นะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไทรอยด์กับการตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องควรรู้

เช็คอาการโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (โรคเอ๋อ) ในทารก

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว