ประกาศแก้ไข พ.ร.บ. เกี่ยวกับการ แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง โดยหญิงที่ตั้งครรภ์ แต่ยังไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ แต่หากเกิน 12 สัปดาห์ จะมีความผิดตามเงื่อนไขของกฎหมาย แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง
การทำแท้ง หรือการยุติตั้งครรภ์ เป็นปัญหาทั้งทางสังคม ทางการแพทย์ และทางกฎหมาย ที่มีความละเอียดอ่อน และหลากหลายในประเด็นต่าง ๆ ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 มาตราว่าด้วยการทำแท้ง โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 หรือหนึ่งวันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงที่ทำแท้ง อาจไม่ได้มีความผิดตามกฎหมายอาญาเสมอไป
กฎหมายทำแท้ง1
ประมวลกฎหมายอาญามาตรามาตรา 301 – 305 ว่าด้วยการทำแท้ง มีผลบังคับใช้มาแล้ว 60 ปี ดังนั้นการแก้ไข พ.ร.บ. เพิ่มเติมของประมวลกฎหมายว่าด้วยการทำแท้งฉบับนี้ จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี อีกทั้ง ยังเป็นสิ่งที่สังคมเรียกร้องให้เกิดขึ้น มาโดยตลอด
เดิมทีการทำแท้งในทุก ๆ กรณี ถือว่ามีความผิด และมีโทษทั้งจำ และปรับทั้งต่อผู้ทำแท้ง และแพทย์ผู้ที่เป็นคนดำเนินการทำแท้ง และยังรวมไปถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รู้เห็น และให้การสนับสนุน ในเคสนั้น ๆ
และล่าสุด เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 มาตราว่าด้วยการทำแท้ง อย่างเป็นทางการซึ่ง หมายความว่า หญิงมีครรภ์หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ การทำแท้งจะไม่มีความผิด แต่หากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จะสามารถทำแท้งได้ภายใต้ 3 เงื่อนไข และหากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ทำแท้งได้ภายใต้ 1 เงื่อนไข การทำแท้งที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายทำแท้ง2
พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) ที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป มีทั้งหมด 4 มาตรา ดังนี้
มาตรา 1
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564”
มาตรา 2
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3
ให้ยกเลิกความในมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
มาตรา 4
ให้ยกเลิกความในมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด”
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น
(2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์ อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
(3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ
(4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
(5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
กฎหมายทำแท้ง3
ผศ.ดร. รณกรณ์ บุญมี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าภาพรวมของกฎหมาย “ดีขึ้นมาก” จากจุดที่ผู้หญิงไม่มีอำนาจตัดสินใจในร่างกายของตัวเองเลย กลับมามีสิทธิในการตัดสินใจเพิ่มขึ้น
“แค่ผู้หญิงสามารถมีส่วนในการตัดสินใจในเรื่องร่างกายตัวเองได้ก็ถือว่าเป็นชัยชนะแล้ว ถือว่าเป็นความก้าวหน้าของแนวคิดเสรีนิยม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เป็นชัยชนะที่เราไม่คาดหวังว่าจะเห็นด้วยซ้ำ ไม่คิดว่าเมืองไทยจะขยับมาได้เร็วขนาดนี้”
ธารารัตน์ ปัญญา นักรณรงค์ด้านสิทธิสตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการ พิจารณากฎหมายฉบับนี้ เห็นด้วยว่าเป็นการ “ขยับไปอีกก้าว” ของสิทธิผู้หญิง แต่ก็ยังไปไม่ไกลถึงจุดที่เธอคาดหวัง
“เราไม่สามารถยกเลิกความผิดของผู้หญิงออกไปเลยในเวลานี้ ถือว่ายังต้องค่อยเป็นค่อยไป เรารู้สึกว่าจากประเทศที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ ขยับมาเป็นวันนี้ก็นับว่าดี แต่การต่อสู้ก็ยังไม่จบ”
จริง ๆ แล้วในชั้นกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย มีการเสนอให้ยกเลิกมาตรา 301 ที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการสนับสนุน เพียงแต่มีการลดโทษให้น้อยลงเหลือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
กฎหมายทำแท้ง4
นอกจากมาตรา 301 ของประมวลกฎหมายอาญาแล้ว อีกมาตราหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการทำแท้ง คือมาตรา 305 ซึ่งเป็นส่วนที่ว่าด้วยการยกเว้นการรับโทษของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา
