การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของแม่ท้องทั้ง 3 ไตรมาส

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ไม่ใช่แต่เฉพาะรูปร่างเท่านั้นนะคะ ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อีกด้วย เพราะช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่กำลังเปลี่ยนแปลง จึงมีผลกับโดยตรงต่ออารมณ์ของคุณแม่ มาดูกันว่าการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของคุณแม่ในแต่ละไตรมาสจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของคนท้องเกิดจากสิ่งใด

ในช่วงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์  อารมณ์อาจจะแปรปรวนไม่คงที่ ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ  นั่นเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเพศหญิง คือ  ฮอร์โมนเอสโตรเจนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง  เมื่อเปรียบเทียบระดับฮอร์โมนแล้วจะพบว่า  ใน 1 วัน คนท้องจะมีอัตราการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเท่ากับปริมาณฮอร์โมนที่ร่างกายของคนปกติใช้ผลิตถึง 3 ปี!!!  อย่างนี้นี่เอง อารมณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์จึงขึ้น ๆ ลง ๆ จนบางทีเอาแน่เอานอนไม่ได้  นอกจากนี้ในแต่ละไตรมาสอารมณ์ของแม่ตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปอีกด้วย มาดูกันค่ะว่า  การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของแม่ท้องทั้ง 3 ไตรมาส จะเป็นอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของคนท้องทั้ง 3 ไตรมาส

ไตรมาสที่ 1 ช่วงเดือนที่ 1 – 3 ของการตั้งครรภ์

ในช่วงแรกนี้  ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของคุณแม่อย่างมาก  ได้แก่

1. คุณแม่บางคนนอกจากอารมณ์แปรปรวนแล้วยังมีอาการหงุดหงิด ขี้รำคาญ ใจน้อย  และเอาแต่ใจตนเอง

2. สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนจะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย ใครพูดกระทบกระเทือนจิตใจพานจะร้องไห้เอาง่าย ๆ หรือแม้แต่บางคนแค่ดูละครหรือฟังเพลงเศร้า ๆ น้ำตาก็ไหลออกมาได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าจะตั้งครรภ์ไม่เคยมีอารมณ์อ่อนไหวเช่นนี้มาก่อนเลย  แบบนี้  คุณพ่อและคนรอบข้างต้องปรับตัวกันหน่อยนะคะ

3. คุณพ่อและคนรอบข้าง ต้องพยายามทำความเข้าใจ คอยอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจคุณแม่เสมอ ๆ นะคะ ช่วงเวลาแบบนี้คุณพ่อต้องดูแลความรู้สึกของคุณแม่ใกล้ชิดสักหน่อย เพราะนอกจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่สร้างปัญหาแล้ว คุณแม่มักจะกังวลเรื่องตั้งครรภ์ ส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของคุณแม่อีกด้วย

บทความแนะนำ  6 สัญญาณการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นแม่

ไตรมาสที่ 2  ช่วงเดือนที่ 4 – 6 ของการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อผ่านไตรมาสแรกมาได้แล้ว  ช่วงหลังจากนี้อารมณ์ของคุณแม่จะผ่อนคลายมากขึ้นตามลำดับ  ได้แก่

1. ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกมีความสุขกับตัวเองและผ่อนคลายมากขึ้น  เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แล้ว  นอกจากนี้

2. คุณแม่เริ่มรู้สึกและสัมผัสได้แล้วว่า เจ้าตัวน้อยในท้องของคุณแม่กำลังเติบโตและเริ่มดิ้นทักทายคุณแม่ด้วย ทำให้คุณแม่ตื่นเต้นและสนุกไปกับพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยในช่วงตั้งครรภ์ จนมีคุณแม่บางคนเห่อลูกถึงขนาดจัดเตรียมข้าวของสำหรับเจ้าหนูไว้ก็มีค่ะ

3. อารมณ์ในช่วงนี้ ยังมีคุณแม่ที่อาจจะรู้สึกเหงา ๆ หรือคิดถึงเพื่อนร่วมงานบ้าง หากเป็นเช่นนี้แนะนำให้หางานอดิเรกทำนะคะจะได้คลายเหงา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มีอาการปวดเมื่อยหรือไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวตามมา ปวดขา ปวดหลัง หรือบางคนก็มีอาการบวมที่ขาด้วย อาการเหล่านี้ส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ได้เช่นกัน

5. ออกกำลังกายค่ะ ในช่วงนี้คุณแม่อาจเลือกกิจกรรมออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน การฝึกโยคะ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย  เพราะหากสุขภาพร่างกายไม่ดีย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต แบบนี้ไม่ดีแน่ !!! เพราะเจ้าหนูจะรับรู้ความรู้สึกนี้ไปด้วยนะคะ

ไตรมาสที่ 3 ช่วงเดือนที่ 7 – 9 ของการตั้งครรภ์

ในที่สุดก็เดินทางทางมาถึงไตรมาสที่สามซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายกันแล้ว อีกไม่นานก็จะได้พบหน้าเจ้าหนูที่เป็นดวงใจของคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ   มาดูกันว่าอารมณ์ช่วงนี้ของคุณแม่จะเป็นอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนเริ่มนับถอยหลังรอวันที่จะได้เจอหน้าเจ้าตัวน้อย  แต่อีกใจก็อดกังวลเกี่ยวกับการคลอดที่จะมาถึง กังวลว่าจะคลอดแบบไหนดี  คลอดเองหรือผ่าคลอด จะเจ็บมากหรือเปล่า    การคลอดจะปลอดภัยหรือไม่   เจ้าตัวน้อยจะออกมาครบ 32 หรือไม่  คลอดแล้วจะเลี้ยงดูลูกอย่างไร เจ้าตัวน้อยจะเลี้ยงง่ายหรือเปล่า  ความกังวลต่าง ๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียดได้

