การวิ่งระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการ “มดลูกต่ำ” ได้หรือไม่?
การวิ่งระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการ “มดลูกต่ำ” ได้หรือไม่?
สมัยก่อนแพทย์จะบอกว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย ให้หลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือการออกกำลังใช้แรงมาก ๆ เพื่อป้องกันมดลูกต่ำ แต่นี่มันเกินไปหน่อยรึเปล่าเนี่ย? มันเป็นเรื่องน่ากังวลอะไรขนาดนั้น หรือแค่เป็นตำนานเล่าต่อ ๆ กันมาของพวกหมอตำแยนะ?
มดลูกต่ำเพราะการวิ่งจริง ๆ หรือ?
อาจฟังดูไร้สาระ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมันก็มี แม้จะน้อยมาก ๆ ๆ ๆ ก็ตาม คาดกันว่ามีผู้หญิงราวร้อยละ 30 ที่พบปัญหามดลูกต่ำ ความรุนแรงของอาการ มีตั้งแต่ทำให้เกิดความไม่สบายบริเวณนั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวิ่ง ไปจนถึงมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอดจริง ๆ
อันที่จริง การวิ่งไม่ได้ทำให้เกิดปัญหามดลูกต่ำ แต่เป็นเพราะแรงที่กดทับมดลูกต่างหาก ที่ทำให้อาการแย่ลง มดลูกของคุณได้รับการโอบอุ้มโดยกล้ามเนื้อ ที่อยู่ระหว่างกระดูกก้นกบ และกระดูกหัวหน่าว หากกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแอลง มดลูกก็อาจหย่อนได้ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ที่อ่อนแอลง ก็ทำให้มดลูกต่ำได้เช่นกันในระยะยาว คุณอาจสังเกตได้ถึงแรงกดดันถ่วง ๆ หนัก ๆ บนกระเพาะปัสสาวะของคุณ
อาการของภาวะปากมดลูกหลวม
โอกาสที่จะเกิดขึ้น มันก็มี แม้จะน้อยมากๆ ก็ตาม แต่มีผู้หญิงร้อยละ 30 พบปัญหามดลูกต่ำ
คุณผู้หญิงที่มีความเสี่ยงมดลูกต่ำคือคนที่ …..
#1 มีความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนแอ เนื่องจากมีอายุมากขึ้น
#2 มีประวัติคนในครอบครัว มีปัญหามดลูกต่ำ
#3 ขาดเอสโตรเจน
#4 ครั้งก่อนคลอดยาก ทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย
การวิ่งไม่ได้ทำให้เกิดปัญหามดลูกต่ำ แต่เป็นเพราะแรงที่กดทับมดลูกต่างหาก
คุณสามารถวิ่งได้ระหว่างกำลังตั้งครรภ์ใกล้คลอดหรือไม่?
หากคุณไม่ได้มีปัญหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอและมดลูกต่ำ คุณยังสามารถวิ่งได้ แต่คุณต้องได้รับการอนุญาตจากคุณหมอแล้วนะ แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ได้เคยวิ่งมาก่อน การจะมาวิ่งเอาช่วงตั้งท้องไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่นัก ช่วงตั้งท้องไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะกับการเตรียมร่างกายเพื่อวิ่งมาราธอนและวิ่งเร็ว ๆ เลย
แต่หากคุณเป็นนักวิ่งอยู่แล้วก่อนตั้งท้อง คุณยังสามารถวิ่งได้ แต่คุณต้องปรับกิจวัตรบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าการตั้งครรภ์ของคุณ จะไม่มีความเสี่ยง คุณควรหันมาวิ่งช้า ๆ และแน่นอนว่าการวิ่งต้องภายใต้การดูแลแนะนำของคุณหมอด้วย
เล่นบิแครมโยคะตอนท้องได้ไหม?
หากกล้ามเนื้อเหล่านี้ อ่อนแอลง มดลูกก็อาจ หย่อนได้ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ก็อ่อนแอลง
หลังคลอดแล้ว จะกลับมาวิ่งเลยได้รึเปล่า?
ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่างกันไปในเรื่องดังกล่าว แต่ว่ากันโดยทั่วไปแล้ว การใช้แรงมาก ๆ ในช่วงสองสามวันหลังจากคลอดลูกมาแล้วไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย คุณควรให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น กลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่งก่อน แม้กระทั่งนักวิ่งมืออาชีพ ยังเจอปัญหากล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอลง และอาจมีปัญหามดลูกต่ำได้เหมือนกันหลังคลอด
ดังนั้นอย่าเพิ่งหักโหมที่จะวิ่งหลังคลอดเลย มันค่อนข้างที่จะเร็วเกินไป ค่อย ๆ ปรับตัวกลับมาหากิจวัตรการออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ ในระยะหกสัปดาห์แรกหลังคลอดดีกว่า ให้มดลูกได้พักฟื้น และหดตัวกลับมาเป็นปกติให้ได้ ก่อนที่คุณจะกลับมาวิ่ง อย่าลืม การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน นะ กล้ามเนื้อเหล่านี้สามารถหดตัวเพื่อหยุดการปัสสาวะได้ คุณควรบริหารกล้ามเนื้อตรงนี้บ่อย ๆ โดยการขมิบแล้วปล่อยเพราะการทำเช่นนี้ ก็ช่วยป้องกันปัญหามดลูกต่ำได้เช่นกัน
ช่วงตั้งท้อง ไม่ใช่ช่วงเวลา ที่เหมาะกับการ เตรียมร่างกาย เพื่อวิ่งมาราธอน วิ่งเร็ว ๆ เลย
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไร ให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Baby Center.com – Is it safe to jog during pregnancy?
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไขข้อสงสัย คนท้องวิ่งได้ไหม คนท้องออกกำลังกายได้ไหม วิ่งแล้วเป็นอะไรไหม?
คนท้องออก กําลังกาย ช่วยพัฒนาการ ลูกในครรภ์ ยิ่งออกกำลังกาย ยิ่งดีต่อลูก
แม่ท้อง ออกกำลังกาย วิธีออกกำลังกาย ง่าย ๆ ทำได้ตอนตั้งครรภ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!