X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องกินพาราได้ไหม กินอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกในท้อง

บทความ 5 นาที
คนท้องกินพาราได้ไหม กินอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินพาราได้ไหม แม่ท้องหลายคนคงอยากรู้และสงสัย หากเวลาเราเกิดมีไข้ ปวดหัว ปวดหลัง หรือปวดฟันขึ้นมา จะกินยาพาราตอนท้องได้หรือเปล่า

คนท้องกินพาราได้ไหม เมื่อมีอาการปวดหัว ตัวร้อน หรือมีไข้ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่หลายท่านเป็นกังวลว่า หากกินยาพาราเซตามอลอาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกในท้อง ซึ่งความจริงแล้ว ยาพารานั้นมีทั้งคุณและโทษหากเรารับประทานยาไม่ถูกวิธีหรือเกินขนาด ไม่ว่าจะท้องหรือไม่ก็ตาม แต่แม่ท้องอาจจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ซึ่งสามารถปฏิบัติตามและหาความรู้ได้จากบทความนี้

 

คนท้องกินพาราได้ไหม 2 คนท้องกินยาพาราได้ไหม

 

คนท้องกินพาราได้ไหม คำถามนี้แพทย์มีคำตอบ

นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ แพทย์อายุรกรรม ได้ไขข้อสงสัยสำหรับคำถามที่มักจะพบบ่อย คือ คนท้องกินพาราได้ไหม ซึ่งคุณหมออธิบายว่า จากการศึกษา ไม่พบความผิดปกติกับทารกในครรภ์ เมื่อแม่ท้องรับประทานยาพาราเซตามอล  คนท้องสามารถกินยาพาราได้ โดยตระหนักถึงข้อควรระวัง เช่น

  • โดยปกติ ยาพาราเซตามอล จะช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยลดไข้  ปริมาณยาที่แนะนำคือ ครั้งละ 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) ทุก 6 ชั่วโมง เฉพาะเวลามีอาการ  หากไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อ
  • ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาพาราเซตามอล กับ โรคสมาธิสั้น  มีเพียงการคาดเดา จากสถิติ ซึ่งยังมิอาจยืนยันเหตุและผลของทั้งสองอย่างนี้ได้  ดังนั้น จึงถือว่ายาพาราเซตามอล ยังสามารถใช้กับหญิงตั้งครรภ์ได้อยู่
  • ในการรับประทานยาพาราเซตามอล ควรดื่มกับน้ำเปล่าเท่านั้น เพราะเครื่องดื่มชนิดอื่นอาจมีกรดที่ทำให้ฤทธิ์ยาน้อยลง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ กระนั้น ก็ไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องอาหาร  แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ผงชูรส สีผสมอาหาร ในช่วงที่ตั้งครรภ์นี้
  • สำหรับยาแก้ปวดประเภทอื่นในกลุ่มเอ็นเซด (NSAIDS) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ต้องหลีกเลี่ยงในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เพราะจะส่งผลให้คลอดบุตรก่อนกำหนด และอาจทำให้เลือดออกง่ายกว่าปกติ[2]  ส่วนยาแก้ปวดศีรษะไมเกรนในกลุ่มเออร์กอตทามีน (Ergotamine) ห้ามใช้ในทุกช่วงของการตั้งครรภ์ เพราะจะก่อให้เกิดการสร้างอวัยวะผิดปกติในทารก  กล่าวโดยสรุป หากมีอาการปวด ยาพาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด

ทั้งนี้ คุณหมอวรณัฐ เสริมว่า “หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ยาพาราเซตามอล เหมือนคนปกติ  ปริมาณยาที่แนะนำคือ ครั้งละ 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) ทุก 6 ชั่วโมง เฉพาะเวลามีอาการ  หากไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อ แต่หากมีอาการปวดที่ไม่ทุเลา หรือ ปวดตลอด  ก็ควรพบแพทย์รับการตรวจรักษาต่อไป”

*** ที่มาของข้อมูล : นพ. วรณัฐ ปกณ์รัตน์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

คนท้องกินยาพาราได้วันละกี่เม็ด

หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราได้วันละกี่เม็ด ทั้งนี้ คนท้องกินยาพาราได้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หากยังมีอาการปวดหรือไข้ แต่ไม่ควรเกิน 8 เม็ดหรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อย

คนท้องปวดฟันกินพาราได้ไหม

คนท้องปวดฟันกินยาพาราได้ไหม

ช่วงตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน และไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ คนท้องปวดฟันกินยาพาราได้ไหม คนท้องปวดฟันกินยาพาราได้ค่ะ โดยคุณแม่สามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ชั่วคราว แต่ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมโดยทั่วไปแล้ว การรักษาช่องปากที่ซับซ้อนจะเลื่อนไปทำหลังคลอด เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อย เนื่องจาก ยาชาบางชนิดอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ค่ะ

