คลิปนวดทารก
คลิปนวดทารก นวดเพลินสุด ๆ แม่รู้ไหม ไม่เชื่อดูคลิปนี้เลย!
www.facebook.com/PregnantLife/videos/1396540053786103/
คลิปนวดทารก สุดน่ารัก
ดูท่านวดทารก ต่อหน้าถัดไป
17 กระบวนท่านวดทารก
แม่รู้หรือเปล่าว่า การนวดลูกช่วยกระตุ้นระบบประสาทในสมองที่ควบคุมการดูดซึมอาหาร ลูกน้ำหนักตัวเพิ่มได้ดีตามพัฒนาการ ลดฮอร์โมนความเครียดทารก ดีอย่างยิ่งกับทารกคลอดก่อนกำหนด ลูกนอนหลับยาก ชอบร้องกวน Life and Family เว็บไซต์ผู้จัดการ Online นำข้อมูลจากแผนกเด็กแรกเกิด (nursey) โรงพยาบาลบีเอ็นเอช สาทร-คอนแวนต์ 17 ท่านวดทารก นวดทารกแรกเกิด นวดสัมผัสเด็กแรกเกิด ถึง 3 ปี
+ท่านวดบริเวณศีรษะและหน้าทารก ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
ท่าที่ 1 ท่าที่คาดผม
จัดท่าให้เด็กนอนหงาย วางฝ่ามือทั้งสองบนศีรษะ ใช้นิ้วประสานกันเล็กน้อยตรงแนวกึ่งกลางของศีรษะจากนั้นลูบลงไปจนถึงปลายคาง
ท่าที่ 2 ท่ายิ้มแฉ่ง ช่วยกระตุ้นการกิน การดูดกลืนของทารก และยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในช่วงที่ฟันกำลังเริ่มขึ้น
- ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางตรงกลางเหนือริมฝีปากบน แล้วลากออกมาเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปาก ทำ 5 ครั้ง ต่อจากนั้นนวดบริเวณริมฝีปากล่างในลักษณะเดียวกันอีก 5 ครั้ง
- ใช้ปลายนิ้วกลางลูบไล้ขอบปาก วนเป็นวงกลมอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากมุมปากข้างหนึ่งผ่านเหนือริมฝีปากบนไปยังมุมปากอีกข้างหนึ่ง และวนต่อไปยังใต้ริมฝีปากล่าง จนถึงมุมตำแหน่งที่เริ่มต้นแล้ววนกลับ นับเป็น 1 ครั้ง
+ท่านวดบริเวณหน้าอกทารก เสริมจังหวะการทำงานของปอดและหัวใจ ลูกหายใจปลอดโปร่ง
ท่าที่ 3 ท่าเปิดหนังสือ
ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบไล้จากบริเวณกลางอก แยกมือออกจากกันไปทางด้านข้างของลำตัวตาแนวซี่โครง โค้งลงมาชนกันที่กลางท้องน้อย โดยให้ตำแหน่งการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนการวาดรูปหัวใจ
+ท่านวดบริเวณแขนและมือ ผ่อนคลายความตึงเครียด กล้ามเนื้อแขนและมือ กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตจากปลายแขนกลับสู่หัวใจ
ท่าที่ 4 ท่าจอดป้ายรถเมล์
- จับข้อมือลูกยกขึ้นเหนือศีรษะ นวดบริเวณใต้รักแร้ ซึ่งเป็นบริเวณของต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
- นวดแขนทีละข้าง โดยจับแขนลูกยกขึ้นแล้วใช้มีออีกข้างาจับรอบแขน นวดคลึงเป็นห่วงวงกลมจากต้นแขนค่อยๆ เลื่อนไปสู่ข้อมือ แล้วเลื่อนลงไปต้นแขน ขึ้น-ลง ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือกดฝ่ามือลูกเบาๆ (ทำเหมือนกันทั้งสองข้าง)
+ท่านวดท้อง กระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินอาหาร ท่าที่ 5- 7 เรียกว่าท่า I LOVE YOU
ท่าที่ 5 ท่า I ใช้ฝ่ามือลูบเป็นเส้นตรงจากใต้ราวนมด้านซ้ายถึงบริเวณท้องน้อยเป็นตัว I (ด้านขวาของผู้นวด)
ท่าที่ 6 ท่า LOVE ใช้ฝ่ามือลูบเป็นตัว L กลับหัวบริเวณท้อง โดยเริ่มลากมือจากซ้ายไปขวาตามแนวนอนถึงใต้ชายโครงซ้าย แล้วลากลงตรงๆถึงบริเวณท้องน้อย
ท่าที่ 7 ท่า YOU ใช้ฝ่ามือลูบบริเวณท้องเป็นรูปตัวยูคว่ำ โดยเริ่มจากขวาของเด็กไปซ้าย
ท่าที่ 8 ท่าปูไต่พุง ใช้นิ้วมือข้างขวาเดินไต่บริเวณท้องน้อย โดยเริ่มจากขวาของเด็กเหมือนกับการเล่นปูไต่
ท่าที่ 9 ท่าระหัดวิดน้ำ
วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างตั้งฉาก โดยเริ่มจากใต้คาวนมเคลื่อนมือจากด้านล่างถีงบริเวณท้องน้อยที่ละข้าง ทำเป็นจังหวะ เมื่อมือข้างหนี่งเคลื่อนลงจนสุด ก็เริ่มอีกข้างหนี่งเคลื่อนลงล่าง ทำสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้มือข้างซ้ายจับ ข้อเท้าทั้งสองข้างรวบเข้าด้วยกัน ช่วยผ่อนคลายกระเพาะ โดยใช้มือขวาลูบจากชายโครงลงมาเหนือหัวเหน่า (ทำ 3 ครั้ง)