บทความแนะนำ  ไขข้อข้องใจ 6 เรื่องที่แม่ท้องกังวลเกี่ยวกับการคลอด

สำหรับวิธีการคลายเครียดในช่วงนี้  สำคัญ คือ คุณแม่ควรพูดคุยปรึกษาคุณแม่ผู้มีประสบการณ์ หรือปรึกษาคุณหมอ เพราะคำแนะนำในการดูแลตนเองตลอดจนกระบวนการคลอด คุณหมอจะให้ความกระจ่างแก่คุณแม่ได้ จะได้คลายกังวลใจนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลายเครียด : ฉบับแม่ท้อง

อยากชวนคุณแม่มาคลายเครียดด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกับคนท้องค่ะ  อย่ามัวเครียดกันเลยหาอะไรทำให้สบายใจดีกว่า  ความสบายใจ  ความสุขใจของแม่มีผลดีต่อลูกนะคะ

1. ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

คุณแม่มาฟังเพลงเพราะ ๆ สบาย ๆ  นอกจากคุณแม่จะผ่อนคลายแล้ว  เสียงเพลงยังกระตุ้นพัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์อีกด้วย  ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว !!! สุขใจทั้งแม่และลูกจริง ๆค่ะ

บทความแนะนำ  ดนตรีช่วยพัฒนาสมองลูกตั้งแต่ในครรภ์

2. อ่านหนังสือเล่มโปรด

ในช่วงเวลาว่างคุณแม่หาหนังสือในแนวที่ชอบหรือสนใจ  แต่ขอให้มีเนื้อหาเบา ๆ นะคะ  เรื่องสยองขวัญ  ฆาตกรรมอำพราง  แม้จะชอบแต่ควรงดไว้ก่อน อ่านหนังสือช่วยให้จิตใจสงบ  ผ่อนคลาย  ที่สำคัญช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสมองให้แก่เจ้าหนูด้วยค่ะ  จะดีมาก ๆ ถ้าคุณแม่อ่านออกเสียงพร้อม ๆ ไปกับการลูบท้องเพื่อบอกให้หนูน้อยมาฟังแม่อ่าน

บทความแนะนำ  แม่จ๋ารู้ไหม!!!ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์

3. ฝึกสมาธิเพื่อผ่อนคลาย

การผ่อนคลายด้วยสมาธิเป็นวิธีง่าย ๆ  ที่คุณแม่สามารถปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลา  โดยนั่งหลับตา  ปล่อยกล้ามเนื้อทุกส่วนให้ผ่อนคลาย  กำหนดลมหายใจเข้า ออก ช่วยลดความกังวลใจได้

บทความแนะนำ  แม่ท้องฝึกสมาธิดีต่อพัฒนาการทารกในครรภ์

4. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด คือ  การเดินค่ะ  คนท้องเดินวันละ 30 นาทีดีต่อสุขภาพครรภ์นะคะ นอกจากนี้  ยังมีการฝึกโยคะสำหรับแม่ท้อง ทั้งความสงบของจิตใจและความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกด้วย  แต่การออกกำลังกายคุณแม่ควรขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากคุณหมอก่อนก็ดีนะคะ  เพื่อความปลอดภัย

5. เลือกกลิ่นหอมเพื่อผ่อนคลาย

สำหรับแม่ท้อง  การใช้อโรมาเทอราปีกลิ่นต่าง ๆ จะช่วยกระตุ้นประสาทการรับกลิ่น  ทำให้คุณแม่มีความรู้สึกสดชื่น  อารมณ์เบิกบาน โดยอาจเลือกใช้กลิ่นหอมจากสมุนไพรต่าง ๆ หรือแค่หาดอกไม้สวย ๆ มาปักแจกันให้บ้านดูสดชื่น กลิ่นหอมของดอกไม้ประเภทดอกกุหลาบ  ดอกมะลิ  ดอกแก้ว  จะช่วยให้คุณแม่สดชื่นได้นะคะ  ควรเป็นกลิ่นหมอจากธรรมชาติจะปลอดภัยสำหรับคุณแม่ค่ะ

บทความแนะนำ  ระวัง! เทียนหอม, น้ำหอมปรับอากาศอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์

นำมาฝาก :  เพลงบรรเลงกล่อมคุณแม่ให้หลับสบายคลายเครียด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาอารมณ์ในช่วงไตรมาสต่าง ๆ ของคุณแม่  แต่เราเตรียมรับมือ  เพราะเครียดได้ก็คลายเป็น ใช่ไหมคะ  ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ “เตรียมตัวคลอดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก”  พญ.ภักษร เมธากูล  ผู้แต่ง

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลดเครียดในแม่ท้องด้วยดนตรีบำบัด

5 เรื่องที่คุณแม่ควรทำ แม้ในวันเครียดๆ