มาตรา 305 อนุ 5 ระบุว่าหญิงอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ (3 – 5 เดือน) ยืนยันยุติตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจ และรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ผศ.ดร. รณกรณ์กล่าวว่า การผูกข้อกฎหมายเข้ากับหลักเกณฑ์ของแพทยสภา เป็นสิ่งที่น่ากังวล เนื่องจากข้อบังคับของแพทยสภา ออกโดยคนกลุ่มเดียว โดยไม่ต้องผ่านความเห็นของผู้แทนราษฎร อีกทั้งจะเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ก็ได้ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนกรรมการ แนวคิดหรือข้อกำหนดต่าง ๆ จะเปลี่ยนตามหรือไม่
“ตอนนี้ยังไม่มีข้อบังคับออกมา ข้อบังคับแทพยสภาที่ออกมาเมื่อปี 2548 มีแค่พูดถึงเรื่องของสุขภาพจิตกับเรื่องการถูกข่มขืน…แต่เมื่อไหร่ที่แพทยสภาออกข้อกำหนดในเรื่องนี้ออกมา ก็ต้องมาลุ้นกัน ผมคิดว่ารัฐสภาไม่ควรเอาข้อบังคับของแพทย์สภาเข้ามาอยู่ในมาตรา 305 เลย” นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ระบุ
“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ที่กฎหมายระบุนั้นก็มีไม่ต่ำกว่า 5 หน่วยงานซึ่งมีกฎเกณฑ์และกระบวนการทำงานที่ต่างกัน อาจทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ขอรับคำปรึกษาประสบปัญหาและต้องใช้เวลานาน
ด้านสุมาลี โตกทอง สมาชิกเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เห็นด้วยว่าภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมในการออกข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่าง ๆ หลังจากนี้ และกังวลว่าระยะเวลาและกระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการยุติการตั้งครรภ์ของแต่ละหน่วยงานตามที่กฎหมายระบุอาจทำให้เกิดความล่าช้าจนทำให้หญิงตั้งครรภ์หมดโอกาสที่จะทำแท้ง
“ถ้าหญิงที่อายุครรภ์ยังไม่มากนักก็อาจจะมีเวลามากพอ (ที่จะรอกระบวนการพิจารณา) แต่ถ้าคนที่อายุครรภ์มากจนใกล้จะเกินกำหนด (ที่กฎหมายอนุญาตให้ทำแท้ง) ถ้าต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนวุ่นวายมาก ๆ ก็มีสิทธิที่จะเกินกภาคส่วนต้องช่วยกันทำหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้มีเวลา ตรงนี้เรายังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการตีความข้อกฎหมายให้สิทธิกับผู้หญิงมากน้อยแค่ไหน”
กฎหมายทำแท้ง5
ด้านสมาชิกเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ให้ความเห็นว่า ภาคประชาสังคมด้านสิทธิสตรีและอนามัยแม่และเด็กเห็นว่า สิ่งที่หน่วยงานของรัฐ และทุกผลบังคับใช้คือ การให้ข้อมูล ให้ความรู้ และคำแนะนำแก่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ภาครัฐมีหน้าที่สำคัญในการประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว หากต้องการใช้บริการหรือเข้ากระบวนการต้องติดต่อหน่วยงานไหน อย่างไรบ้าง
ประเทศไทยมีระบบการดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในระดับหนึ่ง แต่ผู้หญิงเข้าไม่ถึงเนื่องจากภาครัฐไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีสิทธิประโยชน์ให้ผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูก
กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ และเปิดช่องให้มีการทำแท้งได้ หากเข้าเงื่อนไขที่กำหนด ความรับรู้และความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับการทำแท้งจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย และในอนาคตกฎหมายของไทยอาจจะไปไกลถึงจุดที่ยกเลิกความผิดและบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้งได้
นพ. วรชาติกล่าวว่า แพทย์อาสาในเครือข่ายฯ ทำงานโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในร่างกายของบุคคลเป็นหลัก
“เราไม่เคยเถียงเรื่องบาปบุญคุณโทษนะ เพราะว่ามันเถียงกันไม่จบ แต่ประเด็นคือเรื่องสิทธิ เสรีภาพบเนื้อตัวร่างกายของคน ๆ หนึ่ง ถ้าเป็นเราเองเราจะทำยังไง เพราะฉะนั้นเราเลยให้สิทธิกับเขามากกว่า เราเชื่อว่าไม่มีใครตั้งใจท้องเพื่อยุติการตั้งครรภ์ เราเข้าใจว่าแต่ละคนมีความจำเป็นที่ต่างกัน”
เขายอมรับว่าสังคม รวมทั้งแพทย์เองก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์
“แต่ละคนมีความเชื่อไม่เหมือนกันซึ่งไม่เป็นไร ผมก็แค่อยากช่วยคน (หมอ) ที่ไม่ทำ (ยุติการตั้งครรภ์) ก็ไม่เป็นไร ก็ส่งมาให้คนที่พร้อมจะทำ”
บทความจาก www.bbc.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
สภาไฟเขียว ทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
ครม. เห็นชอบแก้กฎหมาย ผู้หญิง ไม่พร้อมมีครรภ์ สามารถทำแท้งได้
ท้องในวัยเรียน ท้องไม่พร้อม แต่ไม่อยากทำแท้ง ต้องทำยังไง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!