ดูท่านวดทารก ต่อหน้าถัดไป
+ท่านวดขาและเท้า คล้ายกับท่านวดแขนและมือ ในส่วนเท้า และข้อเท้าของเด็กมีความสำคัญ เป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักตัว เมื่อเด็กหัดยืน และเดิน เพื่อเตรียมพร้อมในการหัดยืน ผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาและเท้า
ท่าที่ 10 ท่านวดขาให้หายเมื่อย
นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นใช้มืออีกข้างหนึ่งจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆเลื่อนไปสู่ปลายเท้า แล้วเคลื่อนลงโดยทำขึ้น-ลงสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้คลึงรอบข้อเท้าเด็ก อย่างแผ่วเบา นุ่มนวล ให้รอบข้อเท้า คลีงรอบตาตุ่มและบริเวณเอ็นร้อยหวาย
ท่าที่ 11 ท่าลูกกลิ้ง
ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกลิ้งขาลูกไปมา โดยเริ่มจากหัวเข่าไปยังข้อเท้า แล้วกลิ้งลง (ทำ 5 ครั้ง) เสร็จแล้วทำอีกข้างเช่นเดียวกัน
ท่าที่ 12 ท่าคลึงฝ่าเท้า
ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดฝ่าเท้าเด็กจากส้นเท้าขึ้นมาที่นิ้วเท้าเด็กทุกนิ้ว ทีละนิ้ว จากนั้นลูบบนฝ่าเท้าเด็กเข้าหาตัวคนนวด
+ท่านวดหลัง นวดผ่อนคลายบริเวณหลัง ลูกชอบ เคลิ้มสุด ๆ
ท่าที่ 13 ท่าเดินหน้าถอยหลัง
พ่อแม่จับเด็กนอนคว่ำ ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบตามขวางไปตามแผ่นหลังของเด็ก โดยทำสลับมือซ้าย-ขวา พร้อมๆ กัน มือขวาลูบเข้ามือซ้ายลูบออก โดยลูบจากช่วงบนลงไปสิ้นสุดบริเวณก้นกบ เคลื่อนขึ้น-ลงสลับกัน
ท่าที่ 14 ท่าขนนก
ลูบตามแนวกระดูกสันหลัง ใช้ฝ่ามือเริ่มลูบจากบริเวณท้ายทอยลงมาที่สะโพกแล้วเริ่มใหม่อีกที่บริเวณท้ายทอย
+ท่าบริหารร่างกาย ยืดแขน ขา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่ต้องทำด้วยความอ่อนโยนนะ
ท่าที่ 15 ท่าไขว้แขน
จับเด็กนอนหงายใช้มือทั้งสองข้าง จับข้อมือทั้งสองของเด็กเอามาไขว้กันที่บริเวณหน้าอก นับ 1-2-3 แล้วกางออก โดยยืดแขนของเด็กออกไปจนสุด นับเป็น 1 ครั้ง (ทำ 5 ครั้ง )
ท่าที่ 16 ท่าไขว้ขา
จับข้อขาทั้งสองข้างของเด็กดึงมาไขว้กันที่บริเวณท้อง (คล้ายนั่งขัดสมาธิ) นับ 1-2-3 แล้วกางขาออกเหยียดตรง แล้วไขว้ขาทั้งสองข้างเข้าหากันอีกครั้ง
ท่าที่ 17 ท่าไขว้ทแยงแขน-ขา
จับข้อมือ และข้อเท้าของเด็กที่อยู่ตรงข้ามกัน ไขว้มาเฉียงกันที่หน้าอก ทำสลับข้างกัน นับเป็น 1 ครั้ง
ก่อนนวดให้หนูแม่ต้องรู้เรื่องนี้
- นวดให้ลูกตอนไหนดี ควรนวดในช่วงที่ลูกอารมณ์ดี ไม่หิว เช่น ภายหลังอาบน้ำ หรือหลังรับประทานนมแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้นมที่ได้รับเริ่มย่อย ป้องกันการอาเจียน
- ท่านวดบางท่าสามารถทำได้ทุกเวลา เช่น ท่าลูบแขนขา ลูบไล้ศีรษะ
- อุณหภูมิของห้องต้องพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะเวลานวดต้องถอดเสื้อผ้าลูกออกทั้งหมด
- ก่อนนวดล้างมือให้สะอาดและทาแป้งเด็ก ถ้ามือผู้นวดแห้งควรทา Baby Lotion หรือ Baby Oil เพื่อช่วยให้การสัมผัสผิวลูกให้ลื่น ไม่ระคายเคือง
- ควรให้ลูกนอนบนเบาะนุ่ม ๆ เพื่อให้ลูกได้นอนอย่างสบายขณะนวด และควรเตรียมผ้าอ้อมไว้เปลี่ยนด้วย
- แต่ละท่าในการนวดให้ลูกน้อยนั้น ควรทำ 5-10 ครั้ง โดยใช้เวลาในการนวดประมาณ 15-30 นาที
ขณะนวดทารกควรสบตากับลูก พูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน
ที่มา : https://www.manager.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกควรนอนท่าไหน ปลอดภัย ไม่ไหลตาย
5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก
9 ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!