TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเล่นบทบาทสมมติ ของลูกน้อยวัยเตาะแตะ มีประโยชน์อย่างไร ?

บทความ 3 นาที
การเล่นบทบาทสมมติ ของลูกน้อยวัยเตาะแตะ มีประโยชน์อย่างไร ?

เมื่อลูกน้อยเริ่มเข้าสู่วัย 15-16 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเป็นคนไข้ เป็นลูกค้า เป็นนางฟ้า เป็นยักษ ฯลฯ ของลูกน้อยเข้าให้แล้ว เด็ก ๆ ในวัยเตาะแตะจะเกิดจินตนาการจากความคิดและสร้างบทบาทสมมติให้กับตัวเอง เมื่อคุณพ่อคุณเข้าใจถึงพัฒนาการในช่วงนี้ของลูก อย่ารีรอที่จะสวมบทเหล่านั้นไปกับลูก ๆ ด้วยนะคะ

การเล่นบทบาทสมมติของลูกคืออะไร

คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็น การเล่นบทบาทสมมติ ของลูกน้อยได้ในช่วงวัยเตาะแตะหรืออายุตั้งแต่ 15-16 เดือน และจะเริ่มเล่นบทบาทสมมติซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการตามวัย เช่น เริ่มนำตุ๊กตามาสมมติเป็นน้อง โดยเลียนแบบจากคุณแม่ที่ดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น มีการป้อนนม ใส่ผ้าอ้อม ก่อนนอน หรือสมมติว่าตัวเองเป็นคุณหมอ เป็นพ่อแม่ลูก เป็นแม่ค้าขายของ เป็นคุณครูนักเรียน หรือสมมติว่าเป็นเจ้าหญิง ซูเปอร์ฮีโร่ในการ์ตูน หรือนำของเด็กเล่นมาสมมติเป็นสิ่งของอีกอย่างหนึ่ง เช่น สมมติว่ารีโมททีวีเป็นโทรศัพท์ หรือนำของเล่นมาต่อกันยาว ๆ แล้วสมมติว่าเป็นรถไฟ เป็นต้น โดยชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทยได้ให้ข้อมูลว่า การเล่นบทบาทสมมติ (Pretend play / Dramatic play) คือ การเล่นที่เด็ก ๆ สมมติและแสดงบทบาทที่ตนเองไม่ได้เป็นอยู่จริงนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : แชร์ให้แม่รู้ 5 กิจกรรม เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สำหรับลูกรัก

 

การเล่นบทบาทสมมติ

 

ประโยชน์ 4 ด้านจากการเล่นบทบาทสมมติของลูก

  • พัฒนาการด้านภาษาเด็ก ๆ จะได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในการบอกเล่าเรื่องให้พ่อแม่ฟัง และพยายามที่จะแสดงบทบาทของตนเองออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจ
  • พัฒนาการด้านสังคมลูกจะเรียนรู้การเล่นร่วมกับผู้อื่น เคารพบทบาทของผู้อื่น รู้จักกติกา และเรียนรู้ว่าเมื่อตนเองอยู่ในบทบาทนั้น ๆ จะรู้สึกอย่างไร
  • พัฒนาการด้านความคิดเด็ก ๆ จะได้ใช้จินตนาการและเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้น หรือใช้ความคิดในการแก้ปัญหา โดยในส่วนนี้พ่อแม่อาจจะร่วมเล่น ด้วยการตั้งคำถาม หรือว่าสร้างอุปสรรค ให้ลูก ๆ ลองใช้ความคิด ยิ่งมีจินตนาการกว้างไกล เรื่องราวการเล่นของเด็กก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น
  • ส่งเสริมทางด้านศีลธรรม จริยธรรม การเล่นบทบาทสมมติกับลูกถือเป็นช่วงเวลาคุณภาพของการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีงาม และเป็นโอกาสที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถสอนสิ่งต่าง ๆ สอดแทรกไปกับการเล่นของลูกได้ง่ายขึ้น เช่น การแบ่งปัน การมีน้ำใจ การไม่ขี้แกล้ง ไม่โกหก เป็นต้น

นอกจากการเล่นบทบาทสมมติของลูกจะเกิดประโยชน์สำหรับลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถทดสอบความผิดปกติของพัฒนาการลูกได้จากการเล่น ซึ่งคุณหมอพัฒนาการเด็กจะใช้เรื่องการเล่นบทบาทสมมติ เป็นหนึ่งในวิธีประเมินพัฒนาการเด็กว่ามีอาการของออทิสติก หรือไม่ด้วย เพราะการเล่นบทบาทสมมตินั้น ต้องมีพัฒนาการหลายด้านประกอบกัน ดังนั้นหากสังเกตว่าลูกไม่มีการสร้างบทบาทสมมติตามช่วงวัย เล่นบทบาทสมมติไม่เป็น หรือเล่นแบบไม่เหมาะสมกับวัย ก็อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติทางพัฒนาการของเด็กซึ่งควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์นะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รีวิวความสนุกของเจ้าตัวเล็กเมื่อไป “คิดส์ซาเนีย”

วิธีเลือกของเล่นให้ลูกอย่างสมวัย

ลูกชอบเล่นนอกบ้านทั้งวัน ดีหรือไม่ดี การเล่นนอกบ้านมีประโยชน์อย่างไร ?

ที่มา : brainfit, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • การเล่นบทบาทสมมติ ของลูกน้อยวัยเตาะแตะ มีประโยชน์อย่างไร ?
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว