ทารกถอนหายใจ หรือลูกจะเครียด
ลูกเป็นอะไร ลูกเครียด ลูกไม่มีความสุขหรือเปล่า แม่มือใหม่กลุ้มใจ ทารกถอนหายใจ ใส่อย่างแรง แถมลูกยังหน้านิ่วคิ้วขมวด
ทำไมเด็กทารกชอบถอนหายใจ
ทารกหรือเด็กเล็กชอบถอนหายใจบ่อยกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งการถอนหายใจนั้นเป็นกลไกร่างกายของทารกที่ใช้ปรับจังหวะการหายใจ ปรับไปตามความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เพราะบางครั้ง อากาศรอบ ๆ ทำให้เจ้าตัวน้อยหายใจลำบาก ต้องถอนหายใจเพื่อให้ปอดทำงานดีขึ้น หายใจสะดวกขึ้น จึงไม่แปลกที่ทารกบางคนจะหายใจแรง สูดลมหายใจลึก ๆ แต่เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น ระบบทางเดินหายใจก็จะพัฒนาไปตามวัยได้เอง
ความแตกต่างระหว่างทารกถอนหายใจ VS ผู้ใหญ่ถอนหายใจ
- ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือนจะถอนหายใจบ่อยเป็นพิเศษ เพราะระบบต่าง ๆ ในร่างกายทารกนั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่ การสูดหายใจเข้าลึก ๆ หรือถอนหายใจออกแรง ๆ จึงไม่ได้เป็นอาการผิดปกติที่แม่ต้องกังวลใจ
- แตกต่างจากผู้ใหญ่ที่ถอนหายใจ เพราะร่างกายมีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง ผู้ใหญ่จึงถอนหายใจเพื่อให้อากาศเข้าไปในปอดมากขึ้น เพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย การหายใจลึก ๆ ยังทำให้มีแรงดันในปอดและที่หัวใจมากขึ้น
นอกจากนี้ การถอนหายใจของผู้ใหญ่ยังสะท้อนถึงอารมณ์ โล่งใจหรือทอดอาลัยชีวิต
ที่มา : https://mgronline.com/around
อ่านทารกขมวดคิ้ว ทารกเครียดได้ไหม หน้าถัดไป
ทารกขมวดคิ้ว ทารกเครียดได้ไหม
ทารกขมวดคิ้ว พัฒนาการหรือความเครียดกันแน่?
-
ภาวะเครียดในเด็ก วัยทารก แรกเกิดถึง 1 ปี
ทารกในวัยแรกเกิดถึง 1 ปี จะมีการพัฒนาความไว้วางใจ โดยเฉพาะเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป ที่สามารถจดจำใบหน้าของพ่อแม่ ครอบครัว บุคคลใกล้ชิดได้ และเริ่มที่จะกลัวคนแปลกหน้า ทารกมักจะแสดงอารมณ์ด้วยการยิ้มเมื่อพึงพอใจ ร้องไห้เมื่อไม่พอใจ การเลี้ยงดูทารกในวัยนี้หากเปลี่ยนคนเลี้ยงดูไม่ซ้ำหน้าจะส่งผลให้เด็กเกิดความหวาดระแวงได้ง่ายในอนาคต
การแสดงออกในวัยทารกเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการเจ็บป่วยทางร่างกาย
- ทารกจะแสดงออกโดยการคิ้วขมวด
- หน้าผากย่น
- ปิดตาแน่น
- ริมฝีปากขยายกว้าง
- กำมือ
นอกจากนี้ เด็กจะแสดงออกถึงความกังวลจากการแยกจากโดยการร้องไห้เสียงดัง ซึ่งจะพบในเด็กที่อายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป
-
ภาวะเครียดในเด็ก เด็กวัยหัดเดิน 1-3 ปี
เมื่อลูกอยู่ในวัยหัดเดิน 1-3 ปี จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองในทุกด้าน ทั้งพฤติกรรม การตอบสนองต่อการสูญเสียการควบคุมตนเอง
- ระยะแรกเด็กจะแสดงออกโดยการปฏิเสธ ไม่ให้ความร่วมมือ และอาละวาด
- ต่อมาเข้าสู่ระยะหมดหวัง เด็กจะร้องไห้น้อยลงและให้ความร่วมมือในกิจกรรมบ้าง ซึมและมีพฤติกรรมถดถอย
- หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะปฏิเสธ จะร้องไห้เมื่อเห็นผู้เลี้ยงดู เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ เด็กจะแสดงออกโดยการร้องไห้เสียงดัง กำมือแน่น กัดฟัน กัดริมฝีปาก เปิกตากว้าง อาละวาดกัดเตะ ถีบ ทุบตี หรือวิ่งหนี
- เด็กวัยนี้จะร้องไห้หาพ่อแม่เสียงดัง และจะมีพฤติกรรมถดถอยเมื่อรู้ว่าตัวเองไม่ได้รับการตอบสนองตามสิ่งที่ต้องการ
ที่มา : เอกสารประกอบการบรรยาย อ.สุชีวา วิชัยกุล
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไขทารกแรกเกิด ถ้ามีเยอะดีหรือไม่ ต้องกินอะไรล้างไขลูกก่อนคลอดไหม
การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นได้อย่างไร
ลูกน้ำหนักมาก พัฒนาการช้า จริงไหม? สารพันปัญหาการเดินของทารก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!