คุณแม่ลูกอ่อน หรือเด็ก ควรใช้ยาอย่างไร

หากคุณแม่ลูกอ่อนหรือ ท่านที่กำลังให้นมบุตร  เมื่อรู้สึกปวดหัว หรือมีไข้ ยาสามัญประจำบ้านชนิดแรกที่เรานึกถึงก็คือ “ยาพาราเซตามอล”  ซึ่งเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย หากใช้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม สำหรับเด็กเวลามีไข้ ควรกิน 10-15 มิลลิกรัม ของยา ต่อน้ำหนักตัวของเด็กหนึ่งกิโลกรัม ใช้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่วันหนึ่งไม่ควรเกิน 5 ครั้ง และไม่ควรทาน ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน ส่วนในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ยานี้ก็จะมีข้อจำกัดในการใช้มากขึ้น และ สำหรับผู้ใหญ่เมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้ มีข้อแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งยาพาราเซตามอล 1 เม็ด เท่ากับ 500 มิลลิกรัม ดังนั้นใน 1 วัน ไม่ควรทานเกิน 8 เม็ด หรือติดต่อกันนานเกิน 10 วัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาเด็ก เก็บอย่างไร ใช้ได้นานแค่ไหน ถึงปลอดภัยกับลูกรัก

 

คนท้องกินพาราได้ไหม 6 คนท้องกินยาพาราได้ไหม

 

คนท้องกินยาพารา ควรตระหนักถึงการใช้ยาอย่างปลอดภัย

โดยทั่วไป ยาพาราเซตามอลถือเป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อย หรือไข้ได้ การใช้ยาพาราอย่างเหมาะสมยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนบางอย่างในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น การลดไข้สูงในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ แต่เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีโรคประจำตัวหรือตั้งครรภ์ในกลุ่มเสี่ยง

แม้จะมีวิจัยของ Oxford University Press ตีพิมพ์ใน International Journal of Epidemiology เผยการค้นพบน่าตกใจว่า คนท้องที่ได้รับยาพาราเซตามอลมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยง ที่ลูกในครรภ์ จะเกิดปัญหาสมาธิสั้น และ ออทิสติกมากกว่า เด็กที่ไม่ได้รับยาขณะที่แม่ตั้งครรภ์ถึง 30% แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาพาราเซตามอล กับ โรคสมาธิสั้น

 

คนท้องกินพาราได้ไหม 8 คนท้องกินยาพาราได้ไหม

 

คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาพาราไหม?

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องใช้ยาพาราเซตามอล ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ยาก่อน ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง และควรศึกษาข้อควรระวังดังนี้

  • ผู้ที่แพ้ยาพารา หรือมีโรคตับ ควรหลีกเลี่ยง หากคุณแม่มีประวัติแพ้ยาพารา หรือมีโรคตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ หรือโรคตับแข็ง การใช้ยาพาราอาจทำให้อาการแย่ลงได้
  • ใช้ในปริมาณน้อยและระยะเวลาสั้น ควรใช้ยาพาราในปริมาณที่น้อยที่สุด และเป็นระยะเวลาอันสั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ซึ่งหากไม่จำเป็นจริง ๆ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกประเภท โดยเฉพาะในระหว่าง 8-10 สัปดาห์แรก ของการตั้งครรภ์เพราะเป็นช่วงที่สมอง ปอด และหัวใจของลูกในท้องกำลังพัฒนา การใช้ยา บางชนิดอาจทำให้อวัยวะ และพัฒนาการของทารกไม่สมบูรณ์อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาต่อเนื่อง การใช้ยาพาราต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะระบบประสาท ควรใช้ยาพาราเฉพาะเมื่อจำเป็น เช่น มีไข้สูง หรือปวดศีรษะรุนแรง”

บทความที่เกี่ยวข้อง: คนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม แม่ท้องควรทำอย่างไรไม่ให้เมารถ เมาเรือ

 

คนท้องกินพาราได้ไหม 4 คนท้องกินยาพาราได้ไหม

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ท้องรู้สึกมีอาการปวดหัว ปวดหลัง หรือกล้ามเนื้อเป็นตะคริว มีอาการนิด ๆ หน่อย ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถเลือกวิธีรักษาหรือบำบัดอาการต่าง ๆ ด้วยวิธีทางธรรมชาติจะดีที่สุด ถ้ามีอาการปวดเมื่อยธรรมดาไม่ร้ายแรง การใช้ยาชนิดครีมนวดที่เป็นยาใช้ภายนอก เพื่อบรรเทาอาการจะปลอดภัยและไม่เกิดผลข้างเคียงกับทารกในครรภ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น ควรพักผ่อนให้มากขึ้น หาอะไรทำเพื่อผ่อนคลายเพื่อไม่ให้เกิดความเครียด  ที่สำคัญควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ ก่อนหยิบยามารับประทาน

 

บทความที่น่าสนใจ :

ยา 10 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย มีอะไรบ้าง คุณแม่ต้องระวัง

คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

คนท้องมือชา อันตรายไหม มีวิธีแก้อาการมือชาตอนท้องอย่างไร

ที่มา : sukkaphap-d, aafp , ncbi , pobpad

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้องกินพาราได้ไหม กินอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกในท้อง
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว