ในช่วงชีวิตแรกของลูกน้อยแรกเกิดมีแต่การนอนหลับ และตื่นมาเพื่อกินนมแม่ ดังนั้นการดูแลทารกแรกเกิดในช่วงแรก อาจจะเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องเป็นประจำและซ้ำ ๆ กันเหมือนเดิมในทุกวัน มีอะไรบ้างที่คุณแม่มือใหม่ควรทำให้กับลูกน้อย
การดูแลทารกแรกเกิด 5 ประการที่ควรทำทุกวัน
#1 การให้นมลูก
ในช่วงแรกเกิด – 1 เดือน เด็กทารกจะใช้เวลานอนนานมาก และจะตื่นขึ้นมาเพื่อกินนมแม่ จากนั้นก็จะนอนหลับทันทีเมื่อดูดนมอิ่ม และสลับกับตื่นมากินนมวนไป ซึ่งเป็นรูปแบบการนอนปกติของทารกแรกเกิดในช่วงแรก ซึ่งคุณแม่ควรให้ลูกน้อยหรือปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมาดูดนมทุก ๆ 2 – 4 ชั่วโมงในระยะนี้
#2 การอาบน้ำทารก
สำหรับการอาบน้ำทารกแรกเกิดควรใช้น้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนและเย็นจนเกินไป ให้พออุ่นสบายอาบน้ำลูก และใช้เวลาไม่เกิน 5-7นาที ควรอาบน้ำทารกวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้ง และไม่ควรอาบน้ำตอนกลางคืน หรือไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังให้นมด้วยนะคะ
Read : การอาบน้ำทารกแรกเกิดผิดถูกอย่างไร เช็คกันได้ที่นี่
#3 การขับถ่ายของทารก
ในช่วงแรกเกิดทารกน้อยของเราจะมีการขับถ่ายบ่อย โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ ดังนั้นคุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีอาการงอแงซึ่งอาจเกิดการเฉอะแฉะไม่สบายตัวหลังจากฉี่หรืออึ ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง และทำความสะอาดด้วยการใช้สำลีชุบน้ำเช็ด โดยเช็ดจากบนลงล่างเท่านั้น
Read : ชวนคุณแม่!!!มาทำความสะอาดทารกแรกเกิดให้ถูกวิธี
#4 การดูแลสะดือทารก
โดยปกติทารกแรกเกิดสะดือจะหลุดภายใน 7 – 14 วัน สำหรับลูกที่สายสะดือยังไม่หลุด ให้ใช้สำลีชุบน้ำเปล่าหรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเบา ๆ รอบโคนสะดือจากด้านในออกด้านนอก วันละ 2 ครั้ง หลังจากสายสะดือหลุดแล้วดูแลทำความสะดือลูกต่อด้วยการเช็ดและทำให้แห้งเสมอ ไม่ควรใช้แป้ง หรือยาโรยสะดือทุกชนิดเพราะจะทำให้สะดือดูเหมือนแห้งแต่ระหว่างรอยต่ออาจจะยังแฉะอยู่ และอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้
Read : วิธีทำความสะอาดสะดือลูกน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่
#5 การทำความสะอาดเสื้อผ้าทารก
เพราะผิวของทารกนั้นบอบบางและแพ้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เรื่องของการทำความเสื้อผ้าลูกน้อยจึงควรพิถีพิถันด้วย เช่น การแยกผ้าที่สกปรกมากออก แยกเสื้อผ้าของลูกที่เลอะอุจจาระหรือปัสสาวะออกและทำความสะอาดก่อนนำไปซักรวมกับเสื้อผ้าตัวอื่นๆ การใช้น้ำยาซักผ้าเด็กที่ไม่ใช้สารเคมีอันเป็นอันตรายต่อผิวลูกน้อยได้
Credit Article: urnurse.net
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
วีดีโอการดูแลทารกแรกเกิด
ควรพาลูกอ่อนออกนอกบ้านได้ตอนกี่เดือน?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!